อีริคสัน จับมือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมจัดแสดงนวัตกรรม 5G

อีริคสัน และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศความร่วมมือล่าสุดในงาน “Chula 5G For Real Exhibition” นำเสนอนวัตกรรมที่พัฒนาร่วมกันจากเทคโนโลยี 5G AI และ IoT อาทิ รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ทันตแพทย์ทางไกล ที่ตอบรับสังคมสูงวัย และบริการตรวจรักษาทางไกล ให้กับประชาชนผ่านเทคโนโลยีเอไอ 

ศ.ดร. วาทิต เบญจพลกุล ประธานโครงการทดสอบบริการโทรคมนาคมไร้สาย 5G กล่าวว่า “ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ศูนย์ 5G Innovation Center ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของเราได้พัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ มากมาย ร่วมกับพันธมิตรอื่น ๆ จากหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงอีริคสันด้วย ศูนย์ฯ แห่งนี้ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากสำนักงาน กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) โดยมีพันธกิจหลักคือเพื่อพัฒนารูปแบบการใช้งานต่าง ๆ ที่มีคุณประโยชน์แก่สังคมและขับเคลื่อนให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ ขึ้น หนึ่งปีเต็ม ๆ ที่พวกเรามุ่งมั่นทำงานกันอย่างหนัก วันนี้เราพร้อมแสดงให้ทุกภาคส่วนได้เห็นความสำเร็จและความคืบหน้าของการพัฒนานวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี 5G ในประเทศไทยแล้ว”

เทคโนโลยี 5G จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวไกลไปสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว พร้อมตอบสนองความต้องการและสร้างความน่าเชื่อถือได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังสร้างโอกาสใหม่ ๆ ไปสู่กลุ่มธุรกิจที่หลากหลาย ประกอบด้วย กลุ่มดูแลสุขภาพ (Healthcare) กลุ่มยานยนต์ (Automotive) และกลุ่มการผลิตด้านอุตสาหกรรม (Manufacturing) ทั้งนี้สำหรับประเทศไทยคาดการณ์ว่าภายใน พ.ศ. 2573 มูลค่าของรายได้รวมจากธุรกิจดิจิทัลที่เปิดใช้งานเทคโนโลยี 5G จะอยู่ที่ประมาณ 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

นางนาดีน อัลเลน ประธานบริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ถือเป็นความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่อีริคสันได้เป็นส่วนหนึ่งในความร่วมมือครั้งนี้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อตอกย้ำให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยี 5G ที่เข้ามาช่วยเสริมและสร้างนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตที่ดีกว่าในงาน “Chula 5G For Real Exhibition” 

“เราทราบกันดีว่าเทคโนโลยี 5G นั้นไม่ใช่เป็นเพียงเทคโนโลยีด้านเครือข่ายรุ่นถัดไปเท่านั้น แต่ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมมากมายให้เกิดขึ้นและเป็นจริงได้พร้อมกับผลักดันทั้งภาคอุตสาหกรรมและสังคมเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคใหม่ พร้อมนำพาเทคโนโลยี IoT ให้ก้าวไปสู่อีกขั้นหนึ่งที่จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อรองรับการทำงานทั้งหมดตั้งแต่แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนไปจนถึงการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์แบบเรียลไทม์ภายในโรงงาน” นางนาดีน กล่าวเสริม

ด้วยประสบการณ์และการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยกว่า 100 ปี อีริคสันมุ่งมั่นสนับสนุนผู้ให้บริการโทรคมนาคมเปิดใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อรับประโยชน์อย่างเต็มที่จากเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ พร้อมมอบประสบการณ์ออนไลน์ที่เหนือกว่าให้แก่ผู้ใช้งาน โดยอีริคสันมีการลงทุนอย่างจริงจังด้านการวิจัยและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องในระดับโลกเพื่อพัฒนาพอร์ตโฟลิโอ 5G ให้มีความครอบคลุมและโดดเด่น อันประกอบไปด้วยแพลตฟอร์ม 5G ครบวงจรที่ครอบคลุมโซลูชั่นเทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ Ericsson Spectrum Sharing และ 5G-ready (hardware) radios

นอกจากนี้ อีริคสันยังร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมชั้นนำรวมถึงมหาวิทยาลัยและสถาบันทางด้านเทคโนโลยีมากกว่า 40 แห่ง และพันธมิตรในอุตสาหกรรมอีก 30 ราย เพื่อสร้างความเข้าใจการพัฒนานวัตกรรมและสร้างระบบนิเวศ 5G ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง

“การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้เครือข่ายโทรคมนาคมทั้งเครือข่ายมือถือและเครือข่ายอินเตอร์เน็ตบ้านสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ พร้อมย้ำให้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีการเชื่อมต่อคุณภาพสูงที่จะมีบทบาทต่อการดำเนินธุรกิจและขับเคลื่อนผลิตภาพของประเทศ โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายมือถือความเร็วสูงอย่าง 5G จะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการนำเสนอแพลตฟอร์มที่มีเสถียรภาพสำหรับสร้างสรรค์นวัตกรรมและสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจของประเทศไทย” นางนาดีนกล่าวสรุป

ปัจจุบันอีริคสันได้ลงนามในสัญญาทางการค้ากับลูกค้าต่าง ๆ ไปแล้วถึง 99 ราย โดยมีผู้ให้บริการถึง 55 รายได้เปิดใช้งานเครือข่าย 5G แล้วใน 5 ทวีป