Visa ประกาศโร้ดแมปด้าน ความปลอดภัย เสริมความมั่นใจใน ระบบการชำระเงิน ในประเทศไทย

Visa ประกาศอัปเดตโร้ดแมปในการเสริม ความปลอดภัย ของ ระบบการชำระเงิน ในประเทศไทย เพื่อปกป้องผู้บริโภค ผู้ประกอบธุรกิจ และระบบนิเวศทางการชำระเงิน ให้ปลอดภัยจากอาชญากรรมไซเบอร์

Visa (วีซ่า) ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก ประกาศมาตรการล่าสุดด้าน ความปลอดภัย ของ ระบบการชำระเงิน สำหรับประเทศไทย เพื่อปกป้องผู้บริโภค ผู้ประกอบธุรกิจ และระบบนิเวศทางการชำระเงิน ให้ปลอดภัยจากอาชญากรรมไซเบอร์ มาตรการความปลอดภัยใหม่ ๆ ที่ครอบคลุมนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโร้ดแมปที่วีซ่าวางแผนงานไว้สำหรับประเทศไทย ซึ่งได้ออกแบบมาเพื่อยกระดับการป้องกันสำหรับทั้งการทำธุรกรรมทางออนไลน์ และ ณ จุดรับชำระในร้านค้า

Visa-อัปเดต-ความปลอดภัย-ระบบการชำระเงิน

พิภาวิน สดประเสริฐ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ที่วีซ่า ความปลอดภัยถือเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญสูงสุด และเรามีการลงทุนมหาศาลเพื่อยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัย เพื่อให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจมั่นใจว่าพวกเขาจะได้รับการปกป้องในทุก ๆ ธุรกรรมการชำระเงินผ่านเครือข่ายของวีซ่า ในปัจจุบันเมื่อภูมิทัศน์ทางการชำระเงินเปลี่ยนแปลง ภัยคุกคามต่าง ๆ ก็มีการปรับตัวตามด้วยเช่นกัน นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เรายินดีที่จะนำเสนอโร้ดแมปด้านความปลอดภัยที่ระบุถึงมาตรการและขั้นตอนต่าง ๆ ที่วีซ่าจะร่วมทำงานกับพันธมิตรของเราเพื่อเดินหน้าทำให้ระบบนิเวศทางการชำระเงินของประเทศไทยปลอดภัยยิ่งขึ้น”

นวัตกรรมด้านความปลอดภัยของวีซ่า ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคโนโลยีที่ตรวจสอบข้อมูล ลดการฉ้อโกง และป้องกันระบบนิเวศทางการชำระเงิน ในห้าปีที่ผ่านมา วีซ่าได้ลงทุนกว่าเก้าพันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อยกระดับประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการรับมือกับการฉ้อโกง

วีซ่า ใช้โซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และข้อมูลในการระบุตัวตน สอบสวน ขัดขวาง และป้องกันการโจมตีระบบนิเวศทางการชำระเงินของโลก นอกจากนั้นยังสามารถนำเสนอกลยุทธ์ด้านความปลอดภัย และแผนการป้องกันที่ครอบคลุมเพื่อรับมือกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ ๆ

หนึ่งในโซลูชันที่สำคัญ คือ Visa Advanced Authorisation เป็นเทคโนโลยีที่วิเคราะห์องค์ประกอบข้อมูลมากกว่า 500 ข้อมูลเพื่อให้คะแนนความเสี่ยงในแต่ละธุรกรรม ซึ่งในปีงบประมาณ 2564[1] ที่ผ่านมาช่วยให้ธนาคารต่าง ๆ ทั่วโลกสามารถป้องกันการฉ้อโกงได้กว่า 26 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ปัจจุบันผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ชีวิตแบบไลฟ์สไตล์ดิจิทัลเพิ่มขึ้น ดังนั้นการใช้ข้อมูลไบโอเมตริกซ์ต่างได้รับความนิยมขึ้น อาทิ การใช้ลายนิ้วมือ การจดจำใบหน้า และการให้ข้อมูลที่ใช้ยืนยันตัวตนในรูปแบบดิจิทัลเมื่อทำกิจกรรมออนไลน์

ปัจจุบันกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รู้จักการชำระเงินด้วยไบโอเมตริกซ์ โดยมากกว่าครึ่ง (53%) เชื่อว่าเป็นวิธีการชำระเงินที่ปลอดภัยกว่า ขณะที่ความเป็นเจ้าของข้อมูลตัวตนดิจิทัลปัจจุบันของภูมิภาคนี้อยู่ในระดับต่ำ (18%) แต่กระนั้นกลุ่มผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของข้อมูลตัวตนดิจิทัลมีความรู้จักในระดับสูง (71%) และความสนใจในการชำระเงินด้วยไบโอเมตริกซ์ (63%) ก็สูงเช่นกัน[2]

“เมื่อมองถึงอนาคตด้านความปลอดภัย วีซ่าเชื่อว่าการให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค และการยืนยันตัวตนผ่านระบบดิจิทัล จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยป้องกันภัยคุกคามใหม่ ๆ ในปัจจุบัน ที่การค้าขายมุ่งสู่ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น นอกจากนี้เรายังอยากกระตุ้นให้ผู้เล่นในอุตสาหกรรมการชำระเงินใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปกป้องผู้บริโภค และเสริมสร้างให้เศรษฐกิจประเทศไทยมั่นคงและปลอดภัยยิ่งขึ้น”

พิภาวิน กล่าวเสริม

วีซ่ามีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลกกว่า 1,000 คน ที่ใช้เวลาตลอด 24 ชั่วโมงในการตรวจจับ ป้องกันการฉ้อโกงแบบเรียลไทม์ และวิเคราะห์ธุรกรรมทางการเงินเป็นล้าน ๆ รายการในทุก ๆ วัน นอกจากนั้น วีซ่ายังใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถระบุรูปแบบการฉ้อโกงที่ไม่สามารถตรวจจับได้โดยมนุษย์ และเตือนให้สถาบันการเงิน และร้านค้าทราบก่อนที่ธุรกรรมฉ้อโกงจะเกิดขึ้น

โร้ดแมปด้านความปลอดภัยของวีซ่าได้ระบุขั้นตอนที่วีซ่าจะร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบนิเวศทางการชำระเงินในประเทศไทย ได้แก่

  1. ขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีเพิ่มเสริมสร้างความปลอดภัย
  2. สร้างความปลอดภัยในการชำระเงินรูปแบบดิจิทัล
  3. เสริมสร้างความความยืดหยุ่นของระบบนิเวศการชำระเงิน
  4. ป้องกันการโจมตีแบบสุ่ม
  5. ยกระดับความพร้อมของผู้เล่นในระบบนิเวศให้รับมือกับอาชญากรรมทางไซเบอร์
  6. ป้องกันผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจจากการเป็นเหยื่อของผู้ฉ้อโกง

[1] วีซ่า ป้องกันการฉ้อโกงได้ 26,000 ล้านเหรียญสหรัฐโดยประมาณจากการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม
[2] การศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2564 ของวีซ่า