NTT DATA

NTT DATA เผยธุรกิจทั่วโลกใช้ Data-Driven Marketing อาวุธลับยุคดิจิทัล

NTT DATA เผยธุรกิจทั่วโลกใช้ Data-Driven Marketing อาวุธลับยุคดิจิทัล แนะ 5 บริการสร้างขุมทรัพย์ข้อมูลยกการตลาดทรงศักยภาพ

บริษัท เอ็นทีที เดต้า (ประเทศไทยภายใต้เครือบริษัท เอ็นทีที เดต้า คอร์ปอเรชัน จำกัด ชี้ธุรกิจทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับ Data-Driven Marketing  เครื่องมือการตลาดยุคดิจิทัล ช่วยเสนอสินค้าและบริการได้ตรงใจผู้บริโภคยุคใหม่  พร้อมเปิด 4 เทรนด์สำคัญในโลก Data Marketing  เกิดการลงทุน MarTech มากขึ้น  มีความต้องการจัดเก็บและใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ เน้นความสมดุลของความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยด้านข้อมูลของลูกค้า แนะ 5 บริการเพื่อการวางกลยุทธ์ เลือกเครื่องมือสร้างขุมทรัพย์ข้อมูลปลดล็อกอุปสรรคนำไปสู่การก้าวสู่สุดยอดข้อมูลเพื่อการตลาด ย้ำกลุ่มธุรกิจชั้นนำหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุน Data และ AI โดย 1 ใน 3 ผู้นำในแต่ละอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญด้านข้อมูลสามารถทำกำไรได้สูงขึ้น

นายฮิโรนาริ โทมิโอกะ ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็นทีที เดต้า (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ภาคธุรกิจทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยหันมาให้ความสำคัญกับการจัดเก็บและบริหารข้อมูลเพื่อการตลาดมากขึ้น หากกล่าวถึงเทรนด์ของ Data-Driven Marketing ในปี 2022 นี้ NTT DATA เล็งเห็นถึงการเติบโตและความสำคัญของเครื่องมือ MarTech (Marketing Technology) โดยเฉพาะเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า (Customer Experience) แบ่งออกเป็น 4 เทรนด์ได้แก่

  1. Marketing Technology Tool  (Martech Tool) คือเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ด้านกิจกรรมทางการตลาด ทั้งนี้เพื่อการจัดการแคมเปญทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ สื่อสารกับลูกค้าได้หลากหลายรูปแบบ และมีการวัดผลที่แม่นยำ  อาทิ Marketing Analytics, Cloud/Data Integration Platform,  Business/Customer Data Visualization Technologies ,Advertising Technology, Visitor Identification Software, Content Marketing Tools, SEO tool, CRM, Customer Data Platform (CDP), Marketing Automation และ Marketing Cloud Suite เป็นต้น จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ CDP, Analytics tool ต่างๆ และ marketing automation
  2. Real time data ข้อมูลใหม่แบบเรียลไทม์ หรือ ความสดใหม่ของข้อมูล เพื่อนำเสนอบริการ และเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ให้ตรงตามความต้องการแบบเฉพาะเจาะจงรายบุคคล(Personalized Content) หากไม่มีการอัพเดทข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลอาจไม่สะท้อนถึงพฤติกรรมเเละความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง กลยุทธ์ทางการตลาดอาจไม่ส่งผลได้อย่างชัดเจน
  3. Data Privacy ปัจจุบันประเทศไทยกำลังมี พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA กำกับดูแล เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายหรือการควบคุมสำหรับการรวบรวม, ใช้งาน, แบ่งปัน, จัดเก็บ และส่งข้อมูลต่างๆ ให้ชัดเจน เพื่อควบคุมดูแลข้อมูล และความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ทั้งยังเป็นการสร้างเกราะป้องกันความปลอดภัยข้อมูลได้อีกชั้นหนึ่ง
  4. Data Security การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การให้ผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงสามารถเข้าถึงได้เท่านั้น เพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลของลูกค้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ และวางแผนลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อปิดช่องโหว่ต่อความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า

ทั้งนี้ จากประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้ประกอบการไทยพบปัญหาและอุปสรรคสำคัญของการสร้าง Data-Driven Marketing ของธุรกิจไทยคือความรู้ความเข้าใจ และหากมองลึกในมุมของข้อมูลจะพบปัญหาด้านคุณภาพของข้อมูล เช่น เก็บข้อมูลไม่ครบ ข้อมูลซ้ำซ้อน เกิดปัญหาด้านการหาความสัมพันธ์ของข้อมูล

หรือมีข้อมูลมากเกินไป จนจมไปกับมหาสมุทรข้อมูลไม่รู้ว่าจะนำข้อมูลส่วนใดมาใช้ให้เกิดประโยชน์หรือมองไม่ออกว่าข้อมูลส่วนใดสำคัญกับธุรกิจ การก้าวข้ามอุปสรรคนี้ ธุรกิจจำเป็นต้องรู้ว่า Pain pointของธุรกิจคืออะไร เพื่อกำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายการใช้ข้อมูลของธุรกิจ นำมาซึ่งสินค้าและบริการที่ตรงใจลูกค้ามากขึ้น ช่วยลดต้นทุนการขายและการตลาด จนนำไปสู่จุดหมายปลายทางของการสร้างรายได้และผลกำไรให้ธุรกิจอย่างยั่งยืน

โดย NTT DATA Thailand ได้ออกแบบบริการด้าน Data-Driven Marketing ไว้ 5 กลุ่มบริการ ครอบคลุมทุกมิติตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ เริ่มต้นด้วยการเข้าไปให้คำปรึกษาถึงกระบวนการดำเนินการ และดูแลปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง อันได้แก่ 

  1. Marketing Strategy เข้าไปศึกษาลูกค้าในทุกมิติของธุรกิจ รวมถึงคู่แข่ง ประเมินธุรกิจพร้อมทั้งวางกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการธุรกิจอย่างแท้จริง ส่งเสริมให้ลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นจากการใช้สินค้าและบริการ
  2. Martech Solutions ให้คำปรึกษา เลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับกลยุทธ์และเป้าหมายของธุรกิจด้านการตลาด ด้วยการประเมินความต้องการของธุรกิจ เพื่อแนะนำเครื่องมือรวมไปถึงการเลือกผู้จำหน่ายหรือผู้ขายเครื่องมือที่เหมาะสมมากที่สุด 
  3. Experience Design บริการโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการออกเเบบUX(User Experience) เเละ UI (User Interface) ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์ของเเบรนด์ สอดคล้องกับเเผนกลยุทธ์การตลาดที่วางไว้ 
  4. Tech Implementation บริการออกเเบบ พัฒนาระบบเเละเเพลตฟอร์ม เพื่อสร้างเครือข่ายได้อย่างไร้รอยต่อ พร้อมบริการดูเเลและบำรุงรักษาในระยะยาว ให้คำปรึกษาภายหลังพัฒนาเสร็จสิ้น 
  5. Business/ Marketing Data Analysis การวิเคราะห์ข้อมูล หรือการหาความสัมพันธ์ของข้อมูลเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการขายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโดยเฉพาะ  
NTT DATA Data Marketing 

นายฮิโรนาริ ทิ้งท้ายว่า จากการศึกษาองค์กรธุรกิจต่างๆ NTT DATA พบว่า องค์กรต่างให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาประสบการณ์อันดีของลูกค้า (Customer Experience) คิดเป็นสัดส่วนถึง 48% โดย 39%นำไปขับเคลื่อนนวัตกรรมสินค้า 37%นำข้อมูลไปใช้ในการคิดโมเดลธุรกิจใหม่ 36%ใช้เพื่อนำไปขับเคลื่อนรายได้ช่องทางใหม่ๆ 31% นำข้อมูลไปใช้เพื่อบุกตลาด ทั้งนี้ 79% ขององค์กรเข้าใจถึงคุณค่าของข้อมูลเเละมองว่าเป็นกุญเเจสำคัญของการสร้างกลยุทธ์ โดยมีโควิด-19 เป็นบททดสอบที่สำคัญของความจำเป็นในการพึ่ง Data ของธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจสามารถตั้งรับเเละสั่งการได้อย่างทันท่วงที รองรับความต้องการของลูกค้าบนวิถีชีวิตใหม่เช่น การให้บริการแบบไร้สัมผัส (Contactless Experience) และอ้างอิงจาก Harvard Business Review พบว่าธุรกิจที่ใช้ Data-Driven Marketing จะมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากกว่า โดย 99% ของบริษัท Fortune top 1,000  ได้ลงทุนไปกับ data และ AI ข้อมูลอิงจากสถิติของ Mckinsey ระบุว่าองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย Customer Analytics อย่างแท้จริง จะทำให้ผลประกอบการแซงหน้าคู่แข่งได้ จากความสามารถเพิ่มลูกค้าใหม่ได้ถึง 23 เท่า เพิ่มความสามารถในการรักษาฐานลูกค้าเดิมได้ถึง 6 เท่า และสามารถทำกำไรได้สูงกว่า 19 เท่า เมื่อเทียบกับการที่ไม่ได้ใช้ data มาเป็นตัวขับเคลื่อน โดยจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างธุรกิจกลุ่มที่นำ data มาใช้ขับเคลื่อนเป็นกลุ่มแรกๆ (Leader)ทิ้งห่างจากกลุ่มล้าหลัง(Laggard) ค่อนข้างมากและจะยิ่งห่างมากขึ้นเรื่อยๆ NTT DATA ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการข้อมูล เห็นว่า องค์กรต่างๆ ควรให้ความสำคัญกับรับฟังความเห็นของลูกค้ามากขึ้นและนำความเห็นนั้น แปลงเป็นข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจ วางกลยุทธ์ทางธุรกิจ การสร้างประสบการณ์ใหม่ๆใหแก่ลูกค้า ด้วยการเปลี่ยนสิ่งที่ไม่รู้จักให้กลายเป็นพรมแดนใหม่เพิ่มมูลค่าการตลาดและธรุกิจ