HERE Technologies ชี้ธุรกิจ ขนส่ง และลอจิสติกส์ยังเผชิญความท้าทายในการจัดการ

HERE Technologies เผยการศึกษาล่าสุด ชี้ธุรกิจ ขนส่ง และลอจิสติกส์ยังเผชิญความท้าทายด้านการจัดการ ข้อมูล ในห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

HERE Technologies ข้อมูล ขนส่ง

HERE Technologies ผู้นำแพลตฟอร์มเทคโนโลยีและ ข้อมูล Location Data เปิดเผยผลการศึกษาใหม่ APAC On The Move นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญด้านการ ขนส่ง และลอจิสติกส์ (Transportation and Logistics หรือ T&L) ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เกี่ยวกับแนวโน้มและแนวทางปฏิบัติด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันที่กำลังเปลี่ยนโฉมห่วงโซ่อุปทาน การจัดการยานพาหนะ และการจัดการด้านลอจิสติกส์

สาระสำคัญในรายงาน APAC On the Move 2023 เป็นรายละเอียดการติดตามสินทรัพย์แบบ End-To-End และเผยให้เห็นการมองเห็นและติดตามสถานะการขนส่ง (Visibility Shipments) นั้นยังเป็นความท้าทายสำคัญของธุรกิจลอจิสติกส์มาตลอดสามปีตั้งแต่เกิดการระบาด บริษัทลอจิสติกส์ไทยตอบแบบสอบถามระบุว่าความท้าทายในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดของการเดินหน้าไปสู่เป้าหมายในการติดตามและจัดการความเคลื่อนไหวของข้อมูลในห่วงโซ่อุปทานแบบเรียลไทม์ (Real-Time End-To-End Supply Chain Visibility) นอกเหนือจากจะมีแรงจูงใจในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานก็ตาม

อุตสาหกรรมลอจิสติกส์ของประเทศไทยกำลังเติบโต โดยในปี พ.ศ. 2566 เติบโตเป็นอันดับ 34 จาก 139 ประเทศ ในดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพลอจิสติกส์ (Logistics Performance Index หรือ LPI) ของธนาคารโลก[[i]]บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพและคุณภาพในบริการลอจิสติกส์ที่ค่อนข้างสูง ซึ่งประเทศไทยยังคงรักษาอันดับผู้นำ โดยทำคะแนน LPI อยู่ใน 11 อันดับแรกของของประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางระดับสูง (Upper-Middle-Income) ในปี พ.ศ. 2566 และยังอยู่ในอันดับต้นย้อนหลังไปสี่ปี ในปี พ.ศ. 2561, พ.ศ. 2559, พ.ศ.2557 และ พ.ศ. 2555 ด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านลอจิสติกส์ที่แข็งแกร่ง ประกอบกับความมุ่งมั่นของกระทรวงคมนาคมของประเทศไทยที่ตั้งเป้าพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมลอจิสติกส์ไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางด้านลอจิสติกส์สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สรุปสาระสำคัญจากการศึกษาของ HERE Technologies APAC On The Move 2023 มีดังนี้:

พันธมิตรเทคโนโลยีและการนำเทคโนโลยีไปใช้เป็นความท้าทายสำคัญ

มากกว่า 1 ใน 5 ของบริษัทในประเทศไทย (22%) ระบุว่าความท้าทายในการหาพันธมิตรและ/หรือซัพพลายเออร์ที่เหมาะสม และการคำนวณผลตอบแทนของการลงทุนเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการดำเนินการใช้เทคโนโลยี นอกจากนั้นต้นทุนก็ยังเป็นเรื่องต้องกังวล (17%) เช่นกัน

บริษัทลอจิสติกส์ในประเทศไทยต้องการโซลูชันพร้อมใช้ ติดตั้งง่ายค่าใช้จ่ายไม่สูง ใช้เวลาไม่นาน และไม่ต้องใช้ทีมงานจำนวนมากกับการยกเครื่องระบบใหม่ทั้งหมด จากการศึกษาของ HERE ความท้าทายในการผสานรวมซอฟต์แวร์เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ (20%) ต้นทุนของ Internet of Things -IoT สูง (15%) และการขาดบุคลากรที่มีทักษะเพื่อใช้และจัดการโซลูชันการติดตาม (14%) ล้วนเป็นอุปสรรคหลักในการติดตามสินทรัพย์ลอจิสติกส์และการตรวจสอบการจัดส่ง/สินค้า

บริษัทลอจิสติกส์ไทยยังพึ่งพาการติดตามแบบแมนนวล

การระบาดใหญ่ของโควิดเผยช่องโหว่ของการเข้าถึงและติดตามข้อมูลด้วยตนเองในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ประมาณ 50% ของบริษัทลอจิสติกส์ไทยกำลังใช้ซอฟต์แวร์การติดตามสินทรัพย์และตรวจสอบการจัดส่งร่วมกับการป้อนข้อมูลแบบแมนนวลสำหรับติดตามสินทรัพย์ การจัดส่ง และตู้สินค้า

กระบวนการแบบแมนนวลมีโอกาสทำให้เกิดช่องโหว่สูงและยังสร้างความเปราะบางภายในห่วงโซ่อุปทาน แสดงให้เห็นว่าบริษัทจำนวนมากยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่น ในขณะที่โซลูชันการติดตามแบบเรียลไทม์และอัตโนมัติ มอบโอกาสในการเร่งสร้างนวัตกรรมและรับมือกับการหยุดชะงักได้ทันท่วงที

ใช้เทคโนโลยีระบุตำแหน่งเพื่อเพิ่มการมองเห็นและเพิ่มประสิทธิภาพ

องค์การอนามัยโลกจัดอันดับประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากการจราจรทางถนนสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ติดอันดับ 9 ของโลก อุตสาหกรรมลอจิสติกส์ในประเทศไทยอาศัยภาคการขนส่งทางถนนเป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 80% ของตลาดลอจิสติกส์ทั้งหมด[[ii]] ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายที่บริษัทลอจิสติกส์ไทยจะให้ความสำคัญกับการมองเห็นและติดตามข้อมูลเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพเมื่อต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีระบุตำแหน่ง

รายงานเปิดเผยว่า 37% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการใช้เทคโนโลยีระบุตำแหน่งมีความจำเป็นต่อการเพิ่มความปลอดภัยของผู้ขับขี่ เป็นแรงจูงใจหลักสำหรับบริษัทต่าง ๆ ในการซื้อโซลูชันการติดตามทรัพย์สินด้านลอจิสติกส์ ขณะที่ 33% ระบุว่า ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการติดตามยานพาหนะแบบเรียลไทม์และการรายงานข้อมูล และอีก 30% ระบุว่าเทคโนโลนี้ยังมีความจำเป็นต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานขับรถและพนักงานซ่อมบำรุง

อุตสาหกรรมลอจิสติกส์ไทยมองเทคโนโลยีในอนาคตช่วยเพิ่มศักยภาพไปสู่การเป็น Logistics Hub

บริษัทลอจิสติกส์สามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบด้วยการติดตามสถานะแบบเรียลไทม์และข้อมูลด้วยเทคโนโลยี IoT การศึกษายืนยันว่าบริษัทลอจิสติกส์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยใช้เทคโนโลยี IoT อยู่แล้ว โดยใช้ในแอปพลิเคชัน IoT สำหรับการจัดการสินค้าคงคลัง (20%) การจัดการยานพาหนะ (18%) และการจัดการห่วงโซ่อุปทานและการขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ (18%) เป็นที่นิยมมากที่สุดในบรรดาบริษัทลอจิสติกส์ของไทย

เมื่อมองไปในอนาคต พบว่าเกือบ 1 ใน 4 ของบริษัทลอจิสติกส์ในประเทศไทยกำลังวางแผนที่จะลงทุนในโดรน (41%) ปัญญาประดิษฐ์และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (32%) และบล็อกเชน (32%) เพื่อก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านลอจิสติกส์ เทคโนโลยีเหล่านี้ภาคธุรกิจลอจิสติกส์ระบุว่ามีประโยชน์ต่อการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน (36%) สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด (34%) และเพิ่มรายได้ (32%)

สารจากผู้เกี่ยวข้อง

  • นายโยชิคาซุ คุวามุระ หัวหน้าฝ่ายดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันภาคอุตสาหกรรม บริษัท Mitsubishi Corporation สาขาประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า “ดิจิทัลไลเซชันคือกุญแจสำคัญสำหรับจัดการกับความท้าทายพร้อมปลดล็อคประสิทธิภาพใหม่ ๆ ในซัพพลายเชนปัจจุบัน อย่างไรก็ตามดิจิทัลไลเซชันเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอต่อการจัดการซัพพลายเชนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำได้อย่างสมบูรณ์

    เพื่อให้การดำเนินงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การทำงานร่วมกันทั่วทั้งซัพพลายเชนถือเป็นสิ่งสำคัญ เราเชื่อมั่นว่าการติดตั้ง HERE ในระบบการทำงานจะช่วยผู้ประกอบการลอจิสติกส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการระบุตำแหน่งอัจฉริยะและพัฒนาเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด รวมถึงวางกลยุทธ์บริหารจัดการความเสี่ยงและความไม่แน่นอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
  • นายวิเวก ไวยา ผู้นำลูกค้าระดับโลกด้านโมบิลิตี้ บริษัท ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิแวน จำกัด กล่าวว่า “ในแง่ของการติดตามทรัพย์สินและการตรวจสอบสินค้าระหว่างขนส่ง ธุรกิจซัพพลายเชนและลอจิสติกส์ในเอเชียแปซิฟิกมีการพัฒนาในระดับที่แตกต่างกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นแบบเรียลไทม์ ธุรกิจต่าง ๆ กำลังมองหาการลงทุนใน IoT, AI และโดรน ในทางกลับกัน หลายบริษัทยังพึ่งระบบแมนนวลเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน และบริษัทเหล่านั้นมีความพยายามที่จะก้าวข้ามไปสู่การใช้โซลูชันที่ทันสมัยขึ้น

    โดยภาพรวมแล้ว การตระหนักรู้ถึงความสามารถในการมองเห็นสินทรัพย์และยานพาหนะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมหาศาลหลังการแพร่ระบาด และยังมีทีท่าว่าจะเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการตอกย้ำถึงศักยภาพ/โอกาสในการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของผู้ให้บริการอย่าง HERE Technologies ในตลาดสำหรับทศวรรษถัดไป”
  • นายอาบิจิต เซนกุปตา ผู้อำนวยการอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายธุรกิจ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอินเดีย บริษัท HERE Technologies กล่าวว่า “ภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของประเทศไทยมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการเชื่อมธุรกิจและผู้บริโภคทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าไว้ด้วยกัน รายงานของเราเผยให้เห็นถึงการเติบโตอย่างมากของตลาดลอจิสติกส์พร้อมกับศักยภาพการเติบโตที่ยังมีอีกมากรวมถึงนวัตกรรม

    เราเชื่อว่าเมื่อบริษัทใช้ Location Technology แพร่หลายมากขึ้น ย่อมนำไปสู่โอกาสในการเติบโตสำหรับภาคลอจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนระยะยาว และขยับไปสู่การเป็นลอจิสติกส์ฮับของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”