ย่านความถี่ 6GHz อนาคตของอุตสาหกรรมการสื่อสารวิทยุและโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล

ย่านความถี่ 6GHz ได้รับความนิยมและการสนับสนุนมากที่สุดในอุตสาหกรรมการสื่อสารวิทยุและโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล อนาคตของการพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนในทุกภูมิภาคทั่วโลก

ย่านความถี่ 6GHz จุฬา

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของการใช้งานเครือข่าย 5G และปริมาณการรับส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการย่านความถี่กลางสูงขึ้นเพื่อสอดรับกับความต้องการใช้งานในอนาคต โดยรายงานของสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) หัวข้อ ‘ความต้องการใช้งานย่านความถี่กลางสำหรับเครือข่าย 5G ในปี พ.ศ. 2573’ (5G-Mid-Band-Spectrum-Needs-Vision-2030) ระบุว่าความถี่ 2GHz ในย่านความถี่กลาง ถือเป็นย่านความถี่ที่ได้รับการแนะนำให้ทุกประเทศใช้งานในช่วงปี พ.ศ. 2568 – พ.ศ. 2573 ในขณะที่ย่านความถี่สูงกว่า 6GHz ถือเป็นย่านความถี่กลางสำคัญที่จะช่วยรองรับความต้องการใช้งานเครือข่ายในปัจจุบันและอนาคต โดยในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 สหภาพยุโรปได้แนะนำให้ประเทศสมาชิกผลักดันการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารไร้สายในอนาคต บนย่านความถี่สูงกว่า 6GHz

กระแสดังกล่าวส่งผลให้ความนิยมย่านความถี่ที่สูงกว่า 6GHz เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งครอบคลุมทั้งภาคอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่และหน่วยงานกำกับดูแลต่าง ๆ ความนิยมการใช้ความถี่ในย่านสูงกว่า 6 GHz ที่เพิ่มขึ้นในแผนความถี่การสื่อสารวิทยุและโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ทำให้นานาประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มย่านความถี่ที่สูงกว่า 6GHz เข้ามาในแผนดังกล่าวในอนาคต เพื่อรองรับความต้องการใช้งานที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในการประชุมระหว่างวันที่ 20 – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา เหล่าผู้นำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เข้าร่วมประชุมที่เมืองปูซาน เพื่อหารือนโยบายคลื่นความถี่ระดับภูมิภาค และร่วมประกาศจุดยืนด้านนโยบายความถี่ 6GHz โดยหลายประเทศพร้อมสนับสนุนการใช้ย่านความถี่ 6GHz ของแผนความถี่สื่อสารวิทยุและโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ในการประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุโทรคมนาคม (WRC-23) ซึ่งถือเป็นการลงมติที่ส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างกว้างขวาง ต่อการพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนในทุกภูมิภาคทั่วโลก

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกาศทดสอบย่านความถี่ 6 GHz เพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5G ณ งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส 2023

รศ.ดร.ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ ได้ประกาศระยะเวลาการทดสอบย่านความถี่ 6GHz แบบใช้งานในสถานที่จริง เพื่อใช้วิจัยเครือข่าย 5G ขั้นสูงในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ณ งานสัมมนาหัวข้อ ‘เครือข่าย 5G สำหรับทุกสิ่งและทุกคน บทบาทของ ย่านความถี่ 6GHz และย่านความถี่สูงพิเศษ’ (5G Connectivity for Everything and Everyone, The Role of 6GHz and UHF) ภายในงานประชุมระดับโลกด้านเทคโนโลยีไร้สาย โมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (MWC) 2023 ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) ร่วมกับเหล่าพันธมิตรในอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมกันค้นคว้าวิจัยการใช้ย่านความถี่ 6GHz สำหรับการสื่อสารแบบไร้สายแห่งโลกอนาคต เช่น เทคโนโลยี 5G และ 6G โดยในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับอนุญาตให้ทดสอบย่านความถี่สูงกว่า 6GHz (6425 – 7125MHz) ในสถานที่จริง จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยการทดสอบจะเริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ผลการทดสอบดังกล่าวจะได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือสำหรับประเทศไทยและนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อการตัดสินใจในเชิงนโยบายแก่การใช้งานย่านความถี่ 6GHz ในอนาคต