โหมดการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์

กว่าจะมาเป็น โหมดการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ บน Google Maps

การใช้งานแอปนำทาง อย่าง Google Maps สำหรับ โหมดการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ ที่ถูกพัฒนามาเพื่อตอบโจทย์การสัญจรตามเส้นทางตรอกซอยต่างๆ ได้ดีขึ้น

ในการออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่ม NBU ทีมงานของ Gogole ได้ปรับปรุงและปรับแต่งผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เพื่อตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของผู้ใช้กลุ่มนี้ หรือไม่ก็พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา โหมดการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ เป็นตัวอย่างที่ดีของแนวคิดนี้ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่เราพบว่าแอปการนำทางของเรา นั่นก็คือ Google Maps ไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้ในหลายประเทศ เช่น อินเดียและอินโดนีเซีย ที่รถจักรยานยนต์และสกูตเตอร์เป็นพาหนะการเดินทางที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม แต่ปัญหาก็คือ Google Maps ถูกออกแบบมาสำหรับการนำทางบนถนนสายหลัก ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาของทีมพัฒนาก็คือ การปรับผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์หลายล้านคนที่ต้องสัญจรตามเส้นทางในตรอกซอกซอยต่างๆ ด้วยเหตุนี้โหมดการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา

ซึ่งสำหรับในประเทศไทย ก็ได้มีการเพิ่มการนำทางโหมดรถจักรยานยนต์บน Google Maps ในปี พ.ศ. 2561 โดย Google เก็บข้อมูลของผู้ขับขี่จักรยานยนต์นับหมื่นคนมาผนวกกับแมชชีนเลิร์นนิง Google และสร้างแบบจำลองที่ทำให้การคาดคะเนเวลาที่จะถึงจุดหมายปลายทางแม่นยำขึ้น

โหมดการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ในเคนย่า

ฟีเจอร์นี้ ซึ่งเปิดตัวในปี 2018 จะแสดงให้เห็นว่าเส้นทางใดบ้างที่รถจักรยานยนต์สามารถเข้าไปได้ รวมถึงทางลัด เช่น ตรอกซอกซอยที่รถยนต์ไม่สามารถผ่านได้ โดยคำนวณเวลาในการเดินทางจากความเร็วของรถ และใช้สถานที่สำคัญเป็นจุดสังเกตแทนชื่อถนนเพื่อให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เข้าใจทิศทางได้ดียิ่งขึ้น พร้อมด้วยเส้นทางที่ปรับแต่งให้เหมาะสำหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ เช่น เส้นทางเลี่ยงทางด่วนที่ไม่อนุญาตให้รถจักรยานยนต์วิ่ง เป็นต้น

โหมดการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่ม NBU ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื่องจากตอบโจทย์วิถีชีวิตของผู้ใช้กลุ่ม NBU ในหลายๆ แห่งที่มีลักษณะเป็นเมืองมากขึ้นด้วยถนนหนทางที่การจราจรแออัดตลอดเวลา รวมถึงพื้นที่ที่มีตรอกซอกซอยแคบๆ หรือทางสายรองที่มีเพียงแค่รถจักรยานยนต์เท่านั้นที่สามารถผ่านได้ ด้วยความสามารถในการซอกแซกผ่านการจราจรที่ติดขัดและค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า (เมื่อเทียบกับรถยนต์) ทำให้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้คนในเมืองเหล่านี้ โหมดเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์เปิดตัวครั้งแรกในประเทศกลุ่ม NBU เช่น แอฟริกา อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดรถจักรยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และหลังจากนั้นก็ได้เปิดตัวไปทั่วโลก นี่เป็นข้อพิสูจน์ถึงแนวคิดที่ว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เราสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่ม NBU ขึ้นมา นั่นถือว่าเราได้สร้างสิ่งที่ดียิ่งขึ้นสำหรับผู้คนที่อยู่ในส่วนอื่นๆ ของโลกด้วยเช่นกัน

อีกประการหนึ่งคือความสำคัญของการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากประสบการณ์จริงเพื่อใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ใช้กลุ่ม NBU ทีมวิจัยของเรา (ซึ่งประกอบด้วยวิศวกร นักออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ และหัวหน้าฝ่ายการตลาด) ได้พบปะพูดคุยกับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเมืองชัยปุระ เดลี บังกาลอร์ และจาการ์ตา และร่วมขี่รถจักรยานยนต์ไปกับพวกเขาไปทั่วเมือง ซึ่งกระบวนการวิจัยเชิงลึกเช่นนี้ช่วยให้เราเข้าใจถึงการตัดสินใจของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เมื่ออยู่บนท้องถนน เช่น บางคนจะจำเส้นทางไว้ก่อนออกเดินทาง หรือบางคนใช้การนำทางด้วยเสียง เป็นต้น การมีปฏิสัมพันธ์เช่นนี้ยังช่วยให้เราเห็นว่าฟีเจอร์ใดบ้างที่จะเป็นประโยชน์กับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์มากที่สุด เช่น ทางลัด และจุดสังเกตต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางได้รวดเร็วและปลอดภัยยิ่งขึ้น ในขั้นตอนการเลือกชื่อเรียกสำหรับโหมดนี้ เราต้องการให้แน่ใจว่าชื่อที่ใช้สื่อความหมายให้ผู้ใช้เข้าใจได้อย่างชัดเจน โดยเราใช้คำว่า “two-wheeler” สำหรับอินเดีย และ “motor” สำหรับอินโดนีเซีย เพื่อให้สัมพันธ์กับภาษาท้องถิ่นมากขึ้น

โหมดการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์

ทีมงานพัฒนาได้เรียนรู้ว่าไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ใดก็ตาม กระบวนการวิจัยเชิงลึก และการร่วมมือกับผู้คนในชุมชนท้องถิ่นตลอดวงจรผลิตภัณฑ์ ถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความมั่นใจในกระบวนการที่มีความรับผิดชอบและคำนึงถึงผู้ใช้มากขึ้น

โหมดการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่ได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตร อย่างเช่นในอินโดนีเซีย ทีมงานของ Google ร่วมมือกับกลุ่มคนขับของ Gojek บริษัทที่ให้บริการเรียกรถและส่งของรายใหญ่ของประเทศ ทำให้ได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเมืองของพวกเขา รวมทั้งเรียนรู้ถึงความต้องการในชีวิตประจำวัน และคุณค่าของชุมชน ตัวอย่างเช่น พวกเขาจะพึ่งพาซึ่งกันและกันเมื่อหลงทาง หรือเมื่ออุปกรณ์ทำงานติดขัด นอกจากนี้กลุ่มคนขับเหล่านี้ยังมีส่วนช่วยในขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราโดยการทดสอบคุณภาพของเส้นทางและจุดสังเกตต่างๆ รวมถึงความแม่นยำของเวลาที่จะถึงจุดหมายปลายทาง วิธีนี้ช่วยให้เราสามารถระบุถนนที่ไม่เหมาะกับรถจักรยานยนต์ หรือแสดงจุดสังเกตเพิ่มเติมที่ไม่มีอยู่ในแผนที่ได้อย่างรวดเร็ว