ทีมวิจัย ม.ฮาร์วาร์ด อธิบายที่มาของอุกาบาตพุ่งชนโลกเมื่อ 66 ล้านปีก่อนว่า มันมาจากไหน?

66 ล้านปีก่อนมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นบนโลกที่ส่งผลให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ บ้างก็ว่ามาจากอุกาบาตขนาดใหญ่พุ่งชนโลก หลงเหลือร่องรอยเอาไว้เป็นปล่องภูเขาไฟขนาดใหญ่นอกชายฝั่งเม็กซิโกที่กว่าง 93 ไมล์ ลึก 12 ไมล์

นักวิทยาศาสตร์มองว่า นี่แหละ คือสาเหตุที่ทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกในเวลานั้นสูญพันธ์ุ และถกเถียงกันถึงที่มาว่าอุกาบาตขนาดใหญ่นั้นคืออะไร มาจากไหน และเหตุใดถึงพุ่งชนโลก

การศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์โดย Amir Riraj นักศึกษาปริญญาตรี สาขาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและ Avi Loeb นักดาราศาสตร์ สามารถอธิบายต้นกำเนิดและการเดินทางของวัตถุขนาดใหญ่ดังกล่าวก่อนจะส่งผลกระทบต่อโลก

โดยนักวิจัยใช้การวิเคราะห์ทางสถิติและการจำลองความโน้มถ่วงเพื่อคำนวณว่าดาวหางคาบยาว (long-period comet) ที่เกิดมาจากเมฆออร์ตถูกสนามแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีจนหลุดออกจากวงโคจร

Chicxulub impactor

ดาวหางที่รู้จักกันในชื่อ sungrazers เจอเข้ากับแรงน้ำขึ้นน้ำลง (Tidal Forces) เมื่อดาวหางโคจรผ่านดวงอาทิตย์ ส่วนที่โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าจะได้รับผลกระทบจากแรงดึงดูดที่แรงกว่า ทำให้เกิดแรงน้ำขึ้นน้ำลงบนดาวหาง ส่งผลให้ดาวหางที่มีขนาดใหญ่แตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ จำนวนมาก ซึ่งมีโอกาสสูงมากที่บางชิ้นส่วนจะแตกออกมาแล้วโคจรพุ่งชนโลก

การคำนวณใหม่โดยนักวิจัยแสดงให้เห็นว่าโอกาสที่ดาวหางคาบยาวจะมีผลกระทบต่อโลกนั้น มีเพิ่มขึ้นมากถึง 10 เท่า และชิ้นส่วนที่หลุดออกมาของดาวหางคาบยาวที่โคจรใกล้ดวงอาทิตย์สัดส่วน 20% มีความเป็นไปได้ที่จะเป็น sungrazers

อัตราใหม่ของผลกระทบนั้น สอดคล้องกับอายุของอุกาบาตที่พุ่งชนโลก สามารถให้คำอธิบายที่น่าพอใจสำหรับจุดกำเนิดและผลกระทบอื่น จากหลักฐานที่พบในปล่องภูเขาไฟชี้ให้เห็นว่า ชิ้นส่วนของหินมีส่วนประกอบของ carbonaceous chondrite ที่พบในดาวหางคาบยาว แต่พบเจอได้ยากในหมู่ดาวเคราะห์

ที่มา : Slashgear
รูปจาก : freepix