การศึกษาใหม่พบว่ามนุษย์อาจมีความสามารถทางพันธุกรรมในการพ่นพิษได้?!

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีวิวัฒนาการในการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสภาพความเป็นอยู่เพื่อความอยู่รอดของพวกมัน รวมถึงมนุษย์ด้วยเช่นกันที่มีวิวัฒนาการเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

มีคำถามจากกลุ่มนักวิจัยจากญี่ปุ่นและออสเตรเลียว่า มนุษย์จะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีพิษได้หรือไม่?

กลุ่มนักวิจัยต่างอธิบายว่าร่างกายมนุษย์มีระบบที่สามารถพัฒนาความสามารถดังกล่าวได้อยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่มีการศึกษาใดๆ รับประกันว่าเรื่องดังกล่าวจะเกิดขึ้นจริงได้

Agneesh Barua นักศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาพันธุศาสตร์วิวัฒนาการที่สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโอกินาวาในประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นผู้ร่วมตีพิมพ์งานวิจัยในเว็บ Proceeding of the Nation Academy of Sciences กล่าวว่า มนุษย์เรามีโครงสร้างพื้นฐานที่จะผลิตสารพิษในตัวอยู่แล้ว เพียงแต่นักวิจัยไม่ได้ทำการศึกษาถึงสารพิษที่ใช้ในการระบุสปีชีส์ที่เป็นพิษ แต่พวกเขาวิเคราะห์ Housekeeping Genes หรือ ยีนพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสารพิษแต่ไม่ได้รับผลกระทบจากสารพิษนั้น เช่น ยีนควบคุมพื้นฐานระบบพิษในสัตว์มีพิษต่างๆ

ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้วิเคราะห์จีโนมของงูฮาบุ (Trimeresurus mucrosquamatus) ซึ่งเป็นงูพิษสีน้ำตาลของไต้หวัน เพื่อดูว่ายีนตัวใดที่เกี่ยวข้องกับระบบพิษ และพบว่ายีนหลายตัวที่พบได้บ่อยๆ ในเนื้อเยื่อของน้ำคร่ำ หรือในสัตว์มีการปฏิสนธิภายใน หรือวางไข่ เช่น สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด พวกยีนเหล่านี้รวมถึงสิ่งที่เรียกว่าการม้วนพับโปรตีน (folding proteins) ทำให้การผลิตสารพิษนั้นเกี่ยวข้องกับการผลิต และการม้วนพับตัวของโปรตีน โดย Barua กล่าวว่าเนื้อเยื่อเหล่านี้นั้นต้องทำให้มั่นใจว่าโปรตีนที่ผลิตออกมานั้นมีคุณภาพสูง

ผู้เขียนยังพบว่ายีนพื้นฐานดังกล่าวพบได้มากในต่อมน้ำลายของมนุษย์ ซึ่งผลิตโปรตีนหลักของตัวเอง ในทางทฤษฎี มนุษย์นั้นสามารถผลิตสารพิษของตัวเองได้ หากเส้นทางวิวัฒนาการของมนุษย์นั้นไปถึงจุดที่จำเป็นต้องใช้พิษเพื่อเป็นกลไกในการโจมตี หรือการป้องกันตัว

รายงานยังอธิบายว่ามนุษย์และหนูผลิตคีย์โปรตีนเพื่อขับพิษในระบบพิษต่างๆ ที่เรียกว่า kallikreins ซึ่งเป็นโปรตีนที่สามารถย่อยสลายโปรตีนอื่นๆ และหลั่งออกมาในน้ำลาย นี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มนุษย์มีพิษ

นอกจากนี้ Bryan Fry นักชีวเคมีและผู้เชี่ยวชาญด้านพิษจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนในประเทศออสเตรเลียมองว่าการศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพันธุศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังการควบคุมพิษอาจเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการแพทย์สาขาต่างๆ เขายกตัวอย่างว่า ถ้าสมองของงูเห่าเริ่มแสดงยีนของต่อมพิษออกมา ตัวมันจะตายเพราะพิษของมันเอง การทำความเข้าใจระบบพิษและการควบคุมพิษอาจช่วยให้เรียนรู้เกี่ยวกับเซลส์มะเร็งว่ามันมีวิวัฒนาการอย่างไร และจะสามารถควบคุมการเจริญเติบโตของมันได้อย่างไรในอนาคต

Human capability to spit venom

อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตอย่างมนุษย์นั้นไม่จำเป็นต้องมีพิษ เพราะวิถีการดำรงชีวิตในช่วงหลายพันปีที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาทั้งเครื่องมือ และทักษะทางสังคมที่จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาสามารถเข้าถึงแหล่งอาหารได้ ไม่ว่าจะเป็นการล่าสัตว์ ไปจนถึงการปลูกพืช ผัก และเลี้ยงสัตว์ไว้กินเอง ด้วยเหตุนี้เอง มนุษย์จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีสารพิษในตัวเพื่อใช้เป็นอาวุธลับเพื่อทำลายภัยคุกคามที่จะมาถึงตัว

Live Science ยังอธิบายเพิ่มอีกว่า การผลิตและเก็บพิษเป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานอย่างมาก มันมีผลให้สัตว์บางชนิดมีความสามารถในการปล่อยพิษที่ลดลง เช่น งูทะเลที่มีต่อมพิษในตัวก็จริง แต่ไม่สามารถใช้งานได้ เพราะ พวกมันกินไข่ของปลามากกว่ากินปลาตัวใหญ่ๆ เป็นต้น

ที่มา : BGR