Dyson เผยข้อมูล คุณภาพอากาศ กรุงเทพฯ ปริมาณฝุ่น PM2.5 ช่วงหมอกควันหนา มากกว่าช่วงปกติถึง 9 เท่า

Dyson จัดทำโครงการสำรวจและวัดค่ามลพิษ ที่บุคคลได้รับในการใช้ชีวิตใน กรุงเทพฯ ตั้งแต่การเดินทางไปทำงานจนไปถึงนั่งพักผ่อนอยู่ภายในอาคาร พบว่า คุณภาพอากาศ ปริมาณมลภาวะ อย่าง ฝุ่น PM2.5 ที่บุคคลได้รับเพิ่มสูงขึ้นในช่วงหมอกควันหนาแม้จะอยู่ภายในบ้าน

โครงการนี้ได้จัดทำขึ้นในหลายเมืองทั่วโลกรวมถึงกรุงเทพมหานคร โดยได้คุณหนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ คุณพ่อและดิจิทัลครีเอเตอร์ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร มาร่วมกระตุ้นการตระหนักรู้ในเรื่องสภาพมลภาวะทางอากาศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการระยะยาวของ Dyson ในการให้ความรู้แก่คนทั่วไปเกี่ยวกับคุณภาพของอากาศรวมถึงสนับสนุนให้ทุกคนหันมาดูแลและควบคุมการสัมผัสกับมลภาวะของตนเอง

“ทีมวิศวกรของเราได้พัฒนาเซนเซอร์อัจฉริยะขึ้นมาจากประสบการณ์และการวิจัยอย่างหนักหน่วงและยาวนานในด้านเทคโนโลยีเพื่ออากาศที่สะอาด และด้วยอัลกอริทึมที่จะมาช่วยประมวลข้อมูลมลภาวะที่ตรวจจับได้ เทคโนโลยีอันนี้ทำให้เราสามารถตรวจสอบคุณภาพอากาศได้ทั้งภายในอาคาร นอกอาคาร หรือแม้แต่ขณะกำลังเดินทาง และที่น่าทึ่งไปกว่านั้นคือทั้งหมดนี้สามารถติดตั้งอยู่ในกระเป๋าเป้”

อเล็กซ์ น็อกซ์, รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์เครื่องกรองอากาศของ Dyson

ในระหว่างการสำรวจคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานคร คุณหนุ่ย พงศ์สุข สะพายกระเป๋า Dyson Air Quality Backpack ใน 2 ช่วงเวลา ช่วงแรกระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม ปี 2563 และอีกครั้งในเดือนมกราคมปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงฝุ่น PM2.5 หนาแน่นในกรุงเทพมหานคร โดยทั้งสองช่วงได้ใช้ชีวิตโดยมีพฤติกรรมเหมือนกันเพื่อนำมาเปรียบเทียบคุณภาพอากาศที่ได้รับ

คุณหนุ่ย พงศ์สุข ได้กล่าวเกี่ยวกับการร่วมงานกับ Dyson ไว้ว่า “กรุงเทพมหานครจะเผชิญกับฝุ่นและหมอกควันในช่วงหน้าหนาวของทุกๆ ปี โดยที่ค่ามลพิษในอากาศสามารถเพิ่มสูงเกินระดับปลอดภัยไปได้มากถึง 2 เท่า ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ในฐานะของพ่อที่มีลูกสาวสองคนที่ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้งมากๆ ความสำคัญของคุณภาพอากาศที่ครอบครัวผมหายใจเข้าไปทำให้ผมตัดสินใจร่วมโปรเจกต์นี้กับ Dyson ครับ”

Dyson Air Quality Backpack เก็บข้อมูล คุณภาพอากาศ กรุงเทพฯ

เป็นการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์ในเครื่องฟอกอากาศของ Dyson มาพัฒนาและติดตั้งในกระเป๋าเป้ที่พกพาง่าย ทำให้สามารถวัดค่าคุณภาพอากาศได้ในขณะเดินทาง เพียบพร้อมด้วยแผงเซนเซอร์ แบตเตอรี่ และ ระบบ GPS โดยหวังว่าเทคโนโลยีนี้จะทำให้ได้ข้อมูลเรื่องการสัมผัสต่อมลภาวะในอากาศของแต่ละบุคคลและนำไปสู่วิธีการหลีกเลี่ยงการสัมผัสดังกล่าว

ทีมวิศวกรของ Dyson ได้ประมวลผลข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์ และระบบ GPS จากกระเป๋ารวมถึงบันทึกประจำวันของคุณหนุ่ย ที่บันทึกกิจกรรมในแต่ละวันที่สะพายกระเป๋าตรวจวัดคุณภาพอากาศนี้ ซึ่งจะทำให้รู้ว่ากิจกรรมไหนส่งผลต่อคุณภาพของอากาศที่ได้รับและจะมีวิธีการหลีกเลี่ยงอย่างไรได้บ้าง 

ผลการวัดค่า คุณภาพอากาศ ใน กรุงเทพฯ

จากการเปรียบเทียบ คุณภาพอากาศ ของ กรุงเทพฯ ในสองช่วง ค่าฝุ่น PM2.5 ในอากาศในช่วงที่ 2 ที่เป็นช่วงฝุ่นหนาวัดค่าได้มากกว่าถึง 9 เท่า โดยในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงเดือนที่มีอากาศเย็นที่ฝุ่นควัน PM2.5 หนาแน่น ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากหลายปัจจัย ทั้งไอเสียจากยานยนต์ สภาพอากาศ ควันจากโซนอุตสาหกรรม รวมไปถึงควันจากกิจกรรมทางการเกษตร

โดยในช่วงนี้ Dyson Air Quality Backpack สามารถวัดค่า PM2.5 ระหว่างที่คุณหนุ่ยลงจากรถและเดินทางเข้าอาคารได้ว่าระดับฝุ่น PM2.5 พุ่งสูงขึ้นถึง 3.8 เท่า เทียบกับในรถยนต์ โดยสาเหตุมาจากการเผชิญกับระดับฝุ่นในสถานที่กลางแจ้งในช่วงฝุ่นหนาแน่น

คุณภาพอากาศ กรุงเทพฯ PM2.5

นอกจากนั้น กิจกรรมในแต่ละวันยังส่งผลต่อการเพิ่มของค่ามลภาวะในอากาศด้วย ตัวอย่างเช่นการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ทำให้ค่า ไนโตรเจนไดออกไซด์ NOสูงถึง 200 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าปกติถึง 50 เท่า ซึ่งถือเป็นคุณภาพอากาศในระดับ แย่มาก เมื่อเทียบกับดัชนีวัดค่าคุณภาพอากาศของ Dyson โดยสาเหตุการเกิดไนโตรเจนไดออกไซด์อาจจะมาจากไอเสียจากยานยนต์

และถึงแม้ขณะที่ขับรถยนต์อยู่ภายในห้องโดยสาร ก็ยังสามารถวัดค่า PM2.5 และสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compound: VOCs) ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยสาเหตุมาจากการเบรกรถยนต์และการสึกของยางรถยนต์ที่ถึงแม้จะอยู่ภายในห้องโดยสารก็ยังสามารถสัมผัสกับมลภาวะจากทางนี้ได้

โดยปกติแล้วคุณภาพอากาศภายนอกอาคารจะส่งผลต่ออากาศภายในอาคาร แต่ในบางกรณีสาเหตุจากมลภาวะก็มาจากภายในอาคารได้เช่นกัน โดยจากการวัดค่าด้วยกระเป๋า Dyson Air Quality Backpack ของคุณหนุ่ย พงศ์สุข พบค่าฝุ่น PM2.5 ในอากาศแม้จะอยู่ในบ้าน ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการทำอาหาร หรือแม้แต่การไหลเวียนของอากาศที่ทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย รวมไปถึงเมื่อเปิดประตูหรือหน้าต่างทำให้อากาศภายนอกซึ่งมีฝุ่น PM2.5 ไหลเข้ามาในบ้าน

แม้ในช่วงนอนหลับ ค่ามลภาวะในอากาศก็ยังคงที่อยู่ที่ 30 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและไม่ได้ลดลงในช่วง 10 ชั่วโมง ซึ่งสูงกว่าระดับปลอดภัยตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ถึงสองเท่า ซึ่งสาเหตุเกิดจากการไหลเวียนของอากาศที่น้อยเกินไปทำให้มลภาวะเกิดการสะสมภายในบ้าน

ข้อมูลจากเครื่องกรองอากาศภายในอาคารใน กรุงเทพ

คุณภาพอากาศ กรุงเทพฯ PM2.5

ข้อมูลจากเครื่องกรองอากาศแสดงให้เห็นค่าเฉลี่ยของระดับ PM2.5 ภายในอาคารในช่วงหมอกควันหนาสูงขึ้นถึงสองเท่า เมื่อเทียบกับช่วงที่ไม่มีหมอกควัน ซึ่งตรงกับการตรวจวัดค่าด้วย Dyson Air Quality Backpack  ซึ่งทำให้เห็นค่าคุณภาพอากาศที่เปลี่ยนจากระดับ “ดี” ในช่วงแรก เป็นระดับ “ปกติ” ในช่วงที่สอง

Dyson Air Quality Backpack

  • กระเป๋าเป้วัดค่าคุณภาพอากาศริเริ่มพัฒนาโดยทีมวิศวกรของ Dyson ในการวิจัยที่ชื่อ Breathe London ที่ร่วมมือกับ Kings College London และ Greater London Authority
  • การวิจัยเข้าร่วมโดยนักเรียนจำนวน 258 คนจาก 5 โรงเรียนในกรุงลอนดอน เพื่อวัดค่ามลพิษของชนิด ได้แก่ PM2.5 และไนโตรเจนไดออกไซด์ระหว่างทำกิจกรรมที่โรงเรียน
  • จากผลการวิจัย ทำให้นักเรียน 31% กล่าวว่าจะเปลี่ยนวิธีการเดินทางไป-กลับโรงเรียนเพื่อลดการสัมผัสกับมลพิษในอากาศ

เทคโนโลยีจาก Dyson

  • เครื่องกรองอากาศของ Dyson ใช้เซนเซอร์ที่สามารถตรวจจับอนุภาค ไนโตรเจนไดออกไซด์ และ VOCs ในการตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในห้อง โดยมีอัลกอริธึ่มที่ทำให้เครื่องกรองอากาศดักจับมาลพิษในอากาศและปล่อยอากาศบริสุทธิ์ไปทั่วบ้าน โดยสามารถตรวจจับและรายงานได้ทั้ง PM2.5, PM10, VOCs, และ NO2
  • ภายใน Dyson Air Quality Backpack ติดตั้งด้วยเซนเซอร์ 3 ตัวที่ทำหน้าที่ต่างกัน โดยตัวที่หนึ่งทำหน้าที่วัดอุณหภูมิและความชื้นในอากาศ ตัวที่สงอคือเซนเซอร์ก๊าซที่ตรวจจับ NO2 และ VOCs และตัวสุดท้ายใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ในการตรวจจับ PM2.5 และ PM10
คุณภาพอากาศ กรุงเทพฯ PM2.5

สารมลพิษที่พบได้ทั่วไปในเมือง

  • PM2.5 – อนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน รวมไปถึงควัน แบคทีเรีย และฝุ่นละออง
  • PM10 – อนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน เช่นละออง ฝุ่น สะเก็ดผิวหนังจากสัตว์เลี้ยง และเกสรจากพืช
  • ไนโตรเจน ไดออกไซด์ (NO2) – ก๊าซอันตรายที่เกิดจากการเผาไหม้จากเครื่องยนต์ ควันบุหรี่ เทียน และเตาแก๊ส
  • ซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ (SO2) – ก๊าซที่เกิดจากอุตสาหกรรมและการไอเสียรถยนต์
  • สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) – ก๊าซที่เกิดได้จากหลายแหล่ง เช่นสี น้ำยาเคลือบเงา สเปรย์ทำความสะอาด และสเปรย์ปรับอากาศ โดย VOCs เหล่านี้รวมไปถึงฟอร์มัลดีไฮด์ สารระเหยเบนซิน และเครื่องหอมภายในบ้าน

ข้อแนะนำในการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับมลพิษในอากาศ

พื้นที่สาธารณะ

  • เช็คพยากรณ์สถาพอากาศในพื้นที่ที่คุณจะเดินทางและหลีกเลี่ยงการเผชิญกับมลภาวะในอากาศกลางแจ้ง
  • หากมีสถานการณ์มลภาวะในอากาศ เช่นหมอกควันในช่วงหน้าหนาว หลีกเลี่ยงการออกนอกตัวอาคาร และปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด และใช้เครื่องกรองอากาศเพื่อลดมลพิษในอากาศ

ระหว่างการเดินทาง

  • เลือกเส้นทางที่การจราจรไม่หนาแน่นเพื่อลดการสัมผัสจากมลพิษที่เกิดจากยานยนต์
  • หากเดินทางในสภาพการจราจรที่หนาแน่น ปิดหน้าต่างรถยนต์ให้มิดชิด และหากมีระบบไหลเวียนอากาศภายในห้องโดยสาร ให้กดใช้เพื่อลดการนำอากาศจากภายนอกเข้ามาในห้องโดยสาร
คุณภาพอากาศ กรุงเทพฯ PM2.5

มลภาวะภายในอาคาร

  • ลดสาเหตุที่ทำให้เกิดมลภาวะเช่นเทียนหอมหรือสเปรย์ทำความสะอาดในครัวเรือน
  • หากอากาศภายนอกไม่มีมลภาวะ เปิดหน้าต่างเพื่อช่วยในการไหลเวียนของอากาศ แต่หากอากาศภายนอกมีมลภาวะให้ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด
  • ใช้เครื่องกรองอากาศเพื่อลดฝุ่นละออกและก๊าซไม่พึงประสงค์ภายในบ้าน

การทำอาหารภายในบ้าน

  • วิธีการประกอบอาหาร แต่เวลาที่ใช้ส่งผลต่อการสะสมของมลพิษในอากาศ
  • วางเครื่องกรองอากาศไว้บริเวณใกล้ห้องครัวเพื่อดักจับมลพิษที่เกิดจากการประกอบอาหารได้ดีขึ้น