หัวเว่ยพัฒนาประมวลผลคอมพิวเตอร์ และเริ่มอีโคซิสเต็มสำหรับภาคอุตสาหกรรม

หัวเว่ยพัฒนากลยุทธ์ด้านการประมวลผลคอมพิวเตอร์ด้วยอีโคซิสเต็มสำหรับภาคอุตสาหกรรมวางรากฐานที่สมบูรณ์ให้กับโลกยุคดิจิทัล ที่ผ่านมาและต่อเนื่องไปในอนาคต

หัวเว่ยได้ส่งเสริมอีโคซิสเต็มสำหรับภาคอุตสาหกรรม รวมถึงสร้างสรรค์เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์เป็นจำนวนมาก และในปี พ.ศ. 2563 หัวเว่ยจะลงทุนกับอีโคซิสเต็มของเทคโนโลยีประมวลผลคอมพิวเตอร์เป็นมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างนักพัฒนาอีกกว่า 2 ล้านคนทั่วโลก

ด้วยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และโซลูชัน และการเลือกใช้โมเดลธุรกิจอย่างเหมาะสม หัวเว่ยทุ่มเทอย่างหนักเพื่อสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้พาร์ทเนอร์สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันต่างๆ และเข้าถึงข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ทางธุรกิจได้อย่างเต็มรูปแบบ ศูนย์นวัตกรรมอีโคซิสเต็มหลายแห่งของหัวเว่ยซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันโดยพาร์ทเนอร์ในแวดวงอุตสาหกรรม จะเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคที่ช่วยกระตุ้นการบ่มเพาะเทคโนโลยีประมวลผลของทั้งอุตสาหกรรม

อันได้แก่ การแสดงตัวอย่างการใช้งานที่ประสบความสำเร็จ, การผลักดันห่วงโซ่อุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นจริง, การสร้างและพัฒนาโซลูชันของอุตสาหกรรม, การพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีประมวลผลคอมพิวเตอร์, การพัฒนาองค์กรที่มีนวัตกรรมสร้างสรรค์ และการคิดค้นแอปพลิเคชันใหม่ๆ โดยในช่วงหลายปีมานี้ อีโคซิสเต็มของอุตสาหกรรมคลาวด์และเทคโนโลยีประมวลผลของหัวเว่ยเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งจากความร่วมมือในระดับโลก

เช่น HUAWEI CLOUD มีพาร์ทเนอร์ด้านที่ปรึกษามากกว่า 10,000 ราย อีกทั้งพาร์ทเนอร์ด้านเทคโนโลยีสำหรับ HUAWEI CLOUD และรายชื่อผู้พัฒนาระบบ (ISV) ด้านเทคโนโลยีประมวลผลก็มีมากกว่า 3,500 ราย นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมอีโคซิสเต็มมากกว่า 37 แห่งทั่วโลก มีการเปิดตัวแอปพลิเคชันคลาวด์และโซลูชันที่ได้รับการรับรองโดยหัวเว่ยมากกว่า 5,000 รายการ ซึ่งทั้งหมดนี้ให้บริการโดยพาร์ทเนอร์ด้าน HUAWEI CLOUD และเทคโนโลยีประมวลผลคอมพิวเตอร์ของเรา

โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลแบบใหม่ที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีคลาวด์, ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยี 5G ถือเป็นกลไกใหม่ของเศรษฐกิจระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีคลาวด์ที่เป็นกุญแจปลดปล่อยศักยภาพ AI และขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ HUAWEI CLOUD กลายเป็นตัวเลือกอันดับแรกสำหรับดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันและการปฏิรูปที่ชาญฉลาดของทั้งภาครัฐและกลุ่มธุรกิจองค์กร

จากรายงาน “พลังการประมวลผลคอมพิวเตอร์ที่แพร่หลาย: หลักสำคัญของสังคมอัจฉริยะ (Ubiquitous Computing Power: the Cornerstone of Intelligent Society)” ที่หัวเว่ยได้เปิดตัวนั้น ระบุว่าพลังการประมวลผลคอมพิวเตอร์ด้วยสัดส่วนต่อหัวมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมการผลิตแบบเดิม การลงทุน 1 ดอลลาร์สหรัฐในการประมวลผลคอมพิวเตอร์สามารถเพิ่มมูลค่าของผลผลิตได้ถึง 10 ดอลลาร์สหรัฐ 

HUAWEI CLOUD Huawei Global Analyst Summit Advances-Computing-Strategy

นับตั้งแต่การเปิดตัวกลยุทธ์โดยรวมด้านการประมวลผลคอมพิวเตอร์ในปี พ.ศ. 2562 หัวเว่ยประสบความสำเร็จในการเติบโตอย่างรวดเร็วของคลาวด์, การประมวลผลคอมพิวเตอร์ และโครงสร้างพื้นฐานทางข้อมูล 

คลาวด์: หัวเว่ยได้ใช้ประโยชน์จากการผสานพลังของเทคโนโลยีคลาวด์, AI และ 5G เพื่อให้บริการคลาวด์แก่สาธารณะได้อย่างมีเสถียรภาพ น่าเชื่อถือ และยั่งยืน รวมถึงการให้บริการโซลูชันคลาวด์แบบไฮบริด (hybrid) ที่ปฏิบัติการด้วยเทคโนโลยี full-stack ที่ทันสมัย จนถึงปัจจุบันนี้ HUAWEI CLOUD ได้เปิดตัวบริการคลาวด์กว่า 210 รายการใน 23 หมวดหมู่ และโซลูชันทั้งแบบรองรับเฉพาะอุตสาหกรรมและแบบที่ครอบคลุมการใช้งานทั่วไปกว่า 190 ชนิด นอกจากนี้ HUAWEI CLOUD ยังให้บริการในพื้นที่บริการ (Availability Zones – AZs) 45 แห่ง โดยร่วมกับกลุ่มพาร์ทเนอร์ใน 23 ภูมิภาค เมื่อไม่กี่ปีมานี้ HUAWEI CLOUD ยังสามารถรักษาการเติบโตด้านการให้บริการได้อย่างมั่นคง ซึ่งช่วยเสริมสร้างการพัฒนาที่รวดเร็วอีกด้วย 

สำหรับการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT (Infrastructure-as-a-Service – IaaS) HUAWEI CLOUD ครองหนึ่งในสามอันดับสูงสุดของประเทศจีนและอันดับ 6 ในระดับโลกเมื่อปี พ.ศ.2562 ถือเป็นการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดในกลุ่มผู้ให้บริการด้วยกัน และในเดือนมีนาคมปี พ.ศ. 2563 ผลิตภัณฑ์ ModelArts Pro ซึ่งเป็นครั้งแรกของการพัฒนาแอพพลิเคชัน AI สำหรับกลุ่มธุรกิจองค์กร ได้เริ่มปฏิบัติการบน HUAWEI CLOUD เพื่อเร่งพัฒนาอุตสาหกรรม AI อย่างเต็มที่ 

เพื่อพัฒนาสู่ความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หัวเว่ยได้เปิดตัวกลยุทธ์สำหรับภาครัฐและกลุ่มธุรกิจองค์กร พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ซีรีย์ HUAWEI CLOUD Stack ที่ตั้งเป้าหมายเป็นตัวเลือกลำดับแรกสำหรับการอัปเกรดแบบอัจฉริยะของภาครัฐและธุรกิจองค์กร จากการปฎิบัติการด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบชิงเทียน (QingTian Architecture) ผลิตภัณฑ์ HUAWEI CLOUD, HUAWEI CLOUD Stack และ HUAWEI CLOUD Edge 

ร่วมใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบ full-stack สำหรับการยกระดับความสามารถในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้สถาปัตยกรรมแบบชิงเทียนที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการปฏิบัติการในทุกสถานการณ์นั้น ยังสนับสนุนการประสานงานของอุปกรณ์ CLOUD Edge การสร้างประสบการณ์และอีโคซิสเต็มแบบองค์รวมที่จะกระตุ้นการปฏิวัติอย่างชาญฉลาดของภาครัฐและกลุ่มลูกค้าธุรกิจองค์กรในยุคดิจิทัล 

การประมวลผลคอมพิวเตอร์: หัวเว่ยมุ่งมั่นปลดปล่อยขุมพลังด้านการประมวลผลคอมพิวเตอร์โดยอาศัยพื้นฐานจากผลิตภัณฑ์ x86, Kunpeng, GPU และ Ascend และสำหรับการประมวลผลคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป หัวเว่ยได้พัฒนาสายผลิตภัณฑ์จำนวนมาก เช่น อุปกรณ์ที่ได้รับการผสมผสาน (integrated equipment), แผงวงจรหลัก (motherboard) และการ์ดต่างๆ นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเร่งการประมวลผลคอมพิวเตอร์แบบ AI หัวเว่ยยังได้เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ Atlas series อันทรงพลัง และด้วยสายผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย การส่งมอบสินค้าอุปกรณ์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ของหัวเว่ยจึงเติบโตกว่า 8% ในปี พ.ศ.2562 เมื่อเทียบปีต่อปี 

โครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล: หัวเว่ยให้ความสำคัญกับการพัฒนา OceanStor ซึ่งเป็นระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ปฏิบัติการด้วยอัลกอริธึมและสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้ร่วมงานกับกลุ่มพาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรมด้านบิ๊กดาต้า (Big Data) และฐานข้อมูลต่างๆ (database) เพื่อการสร้างโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลแบบผสมผสาน มีความอัจฉริยะและเปิดกว้าง เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด ด้วยค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่าที่สุดตลอดวงจรการใช้งาน ในปัจจุบันระบบการจัดเก็บข้อมูลของหัวเว่ยรองรับลูกค้ากว่า 12,000 คนทั่วโลกและยังมีอัตรา การเติบโตเฉลี่ย (compound average growth rate – CAGR) ของรายได้ทั่วโลกกว่า 39% โดยในปี พ.ศ.2562 ส่วนแบ่งตลาดของหัวเว่ยด้านการจัดเก็บ (storage) ทั้งแบบ all-flash และ mass เพิ่มมากขึ้นกว่า 50% 

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย www.huawei.com หรือติดตามเราได้ที่ช่องทางดังต่อไปนี้