Microchip

รูปแบบใหม่ในการพัฒนาความปลอดภัยของเครื่องใช้ภายในบ้าน

แนวทางรูปแบบใหม่ในการพัฒนาความปลอดภัยของเครื่องใช้ภายในบ้าน ให้คุณได้ใช้งานง่ายอย่างถูกวิธี โดย: แชด โซโลมอน (Chad Solomon) บริษัทไมโครชิพ เทคโนโลยี

เครื่องใช้จำนวนมากจะช่วยทำให้การทำกิจกรรมภายในบ้านในทุก ๆ วันหรือบางครั้งบางคราวง่ายยิ่งขึ้น อีกครั้งยังช่วยทำให้ผู้ใช้งานสามารถทำกิจกรรมเหล่านั้นได้อย่างสม่ำเสมอโดยมีความเครียดน้อยที่สุด เป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมเป็นอย่างมากหากเครื่องใช้ภายในบ้านของคุณทำงานได้อย่างถูกต้อง แต่กระนั้นหากเครื่องใช้ภายในบ้านบางอย่างเกิดความขัดข้อง มันก็อาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยและสร้างปัญหาใหญ่ให้กับเราได้ ซึ่งนั่นรวมไปถึงการเกิดอัคคีภัย ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้แน่ใจว่าเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้รับการออกแบบให้มีความปลอดภัย คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์ (International Electrotechnical Commission – IEC) 

จึงได้จัดทำมาตรฐาน IEC 60730 Class B standard เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของเครื่องใช้ขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบในเชิงเครื่องจักรกลและไฟฟ้าที่ได้รับการรองรับจาก ‘ห้องปฏิบัติการรับประกัน’ หรือ Underwriters’ Laboratories  โดยจะมีการออกแบบวงจรเบ็ดเสร็จ (Integrated Circuit) แบบหน้าจอสัมผัสที่มีระบบความปลอดภัยเชิงการทำงานภายในตัวซึ่งได้รับการรับรองว่าถูกต้องตามมาตรฐานข้างต้นขึ้น เพื่อที่จะส่งมอบประสบการณ์ในการใช้งานเตาหุงต้ม เตาไฟ เครื่องซักผ้า และอุปกรณ์ชนิดอื่น ๆ ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น

การป้องกันปัญหาร้ายแรงของเครื่องใช้

รายงานวิจัยของสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ หรือ National Fire Prevention Association (NFPA) ซึ่งเป็นองค์กรนานาชาติที่ไม่แสวงหาผลกำไร ชี้ว่าเหตุอัคคีภัยอันเกิดจากการทำอาหารภายในบ้านที่ได้รับรายงานกว่า 62% นั้นเชื่อมโยงกับการใช้งานเตาหุงต้มหรือเตาไฟ นอกจากนี้รายงานยังระบุอย่างเฉพาะเจาะจงอีกว่า “การทำอาหารโดยที่ผู้ทำมิได้เฝ้าเตาไฟอยู่ตลอดเวลานั้น คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอัคคีภัยและอุบัติเหตุจากการทำอาหาร”

มากไปกว่านั้นงานวิจัยจาก NFPA ยังได้อธิบายอีกว่านับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 – 2017 การใช้งานเตาหุงต้มหรือเตาไฟคือสาเหตุสำคัญ (46%) ของการเสียชีวิตอันเกิดจากอุปกรณ์ทำอาหาร แหล่งข้อมูลอีกแห่งหนึ่งจากหน่วยงานดับเพลิงแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ U.S. Fire Administration (USFA) ซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งของหน่วยงานจัดการเหตุฉุกเฉินของรัฐบาลกลาง หรือ Federal Emergency Management Agency (FEMA) ประจำฝ่ายความปลอดภัยของภูมิลำเนา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รายงานข้อมูลที่ใหม่กว่าจากปี ค.ศ. 2018 (แค่ในประเทศสหรัฐอเมริกา) ทว่าการทำอาหารก็ยังคงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอัคคีภัยภายในที่อยู่อาศัย

การทำอาหารคือสาเหตุสำคัญของการเกิดอัคคีภัยภายในอาคารที่อยู่อาศัยซึ่งส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บภายในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2018 แหล่งที่มา: U.S. Fire Administration

ตั้งแต่ที่ได้มีการจัดตั้งระบบรายงานเหตุการณ์อัคคีภัยแห่งชาติ หรือ National Fire Incident Reporting System (NFIRS) จากหน่วยงานดับเพลิงแห่งสหรัฐอเมริกา (USFA) ในปี ค.ศ. 1999 ปรากฏว่าเหตุการณ์อัคคีภัยจากการทำอาหารภายในบ้านก็ได้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง แม้ว่าจะมีการสร้างความก้าวหน้าทางเทคนิคที่สำคัญขึ้นภายในพื้นที่อื่น ๆ อีกมากมายก็ตาม เป็นที่ชัดเจนว่าการคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยในการใช้เตาหุงต้มและเตาไฟควรจะเป็นเป้าหมายหนึ่งของผู้ผลิตเครื่องใช้ เพื่อที่จะช่วยลดจำนวนเหตุการณ์เหล่านี้ ดูข้อมูลในแถบข้าง

กฎระเบียบด้านความปลอดภัยสำหรับความปลอดภัยเชิงการทำงานของเครื่องใช้ (แถบข้าง)

จากที่ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดทำระบบความปลอดภัยภายในเครื่องใช้ จึงทำให้คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์ (IEC) ได้คิดค้น IEC 60730-1 ขึ้นมา ซึ่งจะใช้การควบคุมไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ “สำหรับการใช้ภายใน บน หรือที่เชื่อมโยงกับอุปกรณ์สำหรับครัวเรือนและการใช้งานในทำนองเดียวกัน” ในช่วงที่ปล่อยออกมาในช่วงแรก ๆ ภายในปี ค.ศ. 1986 ก็ได้มีการทำการอัพเกรดและแก้ไขเอกสารดังกล่าวเป็นบางครั้งบางคราว ซึ่งครั้งล่าสุดคือเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2020 โดย ‘ห้องปฏิบัติการรับประกัน’ (UL) ก็ได้ประทับตราอนุญาตให้กับมาตรฐานนี้เช่นกัน

สาเหตุในการจัดทำระบบความปลอดภัยเชิงการทำงานก็คือ อิเล็กทรอนิกส์และระบบเครื่องกลนั้นไม่สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดได้ และด้วยเหตุที่ไม่สามารถทำการออกแบบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดใด ๆ เลยได้ ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดรองลงมาก็คือการทำให้แน่ใจว่าเมื่อเกิดข้อผิดพลาดแล้ว ข้อผิดพลาดเหล่านั้นก็ปราศจากความอันตราย ระดับความปลอดภัยจำนวน 3 แบบ จำแนกออกเป็น IEC/UL 60730  ระดับ Class A สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่จำเป็นจะต้องพึ่งพาการใช้ระบบความปลอดภัย และระดับ Class C สำหรับผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นจะต้องป้องกันความอันตรายพิเศษ

ทั้งนี้กึ่งกลางระหว่างทั้งสองระดับข้างต้น คือ IEC/UL 60730 ระดับ Class B หรือเรียกง่าย ๆ ว่า Class B ซึ่งประกอบด้วยเครื่องใช้ภายในบ้านชนิดหลัก เช่น หม้อหุงข้าว/เตา เครื่องซักผ้า เครื่องปั่นผ้าแห้ง เครื่องล้างจาน ตู้เย็น และตู้แช่ โดย Class B จะมีการใช้ซอฟต์แวร์และฟังก์ชั่นควบคุมที่จะช่วยป้องกันความอันตรายหากอุปกรณ์เกิดข้อผิดพลาด ซึ่งอุปกรณ์จะใช้ระบบตัดไฟตามความร้อน การล็อคฝาอัตโนมัติ และฟังก์ชั่นการทำงานอื่น ๆ ที่จะหยุดการทำงานของอุปกรณ์ทำอาหารและเครื่องซักผ้าในกรณีที่เกิดสภาวะไม่ปลอดภัย ปัจจุบันในประเทศสหรัฐเอมริกาและทวีปยุโรปนั้น มาตรฐานรับรองระดับ Class B เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับอุปกรณ์ทำอาหารทุกชนิดที่มีระบบการทำความสะอาดตัวเองอัตโนมัติ รวมถึงเครื่องซักผ้าอันมีการควบคุมที่เชื่อมโยงกับกลไกการล็อคฝาอัตโนมัติ

แนวทางความปลอดภัยของอุปกรณ์เครื่องใช้ในปัจจุบัน

วิธีการด้านความปลอดภัยในอดีตนั้นจะใช้ ‘ไมโครคอนโทรลเลอร์’ (MCU) ที่เชื่อมต่อประสานกับปุ่ม ตัวเลื่อน และล้อ เพื่อที่จะขจัดข้อกังวลในการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ทั้งในครัวและในห้องซักรีด ไม่ว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะเป็นแบบเครื่องจักรกล (Mechanical) หรือเป็นแบบสัมผัสระบบตัวเก็บประจุ (Capacitive) ก็ตาม ไมโครคอนโทรลเลอร์จะมีคลังซอฟต์แวร์ที่จะช่วยดูแลความปลอดภัยและสภาพของปุ่มสัมผัสระบบตัวเก็บประจุ ในปัจจุบันอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ จะใช้หน้าจอสัมผัสระบบตัวเก็บประจุซึ่งมีปุ่มสัมผัสระบบตัวเก็บประจุแยกที่ควบคุมโดยตัวไมโครคอนโทรลเลอร์แยกและมีคลังความปลอดภัยอยู่ภายใน เพื่อที่จะให้สอดคล้องกับมาตรฐานดังกล่าวเหล่านี้

ปุ่มบางปุ่มที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของส่วนต่อประสานผู้ใช้งาน (User Interface) คือสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเปิดใช้การทำงานที่ปลอดภัยของเครื่องใช้ และเพื่อป้องกันความอันตรายต่าง ๆ เช่น อัคคีภัยภายในบ้าน เช่น อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับทำอาหารที่มีระบบการทำความสะอาดตัวเองอัตโนมัติซึ่งถูกส่งไปยังประเทศสหรัฐเอมริกาและทวีปยุโรปนั้น จำเป็นจะต้องรองรับโหมดการทำความสะอาดตัวเองแบบสัมผัสสองครั้งเพื่อเปิดและสัมผัสหนึ่งครั้งเพื่อปิด สิ่งสำคัญที่จำเป็นจะต้องบันทึกเอาไว้ก็คือ เตาอบที่อยู่ในช่วงการปฏิบัติการระบบการทำความสะอาดตัวเองสามารถมีอุณหภูมิที่สูงจนเป็นอันตรายถึง 900oF (500oC) ได้ อาหารหรือของที่อยู่ภายในเตาอบอาจติดไฟได้ในระหว่างโหมดนี้

ดังนั้น IEC/UL 60730 Class B จึงมีกฎให้อุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีฟีเจอร์การทำงานนี้ จำเป็นจะต้องรองรับโหมดการทำความสะอาดตัวเองแบบสัมผัสสองครั้งเพื่อเปิดและสัมผัสหนึ่งครั้งเพื่อปิด ซึ่งเหตุผลของข้อกำหนดนี้ก็คือการสัมผัสสองครั้งเพื่อเปิดโหมดการทำความสะอาดตัวเองจะถูกใช้เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้งานเช็คซ้ำสองครั้งว่า โหมดการทำความสะอาดตัวเองจะสามารถเริ่มต้นทำงานได้อย่างปลอดภัย โดยการสัมผัสหนึ่งครั้งเพื่อปิดจะถูกนำมาใช้เพื่อปิดโหมดทำความสะอาดตัวเองด้วยปุ่มหยุดหรือปุ่มยกเลิก เช่น ในกรณีที่หลังจากผู้ใช้ได้กลิ่นควัน การดำเนินการอย่างปลอดภัยของปุ่มหยุดมีความสำคัญสำหรับความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ผลลัพธ์ก็คือปุ่มดังกล่าวจะต้องทำงานได้อย่างน่าไว้วางใจและถูกต้องในทุกสภาพแวดล้อม ผู้ใช้งานสามารถหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดอัคคีภัยได้โดยการหยุดโหมดทำความสะอาดตัวเองให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้โดยไม่จำเป็นจะต้องสัมผัสหลายครั้ง

การควบคุมดูแลอุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ระบบอนาล็อกเดี่ยวนั้นสามารถทำได้อย่างค่อนข้างตรงไปตรงมาและง่ายด้วยตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ (Peripheral) จะควบคุมปุ่มบางปุ่มที่ส่งสัญญาณร่วมกัน โดยอุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องจะสามารถสแกนปุ่มได้หลายปุ่ม ถึงแม้ว่าการทำงานรูปแบบนี้จะถูกจัดทำขึ้นภายในไมโครคอนโทรลเลอร์ ทว่าผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้เองก็ยังคงจำเป็นจะต้องลงมือทำและรับผิดชอบในการพัฒนาและดัดแปลงฟังก์ชั่นการทำงานเชิงความปลอดภัย

แนวทางความปลอดภัยของอุปกรณ์เครื่องใช้รูปแบบใหม่

ถึงแม้ว่าระบบความปลอดภัยเชิงการทำงานจะถูกจัดทำขึ้นเอาไว้ในอุปกรณ์เครื่องใช้มานานกว่าหลายปีแล้ว ทว่าก็ยังมีทางเลือกในการตอบสนองความต้องการในปัจจุบันโดยการนำหลักการด้านความปลอดภัยแบบดั้งเดิมมาปรับใช้กับหน้าจอสัมผัสแบบทันสมัยเช่นกัน เนื่องจากหน้าจอสัมผัสจะถูกนำมาประยุกต์ใช้และอัพเกรด นี่จึงเป็นวิธีการที่ยอดเยี่ยมในการออกแบบภายในมาตรฐานการรับรองระดับ Class B

อุปกรณ์ ATMXT336UD-MAUHA1 maXTouch Controller Family ที่มีฟีเจอร์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบความปลอดภัยแบบพิเศษ จะช่วยขจัดความจำเป็นในการใช้ปุ่มแยก ดังนั้นผู้ใช้งานจะสามารถหยุดการทำงานได้ด้วยปุ่มลักษณะ “เบา” ที่อยู่ในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งบนหน้าจอสัมผัส ถึงแม้ว่าการขจัดความจำเป็นในการใช้ปุ่ม การลดราคาค่าใช้จ่าย และการรักษาฟีเจอร์การทำงานที่จำเป็นเอาไว้ จะเป็นสิ่งจูงใจที่เพียงพอสำหรับผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ ทว่าผู้ผลิตเองก็ควรจะคำนึงถึงการทำให้หน้าจอสัมผัสอันเรียบง่ายดังกล่าวมีความน่าดึงดูดสำหรับผู้ใช้งานมากขึ้นเช่นกัน แนวทางเชิงบูรณาการนี้ไม่ได้มีความซับซ้อนและสามารถใช้งานได้ง่ายกว่า อีกทั้งยังมีความสะดวกสบายมากขึ้นเนื่องจากมันช่วยกำจัดความยุ่งยากและลดราคาค่าใช้จ่ายของปุ่มแบบแยก ซึ่งบางทีสิ่งที่สำคัญมากกว่านั้นก็คือฟังก์ชั่นการปิดใช้งานนั้นสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามภาษาธรรมชาติสากลของผู้ใช้งาน

 ผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้สามารถอนุญาตให้ผู้ใช้งานเลือกภาษาที่พวกเขาถนัดมากที่สุดเพื่อใช้ฟังก์ชั่นหยุดทำงานได้
โดยการใส่ฟังก์ชั่นหยุดทำงานฉุกเฉินเอาไว้ที่หน้าจอสัมผัส
 

อุปกรณ์ตรวจจับควันได้เข้ามามีบทบาทในระบบความปลอดภัยภายในบ้านเมื่อช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา หน้าจอสัมผัสที่อยู่ในมาตรฐานความปลอดภัยเชิงการทำงานระดับ Class B นั้นสามารถแจ้งเตือนและดำเนินการได้เอง ซึ่งต่างจากอุปกรณ์ตรวจจับควัน หน้าจอสัมผัสในรูปแบบที่ว่านี้จะดำเนินการแบบเชิงรุกก่อนที่มันจะสัมผัสได้ถึงควันหรือบางสิ่งบางอย่างภายในสภาพแวดล้อมโดยไม่จำเป็นจะต้องได้รับปฏิกิริยาจากมนุษย์

ลองมาดูตัวอย่างเกี่ยวกับข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยที่หน้าจอสัมผัสมาตรฐาน Class B สามารถจัดการได้โดยไม่จำเป็นจะต้องขัดจังหวะการทำอาหารใด ๆ หากหม้อใบใหญ่บังเอิญหล่นลงมาจากเตาร้อนที่มีหัวเผาเชื้อเพลิงแม่เหล็กไฟฟ้านั้น โดยส่วนใหญ่แล้วแก้วลักษณะหนาจะป้องกันหัวเผาเชื้อเพลิงได้ ทว่าตัวเซนเซอร์สัมผัสที่มีฟิล์มบางตัวนำโปร่งใส อินเดียม ดีบุกออกไซด์ (ITO) ด้านล่างจะมีความเปราะบางมากกว่าและสามารถแตกหักได้ ซึ่งการแตกนี้อาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียในการทำงานแบบสัมผัสเฉพาะที่บริเวณบางส่วนของหน้าจอสัมผัส หรือถ้าแย่ไปกว่านั้นตัวเซนเซอร์ทุกส่วนก็อาจจะขัดข้องทั้งหมด

ตัวควบคุมที่มีมาตรฐาน Class B จะดูแลสภาพของตัวเซนเซอร์สัมผัสโดยอัตโนมัติตามเวลาจริง โดยในฉากหลังนั้นหากตัวเซนเซอร์ไม่สแกนการสัมผัส วงจรเบ็ดเสร็จ (IC) ก็จะสแกนตัวเซนเซอร์สัมผัสด้วยตัวเองและค้นหาข้อผิดพลาดในรูปแบบต่าง ๆ โดยทันทีที่ตรวจพบความผิดพลาดใด ๆ เช่น การแตกร้าวของเซนเซอร์หน้าจอสัมผัส ตัวควบคุมก็จะรายงานไปยังหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์โฮสต์ (CPU) เพื่อให้มันปิดการใช้งานหัวเผาเชื้อเพลิงโดยอัตโนมัติ เหล่านี้สามารถดำเนินการได้โดยไม่จำเป็นจะต้องได้รับปฏิกิริยาจากมนุษย์ในการดำเนินการด้วยความปลอดภัยแม้เกิดความขัดข้อง

แม้ว่าการทำงานในรูปแบบนี้จะเคยถูกนำมาใช้งานอยู่ก่อนแล้ว ทว่าตัวโฮสต์กลับจำเป็นจะต้องกระตุ้นและตรวจสอบวงจรเบ็ดเสร็จของหน้าจอสัมผัสเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันวงจรเบ็ดเสร็จสามารถดำเนินการในรูปแบบนี้ได้ด้วยตัวเองและแจ้งเตือนข้อความไปยังโฮสต์ได้ไม่ว่าปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ตาม พินของรูปแบบการสื่อสารข้อมูลพิเศษ I2C bus หรือพอร์ตอเนกประสงค์ (General-Purpose IO หรือ GPIO) บนวงจรเบ็ดเสร็จซึ่งเชื่อมโยงกับพินขัดข้องบนระบบ CPU โฮสต์จะทำการแจ้งเตือนให้เกิดการหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ ฟังก์ชั่นการทำงานด้านความปลอดภัยภายในตัวและแบบดำเนินการด้วยตัวเอง จะช่วย

จัดหาแนวทางในการป้องกันสภาวะต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่การเกิดอัคคีภัยภายในห้องครัว

ในการใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้โดยทั่วไปนั้น ตัวควบคุมหน้าจอสัมผัสมาตรฐาน
Class B จะสามารถต่อประสานกับ CPU โฮสต์ ได้อย่างง่ายดาย

ทั้งนี้จะต้องมีการทดสอบความปลอดภัยเชิงการทำงานต่าง ๆ มากมายด้วยวงจรเบ็ดเสร็จของหน้าจอสัมผัสเพื่อให้ผ่านการรับรองของมาตรฐาน Class B โดยการทดสอบที่สำคัญรูปแบบหนึ่งคือการทดสอบความจำ วงจรเบ็ดเสร็จหน้าจอสัมผัสจะมี RAM และหน่วยความจำแฟลช (Flash Memory) ในปริมาณน้อย ซึ่งเพียงพอต่อการดำเนินการทำงานที่มีความจำเป็น ระบบที่ปิดอยู่จะไม่ดำเนินการคำสั่งของลูกค้าในสภาพแวดล้อมแบบฝัง ซึ่งจะมีกฎเกณฑ์ที่จะกำหนดว่าการทดสอบความจำจำเป็นจะต้องดำเนินการถี่แค่ไหนเพื่อให้สอดคล้องกับการรับรองของมาตรฐาน Class B ตัวอย่างเช่น จะมีการดำเนินการทดสอบแบบ Walking 1s และ Walking 0s ในฉากหลังเป็นการทดสอบรูปแบบ เพื่อตรวจสอบความผิดพลาดของ RAM ในวงจรเบ็ดเสร็จ

การทดสอบแบบ Walking 1s สำหรับความจำแบบ 8 บิต จะทำการตรวจสอบแต่ละบิตตามลำดับ

กระบวนการนี้จะเริ่มต้นโดยการตรวจสอบความจำที่ไม่ได้ใช้งานของ RAM เพื่อระบุว่ามันอยู่ในสภาพที่ดีหรือไม่ เนื่องจากความจำที่มีจำนวนน้อยโดยส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยข้อมูลต่าง ๆ ดังนั้นส่วนของคำสั่งการใช้งานจึงถูกย้ายไปยังส่วนที่ได้รับการทดสอบเพื่อให้อีกส่วนหนึ่งไม่ถูกใช้งานและดำเนินการทดสอบได้ โดยกระบวนการนี้จะดำเนินงานต่อไปจนกระทั่ง RAM ได้รับการทดสอบทั้งหมด การสับเปลี่ยนคำสั่งการใช้งานในขณะที่ดำเนินการอยู่จะช่วยทำให้ความจำทั้งหมดได้รับการทดสอบตามลำดับ

การดำเนินการจัดการการทดสอบนี้เพียงลำพังนั้นเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก ซึ่งทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของวงจรเบ็ดเสร็จมาตรฐาน Class B ที่รายงานผลการสัมผัสแบบหลายนิ้วมือพร้อมกันตามเวลาจริง วงจรเบ็ดเสร็จจะรายงานการสัมผัสไปยังโฮสต์ในขณะที่ทำการทดสอบ RAM และเซนเซอร์ในฉากหลัง ซึ่งจะมีอัตราสูงกว่า 60 เฮิร์ตซ์ (HZ) 60 ครั้งต่อวินาที การทดสอบในรูปแบบที่คล้ายคลึงกันนี้จะถูกดำเนินการเพื่อทดสอบเซลล์ความจำเก็บข้อมูลคำสั่งโปรแกรมแฟลชแบบถาวร

หน่วยความจำ CPU รีจิสเตอร์ (Register) ภายในตัวควบคุมจำเป็นจะต้องได้รับการทดสอบเพื่อเช็คให้แน่ใจว่ามันกำลังดำเนินการอย่างถูกต้อง ซึ่งสามารถทำได้โดยการอ่านและบันทึกค่าในปัจจุบันของ CPU รีจิสเตอร์ และจัดเก็บข้อมูลในรีจิสเตอร์อื่นที่ไม่ได้กำลังถูกทดสอบ จากนั้น CPU รีจิสเตอร์ จะถูกเปิดและปิดเพื่อเช็คให้แน่ใจว่าการตั้งค่าใหม่ยังคงอยู่ หลังจากนั้นค่าเริ่มต้นก็จะถูกเรียกคืน วิธีการนี้จะช่วยตรวจเช็คเพื่อทำให้แน่ใจว่า CPU รีจิสเตอร์ สามารถตั้งค่าและรีเซ็ตตามค่าที่ถูกต้องได้อย่างเหมาะสม

การทดสอบนาฬิกาภายใน (Internal Clock Test) จะทดสอบว่านาฬิกากำลังดำเนินการอย่างถูกต้องหรือไม่ มีผังนาฬิกามากมายอยู่ภายในวงจรเบ็ดเสร็จ (IC) และการทดสอบจะช่วยยืนยันว่ามันถูกจัดแบ่งออกและดำเนินงานอย่างถูกต้อง แม้นี่จะไม่ใช่รายการทดสอบที่ละเอียดถี่ถ้วนมาก ทว่ามันจะช่วยทำให้เข้าใจถึงรูปแบบของการทดสอบที่ดำเนินการโดยวงจรเบ็ดเสร็จ

รูปแบบด้านความปลอดภัยของวงจรเบ็ดเสร็จใหม่อีกรูปแบบหนึ่งคือการที่การสื่อสารข้อมูลพิเศษ I2C bus นั้นมีการอัพเกรดการสื่อสารที่สำคัญระหว่างระบบ CPU โฮสต์ และตัวควบคุมการสัมผัส การสื่อสารข้อมูล I2C bus บนตัวควบคุมการสัมผัสจะใช้ประโยชน์จากกลไกสองแบบ เพื่อที่จะทำให้แน่ใจว่าความครบถ้วนของข้อมูลต่าง ๆ ถูกส่งไปและจากอุปกรณ์ โดยกลไกแรกจะใช้หมายเลขลำดับ นอกจากนี้นี่จะเป็นครั้งแรกที่มีการเพิ่มการตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนแบบวน (Cyclic Redundancy Check หรือ CRC) ลงใน bus เพื่อตรวจสอบว่าไม่ได้มีความเสียหายของข้อมูลเกิดขึ้น (ข้อผิดพลาดเล็กน้อย) เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องใช้อาจเป็นสภาพแวดล้อมทางไฟฟ้าที่มีเสียงดังได้

นี่จึงเป็นสิ่งที่ทำให้แน่ใจว่าพิกัดที่โฮสต์ได้รับนั้นมีความน่าเชื่อถือและไม่ได้เกิดข้อผิดพลาดในการส่ง นอกจากนั้นเนื่องจากหมายเลขลำดับจะถูกเพิ่มเติมลงในการสื่อสารข้อมูล I2C bus ทำให้ในปัจจุบันพิกัดจะถูกส่งไปยังโฮสต์ทุกครั้ง โดยโฮสต์จะสามารถระบุได้ว่ากลุ่มข้อมูลหรือกลุ่มข้อมูลต่าง ๆ หายไปหรือไม่ และจะสามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสม ด้วยการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตจึงทำให้โฮสต์สามารถถูกตั้งโปรแกรมให้แจ้งเตือนเกี่ยวกับปัญหาไปยังโทรศัพท์มือถือหรือนาฬิกาอัจฉริยะ (Smartwatch) ของผู้ใช้งานได้ แม้ผู้ใช้งานจะไม่ได้อยู่ที่บ้านก็ตาม

อย่างที่ได้ระบุเอาไว้ก่อนหน้านี้ว่าเมื่อมีการทดสอบความปลอดภัยตามมาตรฐานระดับ Class B นั้น ปัญญาแบบเสริมจะถูกเพิ่มลงไปยังตัวควบคุมการสัมผัสเพื่อให้เกิดการทำงานด้วยตัวเองในบางช่วงและการทำงานแบบการตรวจสอบเซนเซอร์ เพื่อให้สามารถควบคุมดูแลความครบถ้วนสมบูรณ์ของระบบสัมผัสย่อยได้ ฟีเจอร์การตรวจสอบแบบอัจฉริยะเหล่านี้รองรับผลลัพธ์สัญญาณอัตราการเต้นหัวใจแบบปรับได้ (“keep alive”) ซึ่งสามารถถูกส่งไปยังโฮสต์โดยใช้ตัวกระตุ้นผลลัพธ์ของพอร์ตอเนกประสงค์

รายการความปลอดภัยแบบสุดท้าย เนื่องด้วยความปลอดภัยเชิงการทำงานผ่านมาตรฐานของชิปความปลอดภัยของหน้าจอสัมผัสเรียบร้อยแล้ว กระบวนการตรวจรับรองระดับระบบของผู้ใช้งานจะมีความเรียงง่ายมากขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากซอฟต์แวร์เสริมนั้นไม่จำเป็นจะต้องถูกเขียนขึ้นใน CPU โฮสต์ เพื่อจัดการความปลอดภัยของหน้าจอสัมผัส โดยนี่ควรจะสร้างแรงจูงใจที่สำคัญให้กับผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ในการตรวจสอบและประยุกต์ใช้ความสามารถในรูปแบบใหม่นี้

ความปลอดภัยของห้องซักรีด

ตัวควบคุมหน้าจอสัมผัสมาตรฐานระดับ Class B สามารถจัดการกับสถานการณ์ด้านความปลอดภัยอื่น ๆ ที่อยู่ภายนอกห้องครัวได้ ตัวอย่างเช่น NFPA ชี้ว่าแผนกดับเพลิงแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาต้องจัดการกับเหตุการณ์อัคคีภัยภายในอาคารบ้านเรือนโดยเฉลี่ยนกว่า 15,970 เหตุการณ์โดยประมาณในแต่ละปี ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้เชื่อมโยงกับการใช้งานเครื่องอบผ้าหรือเครื่องซักผ้า ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ไฟไหม้เหล่านี้จะมีสาเหตุที่หลากหลาย ทว่าการออกแบบในด้านความปลอดภัยก็ควรจะช่วยลดจำนวนเหตุการณ์เหล่านี้ลงอย่างมีนัยสำคัญได้

ทั้งนี้ก็มีข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานระดับ Class B สำหรับเครื่องซักผ้าภายในห้องซักรีดเช่นกัน เครื่องซักผ้าที่มีเครื่องยนต์ความเร็วสูง โดยเฉพาะเครื่องซักผ้าแบบฝาหน้า จะมีกลไกการล็อคเพื่อทำให้ฝาไม่เปิดออกโดยบังเอิญในระหว่างที่เครื่องกำลังทำงาน กลไกการล็อคอัตโนมัตินี้คืออุปกรณ์เครื่องกลไฟฟ้าที่จะช่วยทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อเครื่องซักผ้าเปิดอยู่ ฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยก็จะเปิดใช้งานด้วย หากกลไกการล็อคถูกควบคุมโดยหน้าจอสัมผัส ปุ่มแยก ไมโครคอนโทรลเลอร์ และเซนเซอร์ก็จะถูกนำออก

ระบบแบบปลดล็อคฝาเครื่องด้วยมือจะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มหรือนำผ้าออกหลังจากที่เครื่องซักผ้าหรือเครื่องอบผ้าเริ่มทำงาน ทว่ามันก็จำเป็นจะต้องดำเนินการตามมาตรฐานความปลอดภัยเช่นกัน ปัจจุบันนี่เป็นกฎหมายข้อบังคับสำหรับอุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับซักผ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการรับรองจากมาตรฐานระดับ Class B ทางเลือกในรูปแบบใหม่จะรวบรวมทุกอย่างเอาไว้ในหน้าจอสัมผัส โดยจะใช้กับเครื่องซักผ้าและเครื่องอบผ้าที่มีการทำความร้อน นอกจากนี้ระบบภายในเครื่องซักผ้าแบบฝาหน้าจำเป็นจะต้องทำการระบายน้ำออกก่อนที่จะเปิดฝาเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะลักออก ผู้คนต่างคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยมากขึ้นเนื่องจากมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตพวกเขาที่สามารถควบคุมได้

ในบางพื้นที่นั้นสินค้าบางประเภทอาจจำเป็นจะต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐาน Class B โดยหากผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้สามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามข้อกำหนดดังกล่าวแล้ว พวกเขาก็จะสามารถค้าขายสินค้าที่มีการทำงาน/ความสามารถเหล่านั้นในแถบอื่น ๆ ของโลกได้ อีกทั้งยังสามารถโฆษณาฟังก์ชั่นการทำงานด้านความปลอดภัยแบบหน้าจอสัมผัสให้เป็นข้อได้เปรียบเชิงการแข่งขันของบริษัทตัวเองได้อีกด้วย ซึ่งได้รับการพิสูจน์มาแล้วในอดีตว่านี่คือแนวทางที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก วิธีการนี้จะเป็นการสร้างต้นแบบระดับโลกสำหรับทวีปยุโรป ประเทศสหรัฐอเมริกา และพื้นที่อื่น ๆ ที่เหลือในโลก เพราะฉะนั้นผู้ผลิตจึงจำเป็นจะต้องผลิตสินค้าที่ระดับมาตรฐานของอุปกรณ์เครื่องใช้ดังกล่าว

สู่การเป็นเครื่องใช้ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

รูปแบบและพัฒนาการของตัวควบคุมหน้าจอสัมผัสมาตรฐาน Class B ที่ริเริ่มจากลูกค้า ซึ่งเริ่มต้นมาจากผลลัพธ์ของบรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ชั้นนำนั้น ต้องใช้ชั่วโมงในการทำงานกว่าหลายต่อหลายปีในการแปรเปลี่ยนแนวคิดให้กลายเป็นความจริง โดยจำเป็นจะต้องนำคำติชมของลูกค้าในระหว่างกระบวนการทั้งหมดมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขสมรรถภาพระดับ Class B แน่นอนว่าฟีเจอร์การทำงานของเครื่องใช้คือสิ่งที่ผู้ผลิตต้องการจะส่งมอบให้กับลูกค้า และลูกค้าเองก็ต้องการที่จะได้รับอุปกรณ์เครื่องใช้ชั้นดี ทว่าก็มีผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้บางรายเช่นกันที่คำนึงถึงการออกแบบด้านความปลอดภัยตามมาตรฐานระดับ Class B ตั้งแต่เริ่มต้น เนื่องจากลูกค้าทุกคนคู่ควรที่จะได้รับความปลอดภัยในระดับสูงสุด

เมื่อผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้คุ้นเคยกับประสิทธิภาพในรูปแบบใหม่นี้ รวมถึงราคาที่ลดลงซึ่งเชื่อมโยงกัน อีกทั้งเครื่องใช้ยังได้รับการรับรองว่าเป็นไปไปตามมาตรฐานระดับ Class B พวกเขาก็อาจจะหันมาคำนึงถึงการนำเทคนิคต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับเครื่องจักร/เครื่องใช้ ซึ่งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพยายามสร้างความได้เปรียบทางการตลาดและสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์จากกลุ่มผู้ผลิตรายอื่นทั้งหมดเพื่อที่จะเป็นผู้ผลิตที่คำนึงถึงความปลอดภัยสำหรับลูกค้าผู้ซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัยเช่นกัน สำหรับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อประสานการทำงานกับมนุษย์อย่างปลอดภัยแล้วนั้น ตัวควบคุมหน้าจอสัมผัสมาตรฐาน Class B นับเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยสำหรับเตาอบ เตาไฟ เครื่องซักผ้า และเครื่องอบผ้า ตลอดจนเครื่องล้างจาน ตู้เย็น ไมโครเวฟ/กลุ่มเตาอบไฟฟ้า และแม้แต่ตู้ดูดควันเตาไฟ