Poly เผย 3 เทรนด์การทำงานสำคัญปี 2566: การทำงานแบบ hybrid การเชื่อมโยงทีมงานและกลุ่ม Gen Z

Poly เผย 3 เทรนด์การทำงานที่ควรให้ความสนใจในปี 2566: การทำงานแบบ hybrid การหาวิธีเชื่อมโยงทีมงานและการเพิ่มขึ้นของกลุ่ม Gen Z

Poly-hybrid-Gen-Z-Workplace-trends

การทำงานได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการปะทุใช้งานทางอินเทอร์เน็ตจากสถานที่ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นในช่วงก่อนเกิดโรคระบาด ไปจนถึงภาวะที่นายจ้างจำเป็นต้องจัดหากระบวนการทำงานจากทางไกลและแบบ hybrid จากทุก ๆ ที่เป็นวิธีการทำงานหลักเพื่อให้องค์กรเชื่อมต่อกันอยู่เสมอ และในปี พ.ศ. 2566 วิธีการปฏิบัติงานจะเป็นอย่างไร Poly ได้รวบรวมเทรนด์สำคัญที่ควรให้ความสำคัญในปีนี้ไว้ในบทความนี้แล้ว ซึ่งจะไม่ใช่เป็นเพียงการรับรู้ของพนักงานเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสถานที่ทำงาน การทำงานแบบ hybrid ที่มีความยืดหยุ่นและการเพิ่มขึ้นของประชากรแรงงานกลุ่ม Gen Z อีกด้วย

เทรนด์ #1: ‘งาน’ หมายถึงการปฏิบัติงานแบบไฮบริดและต้องยืดหยุ่น

ในปี 2566 ‘การทำงานแบบไฮบริด’ จะไม่ใช่เทรนด์อีกต่อไป แต่จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตการทำงานตามปกติในทุกวัน และต้องมีความยืดหยุ่น

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการถกประด็นถึงความเป็นไปได้ของการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ โดยรัฐสภาในประเทศสิงคโปร์เองได้ถกเถียงกันเกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าวไปเมื่อต้นปีนี้ ได้พบว่า 2 ใน 3 ของพนักงานในสิงคโปร์ชื่นชอบการปฏิบัติงานแบบยืดหยุ่นที่จะเอื้อให้พนักงานสามารถควบคุมชั่วโมงการทำงานของตนเองได้ดีขึ้น ทั้งนี้ รายงานล่าสุดของไอดีซีแสดงให้เห็นว่าพนักงานทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความคิดที่คล้ายคลึงกัน โดยพนักงานมากกว่า 56% ในภูมิภาคนี้ต้องการลักษณะงานที่ยืดหยุ่นพร้อมออปชันให้เลือกการทำงานทั้งในสำนักงานและจากทางไกล ถึงแม้กระทั่งได้เกิดการแพร่ระบาดไปแล้ว

โชคดีที่เราเห็นทัศนคติที่ตอบรับต่อการทำงานแบบไฮบริดมากขึ้น ในการสำรวจเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่จัดขึ้นโดย Center for Creative Leadership พบว่าผู้นำจากญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเวียดนามเปิดกว้างมากขึ้นในการเตรียมรับกรณีที่พนักงานจะไม่ทำงานในสถานที่ทำงานถึง 100% ทั้งนี้ สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่สูงที่สุดที่ยอมรับการทำงานแบบไฮบริดและให้ความยืดหยุ่นแก่พนักงานในการทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา และคาดหวังให้พนักงานปฏิบัติงานในสถานที่ตลอดเวลาน้อยที่สุด

ถึงแม้การปฏิบัติงานแบบไฮบริดไม่ได้เหมาะสมกับทุกบทบาท แต่เห็นได้ชัดว่านายจ้างมีความคล้อยตามแนวคิดนี้มากขึ้น เห็นได้จากการสำรวจเรื่องอนาคตของการทำงานในปี 2565 ของ JLL ซึ่งพบว่า 56% ของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียแปซิฟิกเปิดเผยว่า องค์กรของตนเองจะให้บริการการทำงานจากทางไกลแก่พนักงานทุกคนภายในปี 2568

เทรนด์ #2: การเชื่อมโยงทีมงานได้แบบเห็นหน้าเห็นตากัน

หนึ่งในเหตุผลที่สำคัญที่สุดเมื่อองค์กรจำเป็นต้องให้พนักงานกลับมาปฏิบัติงานที่สำนักงานคือต้องการให้พนักงานประสานเชื่อมโยงกับทีมงานกันได้ดีขึ้นเพื่อทำงานให้สำเร็จ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพนักงานให้ความสำคัญในเรื่องความยืดหยุ่นเป็นอย่างมาก ส่งให้องค์กรต่าง ๆ ต้องมองหาวิธีต่าง ๆ เข้ามารองรับพนักงานที่จำเป็นต้องสร้างการเชื่อมต่อที่เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องลงมือปฏิบัติ ทั้งนี้ สำหรับสถานการณ์ที่ไม่จำเป็นต้องไปปฏิบัติงานที่สำนักงาน เรามีโซลูชันที่เหมาะสมที่สามารถช่วยให้พนักงานเห็นหน้ากันแบบเสมือนจริงได้

การลงทุนในเทคโนโลยีที่ช่วยให้พนักงานได้รับประสบการณ์การทำงานที่เท่าเทียมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบวิดีโอที่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นซึ่งช่วยให้ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นชัดในตำแหน่งด้านหน้าและตรงกลาง หรือระบบเสียงชั้นดีที่ไม่เพียงช่วยให้ผู้ร่วมประชุมทุกท่านได้ยินเสียงของผู้พูด และยังขจัดสิ่งรบกวนไม่ให้เล็ดลอดเข้ามาด้วย ทั้งนี้ แพลตฟอร์มการสื่อสารเพื่อให้การทำงานร่วมกันนี้จะเอื้อให้แผนกไอทีสามารถใช้ประโยชน์จากงานแบบไฮบริดได้โดยไม่จำเป็นต้องจัดหาเครื่องมือพื้นฐานภาคเสียงและวิดีโอใหม่

การประชุมแบบเห็นหน้าเห็นตากันเป็นวิธีหนึ่งในการทำให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย แต่เทคโนโลยีที่เหมาะสม ความสามารถในการเชื่อมโยงเข้าถึงสมาชิกในทีมที่ทำงานในภูมิภาคและโซนเวลาที่แตกต่างกันจะช่วยแก้ปัญหางานได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

เทรนด์ #3: การเพิ่มขึ้นของ Gen Z

กลุ่มคน Gen Z หรือที่เรียกว่า Zoomers คือผู้ที่เกิดระหว่างปีพ.ศ. 2540 ถึง 2553 (ค.ศ. 1997 ถึง 2010) โดยสมาชิกที่อายุมากที่สุดในขณะนี้คือ 26 ปี และคาดว่ากำลังจะกลายเป็นประชากรประมาณ 27% ของพนักงานทั่วโลกภายในปีพ.ศ. 2568 กลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนยุคดิจิทัลอย่างแท้จริงกลุ่มแรกและไม่เคยประสบกับเวลาที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้งาน ชาวดิจิทัลเหล่านี้เข้ามาทำงานด้วยความคาดหวังที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิงเกี่ยวกับเทคโนโลยี และยังคาดหวังในความสัมพันธ์ทั้งส่วนตัวและในที่ทำงานอย่างจริงจังมากขึ้น คนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับประสบการณ์การเรียนรู้เป็นอันดับแรก ให้ความภักดีต่องานน้อยมาก และมองว่าการปฏิบัติงานเป็นหนทางไปสู่ทางตัน ไม่ใช่ตัวตนของพวกเขา

ดังนั้น ผู้นำธุรกิจจึงต้องปรับตัว เพื่อรองรับความคาดหวังของกลุ่มคน Gen Z ซึ่งหมายถึง สิ่งที่คนรุ่นมิลเลนเนียลต้องการนั้นไม่ใช่สิ่งที่กลุ่มคน Gen Z ต้องการ ซึ่งห่างไกลกว่ากลุ่มรุ่น Boomers ต้องการมาก องค์กรจำเป็นต้องปรับแนวปฏิบัติเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร การฝึกอบรมและวิธีการรักษาพนักงานให้สอดคล้องกับความต้องการและสิ่งที่คนกลุ่มนี้เรียกร้อง ในขณะที่ยังคงต้องดูแลพนักงานในรุ่นต่าง ๆ อีกด้วย

นายจ้างสามารถสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งขึ้นสำหรับพนักงานรุ่นใหม่นี้โดยพยายามทำความเข้าใจบุคลิกในที่ทำงานของพวกเขา หรือวิธีทำงานที่พวกเขาชื่นชอบให้ดียิ่งขึ้น ไปจนถึงความคิดเห็นและปฏิกิริยาที่มีต่อนโยบายการทำงานปัจจุบันขององค์กร นอกจากนี้ องค์กรควรใช้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้เข้าใจถึงการลงทุนและใช้เทคโนโลยีและการจัดสถานที่ทำงานที่ดีขึ้นเพื่อช่วยให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้น ปัจจุบันเป็นยุคที่ผู้นำต้องให้ความสนใจในความเห็นของพนักงานมากขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Gen Z หรือกลุ่มอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อองค์กรต้องรักษาและดึงดูดให้พนักงานรุ่นใหม่ ๆ ที่มีความสามารถร่วมทำงานด้วยต่อไป

โดยปิแอร์-ฌอง ชาลอง หัวหน้าฝ่ายโซลูชันการทำงานแบบไฮบริดและอุปกรณ์ต่อพ่วง ภูมิภาค APJ, HP