นักวิจัย จากมหาวิทยาลัยการแพทย์สแตนฟอร์ด และมหาวิทยาลัยโตรอนโต ในสหรัฐฯ ได้พัฒนาเซนเซอร์และลำโพงในสมาร์ตโฟน ที่สามารถระบุได้ว่า ผู้ใช้มีอาการเมาจากการดื่มในระดับที่ห้ามขับรถได้แม่นยำถึง 98%
สิ่งที่นำมาวัดคือ เสียงที่เปลี่ยนไป และอาการลิ้นเปลี้ยหลังจากที่ดื่มแอลกอฮอล์ไป โดยระบบจะตรวจจับได้ว่า เสียงที่ไม่เหมือนเดิมของผู้ใช้ มีความเสี่ยงว่ามีอาการมึนเมาแล้วหรือไม่
ทางทีมนักวิจัยได้ทดลองกับ ผู้ที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไป 18 คน ให้ดื่มแอลกอฮอล์ในสัดส่วนตามน้ำหนักตัว โดนก่อนเริ่มทดลองให้บันทึกเสียงด้วยสมาร์ตโฟน ที่วางอยู่ข้างๆ ในระยะ 1-2 ฟุต
หลังจากนั้นผู้ทดสอบจะต้องบันทึกเสียงทุกชั่วโมงหลังดื่ม พร้อมกับวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดทุก 30 นาที เป็นเวลา 7 ชั่วโมง ผลการทดสอบพบว่า ระบบของสมาร์ตโฟนสามารถดาดการณ์ระดับความเมาของผู้ใช้ได้อย่างแม่นยำถึง 98%
โดยการตรวจวัดนั้น ไม่ได้เป็นลักษณะการวัดค่าเป็นตัวเลข แต่วัดระดับของความมึนเมาของผู้ใช้ โดยมีจุดมุ่งหมาย ที่จะเป็นเครื่องมือในการเแจ้งตือนผู้คนไม่ให้ดื่มจนเกินระดับ โดยข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตประมาณ 3 ล้านคน โดยมีสาเหตุจากการเมาแล้วขับ คิดเป็น 5.3% ของสาเหตุในการเสียชีวิตทั้งหมด
การวิจัยนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ในอนาคตทีมพัฒนากำลังมองหาการสนับสนุนจากภาคธุรกิจที่จะพัฒนาระบบนี้ให้มีความเที่ยงต้นและสามารถนำไปใช้งานได้จริงในอนาคต
ข้อมูลจาก Interest Engineering
ภาพจาก Freepik