นักวิทยาศาสตร์คิดค้นแว่นตาอินฟราเรดช่วยนำทาง ช่วยให้คนตาบอดเดินได้ โดยไม่ต้องใช้ไม้เท้านำทาง

เป็นอีกหนึ่งข่าวดีและความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ เมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นประดิษฐ์อุปกรณ์ใหม่ เป็นแว่นตาที่ใช้เทคโนโลยีอินฟาเรดช่วยนำทาง เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยให้คนตาบอดรับรู้สภาพแวดล้อมรอบตัว และเดินโดยไม่ต้องใช้ไม้เท้านำทาง

Manuel Zahn และ Armaghan Ahmad Khan จาก Technical University of Munich ประเทศเยอรมนีได้เผยแพร่งานวิจัยใหม่ที่ยังไม่มีการตรวจสอบเกี่ยวกับกล้องสามมิติและปลอกแขนตอบรับแบบสัมผัส (haptic feedback armband)

ในยุคปัจจุบัน ผู้พิการทางสายตายังคงต้องเผชิญกับความท้าทายในการนำทางอย่างต่อเนื่อง และเครื่องมือที่พบบ่อยที่สุดก็คือ ไม้เท้า

ทั้งคู่เขียนเอาไว้ในงานวิจัยดังกล่าว

ถึงแม้ไม้เท้าจะช่วยในการตรวจจับวัตถุที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับผู้ใช้ได้ดี แต่มันก็ยังขาดความสามารถในการตรวจจับสิ่งกีดขวางที่อยู่ห่างไกลออกไป

New Device Blind can see in Infrared

Zahn ใช้การออกแบบกล้องอินฟราเรด 2 ตัวที่ใส่ไว้ในแว่นตาต้นแบบที่พิมพ์สามมิติขึ้นมาเพื่อจับภาพสามมิติ โดยคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กจะทำการสร้างแผนที่ของบริเวณโดยรอบ และเนื่องจากมันใช้อินฟราเรด แว่นตาจึงทำงานได้แม้อยู่ในความมืด

ส่วนปลอกแขน มีการตั้งค่าโดยใช้ตัวกระตุ้น 25 ตัวในกริดที่สั่นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจว่ามีวัตถุอยู่ใกล้แค่ไหน รวมถึงทิศทางของวัตถุด้วย หากผู้ใช้เดินเข้าไปใกล้สิ่งกีดขวาง ความรุนแรงของการสั่นของตัวกระตุ้นจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น

ในการทดสอบ มันสามารถให้ความแม่นยำแก่อาสามสมัครที่เข้าร่วมทดลองได้ถึง 98% ในการนำทางตามเส้นทางที่ได้จัดวางสิ่งกีดขวางไว้ตามจุดต่างๆ มีผู้เข้าร่วมทดสอบ 5 คนสามารถเลี้ยวผ่านสิ่งกีดขวางได้สำเร็จในการทดสอบครั้งแรก หลังจากทดสอบไป 3 รอบ ผู้เข้าร่วมทดสอบทุกคนสามารถปรับปรุงและผ่านสิ่งกีดขวางได้เร็วขึ้นกว่ารอบก่อนๆ

New Device Blind can see in Infrared

ในเอกสารงานวิจัยของ Zahn และ Khan มีการระบุว่าใช้ Kinect ของ ​Microsoft ซึ่งมีระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวที่เพิ่มฟีเจอร์ต่างๆ ให้กับเกม Xbox เป็นอุปกรณ์อ้างอิง ทั้งคู่มั่นใจว่ากล้อง ปลอกแขน และอุปกรณ์ต่างๆ จะสามารถทำให้มีขนาดเล็กลงได้อีก ไม่โดดเด่นจนเป็นที่จับตามอง และทำให้มีราคาถูกได้กว่า Kinect หากต้องมีการผลิตจริง

แนวคิดของงานวิจัยดังกล่าวจึงมีความน่าสนใจมาก หากได้ผลออกมาเป็นที่ยอมรับและทำให้เกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีความสามารถในการมองเห็นเลือนลาง หรือผู้พิการทางสายตา

ที่มา : THE INDEPENDENT | 3D Printing Industry | TECHXPLORE