shopee

Shopee เผยคาดการณ์ 3 เทรนด์ใหญ่ในตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 2021

Shopee คาดการณ์ 3 เทรนด์ใหญ่ในตลาดอีคอมเมิร์ซประเทศไทยปี 2021 ในเรื่องการชำระเงิน โลจิสติกส์ และการก้าวสู่ความเป็นดิจิทัล ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบทั้งเชิงกว้างและเชิงลึกต่อธุรกิจออนไลน์และผู้บริโภค

มร. เทอเรนซ์ แพง ประธานฝ่ายปฎิบัติการ ช้อปปี้ กล่าวว่า “2020 เป็นปีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในโลกอีคอมเมิร์ซ ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม และอยู่บ้านมากขึ้น จึงหันมาใช้บริการออนไลน์ทั้งในการตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวัน และเพื่อมองหาความบันเทิงและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอีกด้วย สิ่งนี้ทำให้การช้อปปิ้งออนไลน์พัฒนาจากการเป็นพื้นที่ซื้อ-ขายเพื่อตอบสนองความจำเป็นไปสู่พื้นที่ในการสร้างประสบการณ์เชิงสังคม สู่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีส่วนสร้างการเชื่อมต่อและตอบโต้ระหว่างกันได้มากขึ้น เช่น การเล่นเกม หรือการไลฟ์สด เพื่อสื่อสารกับผู้ใช้งาน ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่พัฒนาไปอย่างมาก รวมถึงอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น และการเติบโตอย่างรวดเร็วของกลุ่มประชากรเยาวชนคนรุ่นใหม่และครอบครัวระดับกลางที่มีความถนัดและเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยี เราคาดการณ์ถึงการที่อีคอมเมิร์ซจะเข้ามามีบทบาทสำคัญ ในการใช้ชีวิต การติดต่อ และการดำเนินธุรกิจต่อไป”

จากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของอีคอมเมิร์ซ ช้อปปี้ได้คาดการณ์ 3 เทรนด์ใหญ่ในตลาดอีคอมเมิร์ซประเทศไทยปี 2021 

1. การชำระเงินในช่องทางดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น

การชำระเงินผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในอีคอมเมิร์ซ และเมื่อผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับอีคอมเมิรซ์มากขึ้น ส่งผลให้เกิดการชำระเงินแบบไร้เงินสดในโลกออฟไลน์ด้วยเช่นกัน ช้อปปี้ส่งมอบทางเลือกในการชำระเงินผ่านช่องทางดิจิทัลที่หลากหลายมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้งาน ด้วยบริการของ AirPay ซึ่งทำหน้าที่เป็นกระเป๋าสตางค์ดิจิทัล โดยในปี 2020 ช้อปปี้พบว่าในทั่วภูมิภาคมีคำสั่งซื้อที่ชำระเงินผ่านช่องทางกระเป๋าสตางค์ดิจิทัลของเราเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า โดยกลุ่มที่มีการใช้งานเพิ่มขึ้นสูงสุดในหลายประเทศทั่วภูมิภาคคือกลุ่มผู้ใช้ในช่วงอายุ 50 ปี ขึ้นไป สะท้อนให้เห็นว่า AirPay เป็นช่องทางการชำระเงินที่ใช้งานง่าย เพราะโดยปกติแล้วผู้ใช้งานในช่วงอายุดังกล่าวมักจะมีความกังวลต่อการปรับตัวให้เข้ากับการใช้งานในการชำระเงินผ่านช่องทางดิจิทัล

ด้วยนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมและผลักดันสังคมไทยให้มุ่งสู่การเป็นสังคมไร้เงินสดมาระยะหนึ่ง อีกทั้งผลกระทบของสถานการณ์ของโควิด-19 ในครั้งนี้ได้เร่งการเติบโตของโลกดิจิทัลในภูมิภาค โดยก่อนหน้านี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะชำระเงินโดยการใช้เงินสด แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดในเรื่องการเดินทางและการเว้นระยะห่างทางสังคม ส่งผลให้ผู้บริโภคและธุรกิจต่างๆ หันมาใช้ช่องทางการชำระเงินแบบดิจิทัลมากขึ้นเพราะช่วยเพิ่มความสะดวกและความปลอดภัย

เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัลของคนไทย AirPay ช่วยส่งเสริมศักยภาพของร้านค้า โดยหลังจากที่แนะนำฟีเจอร์ใหม่ที่เรียกว่า ‘Scan & Pay Vouchers’ พบว่าร้านค้าที่เข้าร่วมใช้ฟีเจอร์ มีจำนวนธุรกรรมการใช้งานเพิ่มขึ้นกว่า 9 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 3 เดือน

2. โลจิสติกส์เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญ

การบริการด้านโลจิสติกส์จะมีความสำคัญ สอดคล้องจากการที่ผู้บริโภคหันมาใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความคาดหวังต่อบริการการจัดส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และพบว่าความต้องการจับจ่ายสินค้ามีเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสินค้าในชีวิตประจำวันและของใช้ในครัวเรือน โดยในประเทศไทย ช้อปปี้มีการจัดส่งสินค้าเกี่ยวกับอาหารจากคลังสินค้าของช้อปปี้เพิ่มมากขึ้นเกือบ 4 เท่า แบรนด์ธุรกิจและผู้ขายต่างต้องการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อให้การจัดส่งสินค้าสามารถจัดส่งได้ตรงเวลาและมีประสิทธิภาพด้วยการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายการจัดส่งที่ผสานและเชื่อมต่อกับอีคอมเมิร์ซที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แบรนด์ธุรกิจและผู้ขายให้สามารถจัดส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ช้อปปี้ช่วยสนับสนุนและเปิดโอกาสให้แบรนด์ธุรกิจสามารถต่อยอดการเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยดูแลในขั้นตอนตั้งแต่การค้นหาสินค้าไปจนถึงการจัดส่ง รวมถึงการเสริมความแข็งแกร่งของ เครือข่ายโลจิสติกส์และคลังสินค้าในปี 2020 ช้อปปี้ เอ็กซ์เพรส (Shopee Express) ซึ่งเป็นบริการจัดส่งสินค้าด่วนของช้อปปี้ได้ขยายพื้นที่ขอบเขตการให้บริการครอบคลุมทั่วพื้นที่ต่างจังหวัดเพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้มากขึ้น ขณะเดียวกันช้อปปี้พบว่ามีแบรนด์ธุรกิจที่หันมาใช้บริการเครือข่ายโลจิสติกส์ของช้อปปี้เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยในปี 2020 มีการจัดส่งสินค้าของแบรนด์จากคลังสินค้าของช้อปปี้เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า

3. แบรนด์และผู้ขายต้องใช้กลยุทธ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัยกว่าเดิม

จากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ภาคธุรกิจต่างๆ ทั้งแบรนด์ธุรกิจพรีเมียมไปจนถึงธุรกิจขนาดเล็ก ต่างต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วในการใช้กลยุทธ์ดิจิทัลเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคในช่วงล็อคดาวน์ การซื้อขายออนไลน์เป็นช่องทางสร้างรายได้ที่สำคัญสำหรับแบรนด์ธุรกิจและผู้ขาย แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจึงต้องปรับตัวและร่วมมือกับแบรนด์ธุรกิจและผู้ขายในการคิดค้นกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัยเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้าในวิธีที่แตกต่าง รวมถึงทำแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นใน
โลกออนไลน์อีกด้วย 

ปัจจุบันนี้ ช้อปปี้ มอลล์ มีแบรนด์ชั้นนำที่เข้าร่วมกว่า 20,000 แบรนด์ทั้งจากในและต่างประเทศ เพื่อมอบทางเลือกที่หลากหลายและสร้างความมั่นใจด้วยสินค้าแท้จากแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันหรือสินค้าแบรนด์ระดับพรีเมียม ช้อปปี้ร่วมงานกับแบรนด์อย่างใกล้ชิดเพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดและสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ที่แตกต่างและตื่นเต้นกว่าที่เคย

ที่ผ่านมา ช้อปปี้ได้ร่วมมือกับพอนด์สในการนำเทคโนโลยีเอไอเพื่อความงามที่ชื่อว่า Skin Advisor Live มาใช้เพื่อเสริมประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ ทำให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์สภาพผิวของตนเองได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ และใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจซื้อสินค้าที่เหมาะกับสภาพผิวของตนเองได้ นอกจากนี้พอนด์สยังสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้นผ่านฟีเจอร์ต่างๆ ของช้อปปี้ เช่น การไลฟ์สตรีมเพื่อสื่อสารกับผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

นอกจากนี้ ผู้ขายรายย่อยบนช้อปปี้ยังสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นโดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ยกตัวอย่างเช่น ผู้จำหน่ายอาหารแห้งในจังหวัดสมุทรสาครยังสามารถดำเนินธุรกิจบนช้อปปี้ได้อย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และมียอดคำสั่งซื้อเฉลี่ยรายวันเพิ่มสูงขึ้น 2 เท่า

มร. เทอเรนซ์ กล่าวสรุปว่า “ช้อปปี้มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนทั่วทั้งภูมิภาคผ่านการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ผมเชื่อว่าภูมิภาคของเรามีศักยภาพอย่างมากในการวางรากฐานให้ธุรกิจและผู้บริโภคสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างราบรื่นต่อไปในอนาคต โดยช้อปปี้จะยืนหยัดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อก้าวนำเทรนด์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และสร้างการเติบโตให้อีคอมเมิร์ซได้ต่อไปในปี 2564 และอนาคต”

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นช้อปปี้ได้ฟรีจาก App StoreGoogle Play Store และ App Gallery