HUAWEI

DISDA และ HUAWEI เปิดงานฝึกอบรม “การสร้างและพัฒนา Application”

สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล (DISDA) ภายใต้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัวหลักสูตร “การสร้างและพัฒนา Application” 

โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การสร้างและพัฒนา Application” นี้เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยการพัฒนาฝีมือแรงงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ระยะเวลาสามปี ระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและหัวเว่ย ซึ่งลงนามไปเมื่อเดือนตุลาคม 2563 เพื่อสร้างและจัดหาโอกาสการเรียนรู้ทางด้านดิจิทัล โดยหัวเว่ยพร้อมที่จะนำเทคโนโลยีชั้นนำมาเสริมแกร่งแรงงานด้านดิจิทัลของประเทศ ตั้งเป้าบ่มเพาะแรงงานทักษะดิจิทัล 3,000 คน และจัดอบรมคอร์สด้านไอซีทีให้แก่เจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจำนวน 120 คน

ทั้งนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานและหัวเว่ย ได้ร่วมกันจัดหลักสูตรอบรม “การพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับธุรกิจ” โดยมีผู้ประกอบการที่ผ่านการอบรมด้านเทคโนโลยีไอซีทีกว่า 100 คน โดยทั้งสองฝ่ายยังได้ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างทักษะดิจิทัลผ่านหลักสูตรใหม่ ๆ  อาทิเช่น หลักสูตรการสร้างและพัฒนา Application

หลักสูตรเร่งรัดระยะเวลา 48 ชั่วโมง จัดขึ้นทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ระหว่างวันที่ 5 – 27 มิถุนายน นี้ จะถ่ายทอดความรู้ในการสร้าง พัฒนา และปรับแต่งแอปพลิเคชัน บนระบบปฏิบัติการทั้ง Android และ  Huawei App Gallery โดยแต่ละครั้งจะใช้ระยะเวลา 6 ชั่วโมง และจะครอบคลุมเนื้อหาทักษะและโซลูชันใหม่ ๆ ที่จำเป็น เพื่อให้ก้าวทันการใช้งานโมบายดีไวซ์ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น การถ่ายทอดองค์ความรู้และความชื่นชอบจะช่วยสร้างรากฐานอันแข็งแกร่งให้กับบุคลากรด้านดิจิทัล เพื่อให้แน่ใจว่าประเทศไทยสามารถตอบโจทย์ความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

โปรแกรมนี้เปิดรับนักศึกษาด้านไอทีและนักพัฒนาที่มีความสนใจในการสร้างแอปพลิเคชันและความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลของประเทศ  คอร์สอบรมออนไลน์นี้ ซึ่งปรับรูปแบบการเรียนให้เหมาะกับช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะช่วยให้แน่ใจว่า เรามีบุคลากรไอทีที่มีทักษะที่กำลังเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง และช่วยให้ประเทศไทยก้าวสู่เป้าหมายของการเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หลักสูตรนี้จะมีทั้งการสอนเชิงทฤษฎี การเขียนแอปขั้นสูง การสาธิต และแนวทางปฏิบัติที่ดีในอุตสาหกรรม ตลอดจนคำแนะนำในการทำงานจากผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา และเทรนเนอร์ในอุตสาหกรรมทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

หลังจากจบหลักสูตรการพัฒนาแอปพลิเคชันระยะเวลา 4 สัปดาห์ตามเป้าหมาย ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรอย่างเป็นทางการจากสถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล  นอกจากนี้ ผู้ที่ผ่านการทดสอบทักษะที่จำเป็นของหัวเว่ย จะได้รับประกาศนียบัตรของหัวเว่ย ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากบริษัทต่างชาติหลายแห่ง รวมถึงโอกาสที่จะได้ร่วมการแข่งขัน Apps Up Contest 2021 ระดับโลกของหัวเว่ย เพื่อชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในระหว่างการกล่าวเปิดงาน ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ได้อธิบายถึงแนวคิด “สร้าง-ยก-ให้” ของรัฐบาล เพื่อพัฒนาแรงงานด้านดิจิทัลภายใต้กระทรวงแรงงาน “เราต้องการสร้างแรงงานให้มีทักษะมากขึ้น เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรม S-Curve  ยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และมอบโอกาสในการประกอบอาชีพ” ดร. นฤมล กล่าว “ดิฉันมั่นใจว่า คอร์สการฝึกอบรมออนไลน์นี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการช่วยสร้างและพัฒนาทักษะ ที่ผู้เข้าร่วมการอบรมทุกคนสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ และมีรายได้มากขึ้นในยุคนิวนอร์มอลที่หลาย ๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ต้องปรับตัว นี่เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการเตรียมแรงงานด้านไอทีของเราในการสนับสนุนการก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน”

นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร ของหัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับสถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัลและกระทรวงแรงงาน และต้องขอขอบคุณพันธมิตรต่าง ๆ ของเราเป็นอย่างยิ่งสำหรับความร่วมมือที่มีมายาวนาน”  ภายใต้พันธกิจ “Grow in Thailand, Contribute to Thailand”  หัวเว่ยมุ่งหวังที่จะสร้างบุคลากรใหม่ ๆ สำหรับอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ผ่านการทำงานร่วมกับภาครัฐและผู้ประกอบการด้านไอซีที ซึ่งจะช่วยสร้างรากฐานที่ยั่งยืนแข็งแกร่งให้กับตลาดแรงงานทักษะสูง อันจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศให้เป็นไปตามนโยบายประเทศไทย 4.0”

ในฐานะผู้ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานและสมาร์ทดีไวซ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างมั่นคงในประเทศไทยมายาวนานกว่า 22 ปี หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอนาคตดิจิทัลให้แก่ประเทศไทย ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 พร้อมมุ่งสู่การเป็นดิจิทัลฮับของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บริษัทตั้งใจสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมให้แก่ประเทศไทย ร่วมบ่มเพาะการพัฒนาแรงงานทักษะดิจิทัล ผ่านโครงการ หัวเว่ย อาเซียน อะแคเดมี (ประเทศไทย) ตั้งเป้าหมายพัฒนาแรงงานด้านไอทีซี 50,000 คนภายใน 5 ปี โดยเมื่อเดือนกันยายน 2563 หัวเว่ยได้เข้าร่วมมหกรรมการจัดหางาน Job Expo Thailand และรับสมัครงานราว 1,000 ตำแหน่งผ่านขั้นตอนการรับสมัครที่สะดวกรวดเร็ว มุ่งหวังช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ หัวเว่ย ประเทศไทย ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ “พีเอ็ม ดิจิทัล อวอร์ด 2020″ ประเภท “Digital International Corporation of the Year” นับเป็นเครื่องยืนยันการสนับสนุนอันทรงคุณค่า และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมไทยอย่างต่อเนื่องของหัวเว่ย โดยเป็นบริษัทต่างชาติเพียงรายเดียวที่ได้รับรางวัลนี้  ในโอกาสนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความยินดีแก่ผู้บริหารหัวเว่ย พร้อมขอให้บริษัทสานต่อพันธกิจในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้า