AMD

AMD เผยกลยุทธ์ขับเคลื่อนการเติบโตธุรกิจ ในอุตสาหกรรมแบบอะแดปทีฟ (Adaptive)

AMD เผยกลยุทธ์ขับเคลื่อนการเติบโตธุรกิจในอนาคตมูลค่า 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ในอุตสาหกรรมการประมวลผลประสิทธิภาพสูงและแบบอะแดปทีฟ (Adaptive)

AMD เปิดเผยกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนการเติบโตธุรกิจในอนาคต ภายในงาน Financial Analyst Day โดยได้รับแรงหนุนจากกลุ่มผลิตภัณฑ์การประมวลผลประสิทธิภาพสูงและแบบอะแดปทีฟ (Adaptive) ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมตลาดดาต้าเซ็นเตอร์, embedded, ไคลเอนต์ และเกมมิ่ง 

ดร.ลิซ่า ซู ประธานและซีอีโอ บริษัท AMD กล่าวว่า “เทคโนโลยีการประมวลผลประสิทธิภาพสูงและแบบอะแดปทีฟของ AMD มีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการเข้าไปกำหนดประสิทธิภาพการบริการและผลิตภัณฑ์ด้านต่าง ๆ ตั้งแต่บนระบบคลาวด์และคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงการสื่อสารและเอ็นด์พอยท์อัจฉริยะ เพื่อกำหนดอนาคตเทคโนโลยีด้านการประมวลผลในปัจจุบัน การบรรลุข้อตกลงซื้อบริษัท Xilinx เป็นการเปลี่ยนแปลงและขยายความเป็นผู้นำกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านการประมวลผลของเรา ทำให้ AMD มีโอกาสในการเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ที่แข็งแกร่ง พร้อมด้วยผลตอบแทนจากผู้ถือหุ้นที่ยอดเยี่ยม อีกทั้งยังได้ส่วนแบ่งที่มากขึ้นในตลาดเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์การประมวลผลประสิทธิภาพสูงและแบบอะแดปทีฟมูลค่า 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ” 

อัปเดตเทคโนโลยีและกลุ่มผลิตภัณฑ์

AMD ได้ประกาศแผนงานการขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์โปรเซสเซอร์ กราฟิกการ์ด และสถาปัตยกรรมการประมวลผลแบบอะแดปทีฟหลากหลายรุ่น ประกอบด้วยฟีเจอร์ใหม่ ๆ เช่น:

  • โปรเซสเซอร์คอร์สถาปัตยกรรม “Zen 4”คาดการณ์ว่าจะเข้ามาเพิ่มพลังให้กับโปรเซสเซอร์ประสิทธิภาพสูงกระบวนการผลิต 5nm x86 ตัวแรกของโลกที่จะเปิดตัวในช่วงปลายปีนี้ โดยคาดว่าจะเพิ่มค่า IPC ขึ้น 8 – 10%และให้ประสิทธิภาพต่อวัตต์เพิ่มขึ้นมากกว่า 25%และประสิทธิภาพการประมวลผลโดยรวมเพิ่มขึ้นถึง 35% เมื่อเปรียบเทียบกับสถาปัตยกรรม “Zen 3” ในการเรียกใช้แอปพลิเคชั่นบนเดสก์ท็อปคอมพิวเตอร์
  • โปรเซสเซอร์คอร์สถาปัตยกรรม “Zen 5” วางแผนเปิดตัวในปี 2567 ได้รับการออกแบบมาเพื่อส่งมอบประสิทธิภาพความเป็นผู้นำด้านประสิทธิภาพการประมวลผลบนเวิร์คโหลดและฟีเจอร์ที่หลากหลาย รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลในด้าน AI และแมชชีนเลิร์นนิ่ง
  • สถาปัตยกรรมเกมมิ่ง AMD RDNA 3 ที่ผสมผสานระหว่างการออกแบบชิปเล็ต เทคโนโลยี AMD Infinity Cache ยุคถัดไป เทคโนโลยีกระบวนการผลิต 5nm ระดับแนวหน้า และการพัฒนาในด้านอื่น ๆ เพื่อมอบประสิทธิภาพต่อวัตต์เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% เมื่อนำเทียบกับรุ่นก่อนหน้า
  • สถาปัตยกรรม 4th Gen Infinity Architecture ขยายแนวทางการออกแบบ SoC แบบโมดูลาร์ของ AMD ผ่านการเชื่อมต่อความเร็วสูง ช่วยให้สามารถผสานการทำงานทั้ง AMD IP และชิปเล็ตของพันธมิตรได้อย่างลื่นไหล นำเสนอโปรเซสเซอร์ด้านการประมวลผลประสิทธิภาพสูงและแบบอะแดปทีฟในอีกระดับ บนแพลตฟอร์มการประมวลผลที่แตกต่างกัน
  • สถาปัตยกรรม AMD CDNA 3 ผสานรวมชิปเล็ต 5nm, สแต็ก 3 มิติ, สถาปัตยกรรม 4th Gen Infinity Architecture, เทคโนโลยี AMD Infinity Cache รุ่นถัดไป และหน่วยความจำ HBM เข้ามาไว้ด้วยกัน พร้อมด้วยรูปแบบการเขียนโปรแกรมบนหน่วยความจำแบบรวมศูนย์ ผลิตภัณฑ์รุ่นแรกที่จะใช้ขุมพลังสถาปัตยกรรม AMD CDNA 3 คาดว่าจะเปิดตัวในปี 2566 และให้ประสิทธิภาพต่อวัตต์มากกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบกับสถาปัตยกรรม AMD CDNA 2 ในเวิร์คโหลดงานด้านการฝึกอบรม AI
  • AMD XDNA เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของ Xilinx ซึ่งภายในประกอบไปด้วยเทคโนโลยีชั้นนำ เช่น FPGA fabric และ AI Engine (AIE) โดยเทคโนโลยี FPGA fabric ผสมผสานการเชื่อมต่อระหว่างกันแบบอะแดปทีฟเข้ากับ FPGA logic และหน่วยความจำภายใน ในขณะที่ AIE เสนอสถาปัตยกรรมด้านกระแสข้อมูลที่ได้รับการพัฒนามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลและการประหยัดพลังงานด้าน AI และแอปพลิเคชั่นด้านการประมวลผลสัญญาณ โดย AMD วางแผนที่จะนำสถาปัตยกรรม AMD XDNA เข้ามาใช้ในผลิตภัณฑ์หลากหลายกลุ่มในอนาคต โดยเริ่มจากโปรเซสเซอร์ AMD Ryzen ที่จะเปิดตัวในปี 2566
AMD Adaptive

ขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์โซลูชั่นดาต้าเซ็นเตอร์

AMD เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ประสิทธิภาพสูงรุ่นถัดไป ทั้งในกลุ่มโปรเซสเซอร์, กราฟิกการ์ด, หน่วยประมวลผลข้อมูล (DPU) และเทคโนโลยีการประมวลผลแบบอะแดปทีฟ ซึ่งได้รับการพัฒนาให้มีความเหมาะสมสำหรับเวิร์คโหลดงานที่หลากหลาย ประกอบด้วย:

  • โปรเซสเซอร์ 4th Gen AMD EPYC ขุมพลังการประมวลผลบนคอร์ประมวลผลสถาปัตยกรรม “Zen 4” และ “Zen 4c”
    • “Genoa” ขับเคลื่อนขุมพลังการประมวลผลโดยสถาปัตยกรรม “Zen 4”: เตรียมพร้อมที่จะเปิดตัวในไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 ในฐานะเซิร์ฟเวอร์โปรเซสเซอร์สำหรับงานด้านประมวลผลทั่วไปที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เสนอประสิทธิภาพในการทำงานบนภาษาโปรแกรม Java ระดับองค์กร สูงสุดถึง 75% เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพสูงสุดบนโปรเซสเซอร์ 3rd Gen EPYC
    • “Bergamo” ขับเคลื่อนขุมพลังการประมวลผลโดยสถาปัตยกรรม “Zen 4c”: คาดการณ์ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์โปรเซสเซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดสำหรับการประมวลผลบนระบบคลาวด์เนทีฟ ด้วยความหนาแน่นของคอนเทนเนอร์ที่มากกว่าโปรเซสเซอร์ 3rd Gen EPYC ถึง 2 เท่า มีแผนว่าจะเปิดตัวได้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566
    • “Genoa-X” ขับเคลื่อนขุมพลังการประมวลผลโดยสถาปัตยกรรม “Zen 4”: ได้รับการพัฒนามาสำหรับโปรเซสเซอร์ 4th Gen EPYC มาพร้อมด้วยเทคโนโลยี AMD 3D V-Cache เสนอความเป็นผู้นำด้านประสิทธิภาพในระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (relational database) และเวิร์คโหลดการประมวลผลทางเทคนิค
    • “Siena” ขับเคลื่อนขุมพลังการประมวลผลโดยสถาปัตยกรรม “Zen 4”: โปรเซสเซอร์ AMD EPYC ตัวแรกที่ได้รับการพัฒนามาสำหรับงานด้าน intelligent edge และการสื่อสารที่ต้องการความหนาแน่นที่มากขึ้นในการประมวลผลบนแพลตฟอร์มที่มีต้นทุนและปริมาณการใช้พลังงานที่เหมาะสม
  • กราฟิกการ์ด AMD Instinct MI300 กราฟิกการ์ดสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ตัวแรกของโลก ได้รับการคาดการณ์ว่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านการฝึกอบรม AI ขึ้นถึง 8 เท่า เมื่อเทียบกับกราฟิกการ์ด AMD Instinct MI200 โดยกราฟิกการ์ด MI300 ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการออกแบบชิปเล็ต 3D อันล้ำสมัย ผสานเข้ากับสถาปัตยกรรมกราฟิก AMD CDNA 3, โปรเซส   เซอร์คอร์ “Zen 4”, แคชหน่วยความจำ, และชิปเล็ต HBM ที่ออกแบบมาเพื่อการเป็นผู้นำด้านแบนด์วิดธ์หน่วยความจำและเวลาแฝงบนแอปพลิเคชั่น สำหรับเวิร์คโหลดงานด้านการฝึกอบรม AI และการประมวลผลประสิทธิภาพสูง (HPC)
  • หน่วยประมวลผลข้อมูล AMD Pensando (DPU) ที่ผสานสแต็คซอฟต์แวร์เข้ากับ “การรักษาความปลอดภัยแบบ zero trust” และโปรเซสเซอร์ชั้นนำของอุตสาหกรรม เพื่อสร้าง DPU ที่มีความชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลก และมีการใช้งานในลูกค้าระดับองค์กรและบนระบบคลาวด์
  • Alveo SmartNICs มีการนำไปใช้งานโดยลูกค้ากลุ่มไฮเปอร์สเกลเพื่อเร่งการทำงานเวิร์คโหลดและขยายประสิทธิภาพการประมวลผลที่สำคัญไปที่อินเทอร์เฟซเครือข่าย

มุ่งสู่ความเป็นผู้นำด้าน AI ที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย

AMD อยู่ในตำแหน่งที่มีเอกลักษณ์ ด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและประสบการณ์การให้บริการในตลาดกลุ่มเทคโนโลยี embedded เพื่อช่วยลูกค้าในการพัฒนาและปรับใช้แอปพลิเคชั่นด้วยเทคโนโลยี AI หลายรูปแบบ

การเข้าซื้อ Xilinx ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้ AMD มีเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ล้ำสมัย โดยผสานรวมเทคโนโลยี Xilinx AI Engine (AIE) เข้ากันกับผลิตภัณฑ์โปรเซสเซอร์ AMD Ryzen, AMD EPYC และ Xilinx Versal สำหรับโมเดลงาน AI ขนาดเล็กและขนาดกลางเพื่อเป็นส่วนประกอบของกราฟิกการ์ด AMD Instinct และ Soc อะแดปทีฟ ในยุดถัดไป มอบความเป็นผู้นำด้านประสิทธิภาพการฝึกอบรมในขนาดและเวิร์คโหลดที่หลากหลาย

เพื่อผสานเครื่องมือด้านการเขียนโปรแกรม AI เข้าไว้ด้วยกัน AMD ได้ประกาศแผนงานด้านซอฟต์แวร์ Unified AI หลายรูปแบบ เพื่อช่วยให้นักพัฒนาด้าน AI สามารถเขียนโปรแกรมบนกลุ่มผลิตภัณฑ์ CPU, GPU และ Adaptive SoC จากเฟรมเวิร์คแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) ผ่านชุดเครื่องมือและการเตรียมความพร้อมของโมเดลให้เหมาะสมที่สุด

ขยายความเป็นผู้นำกลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์

AMD แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ทั่วโลก มีการกระชับความร่วมมือกับ OEM และขับเคลื่อนการเติบโตทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องในกลุ่มตลาดระดับพรีเมียม เกม และเชิงพาณิชย์ โดยยังได้แสดงตัวอย่างแผนงานของลูกค้าในอนาคต ประกอบด้วย:

  • โมบายโปรเซสเซอร์ “Phoenix Point” ที่คาดการณ์ว่าจะเปิดตัวในปี 2566 ซึ่งจะรวมสถาปัตยกรรมหลัก AMD “Zen 4” เข้าไว้ด้วยกันกับสถาปัตยกรรมกราฟิก AMD RDNA 3 และเทคโนโลยี AIE นอกจากนี้ยังมีโปรเซสเซอร์ “Strix Point” ที่คาดว่าจะเปิดตัวในปี 2567 นวัตกรรมบนโมบายโปรเซสเซอร์ “Phoenix Point” ประกอบด้วย ตัวเร่งอนุมานเทคโนโลยี AIE, หน่วยประมวลผลสัญญาณภาพ, การแสดงผลขั้นสูงสำหรับการรีเฟรชและตอบสนอง, สถาปัตยกรรมชิปเล็ต AMD และการจัดการพลังงานขั้นสูง
  • เดสก์ท็อปโปรเซสเซอร์ AMD Ryzen 7000 Series ขุมพลังสถาปัตยกรรม “Zen 4” มอบความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่เพิ่มขึ้นและประสิทธิภาพการทำงานในรูปแบบซิงเกิลเธรดและมัลติเธรดที่ดียิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับโปรเซสเซอร์ AMD Ryzen 6000 Series นอกจากนี้ยังมีโปรเซส เซอร์โค้ดเนม “Granite Ridge” ที่ใช้สถาปัตยกรรม “Zen 5” อีกด้วย

ขับเคลื่อนการพัฒนาด้านกราฟิก

AMD ประกาศการพัฒนาผลิตภัณฑ์รุ่นล่าสุดที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อนำเสนอประสิทธิภาพในโซลูชั่นด้านกราฟิกให้กับลูกค้าทั่วโลก ประกอบด้วย:

  • ผลิตภัณฑ์ “Navi 3x” คาดการณ์ว่าจะเปิดตัวปลายปีนี้ สร้างขึ้นสถาปัตยกรรมเกมมิ่ง AMD RDNA 3 รุ่นถัดไป
  • เกมบนแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์มากกว่า 50 เกมที่จะเปิดตัวในปี 2565 ยกระดับประสบการณ์การเล่นเกมไปอีกระดับ ทั้งในด้านประสิทธิภาพและการแสดงผล จากการผสานการทำงานระหว่างกราฟิกการ์ด AMD Radeon RX Series และโปรเซสเซอร์ AMD Ryzen 
  • AMD ขยายความเป็นผู้นำด้านการเล่นเกมบนเครื่องเกมคอนโซลด้วยการรองรับการเล่นบนเครื่องแฮนด์เฮลด์ Steam Deck ของ Valve ซึ่งใช้ขุมพลังการประมวลผลบนสถาปัตยกรรม AMD “Zen 2” และสถาปัตยกรรมเกมมิ่ง AMD RDNA 2
  • โอกาสใหม่ ๆ ในการเติบโตทางธุรกิจในปี 2565 และในอนาคต รวมถึงการเสนอเทคโนโลยีด้านกราฟิกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองแอปพลิเคชั่นด้านเมตาเวิร์สยุคถัดไป ตั้งแต่การสร้างเนื้อหารูปแบบ 3 มิติ นอกเหนือไปจากเกมและภาพยนตร์ ไปจนถึงการเล่นเกมบนระบบคลาวด์และเทคโนโลยีการตอบสนองภายในสภาพแวดล้อมยุคเมตาเวิร์ส

การรายงานทางการเงินในกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่

เริ่มต้นด้วยผลประกอบการในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 โดย AMD กำลังปรับเปลี่ยนการรายงานทางการเงินในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สอดคล้อกับกลยุทธ์การทำตลาด:

  • ดาต้าเซ็นเตอร์: ประกอบด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์โปรเซสเซอร์, กราฟิกการ์ดสำหรับงานด้านดาต้าเซ็นเตอร์, และสัดส่วนรายได้ของ Xilinx ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านดาต้าเซ็นเตอร์
  • Embedded: ประกอบด้วยธุรกิจกลุ่มเทคโนโลยี embedded ของ Xilinx และ AMD
  • ไคลเอนด์: ประกอบด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊กสำหรับธุรกิจ
  • เกมมิ่ง: ประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจเกมมิ่งกราฟิกการ์ดและธุรกิจเครื่องเกมเกมคอนโซล

ก้าวหน้าไปด้วยกัน

เพื่อเติมเต็มการพัฒนาด้านกลยุทธ์ในตลาดผู้บริโภคและสร้างความเป็นผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ AMD ยังแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการครั้งใหม่ของแบรนด์ ด้วยแบรนด์เพลตฟอร์มใหม่ “together we advance” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจร่วมกันระหว่างพันธมิตร ลูกค้า และพนักงาน AMD กำลังพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการด้านโซลูชั่นที่มีความท้าทายมากที่สุดในโลก โดยแคมเปญใหม่นี้เป็นแคมเปญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของ AMD ซึ่งคุณจะได้เห็นว่าการเดินหน้าของ AMD นั้นมีความโดดเด่นด้านการสื่อสารมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยี AMD ที่กำลังแพร่หลายนั้นเข้าไปขับเคลื่อนในตลาดสำคัญ ที่มีความหลากหลาย และกำลังเติบโตได้อย่างไร