• Smartphone
  • Games
  • Review
ล้ำหน้าโชว์
  • Home
  • Tech News
    • Smartphone
    • Review
    • Games
    • วีดีโอรอบโลก
    • Life Style
    • Security
    • Social News
  • รายการล้ำหน้าโชว์ย้อนหลัง
  • Review
  • Classified
    • Business
    • Solution
    • CSR
  • ติดต่อรายการ
No Result
View All Result
  • Home
  • Tech News
    • Smartphone
    • Review
    • Games
    • วีดีโอรอบโลก
    • Life Style
    • Security
    • Social News
  • รายการล้ำหน้าโชว์ย้อนหลัง
  • Review
  • Classified
    • Business
    • Solution
    • CSR
  • ติดต่อรายการ
No Result
View All Result
ล้ำหน้าโชว์
No Result
View All Result
Twitter

Twitter เปิดใช้ ระบบการยืนยันตัวตน แบบใหม่ เพื่อความปลอดภัยมากขึ้น

Pedz by Pedz
21 Dec 2020
in PR News
40
SHARES
Share on FacebookShare on TwitterLINE

ทวิตเตอร์ได้ประกาศแผนงานนโยบายของการยืนยันตัวตนใหม่บนทวิตเตอร์สำหรับ ปี 2021ได้รับการตอบรับกว่า 22,000 แบบสอบถาม ฟีดแบ็กจากสาธารณชนถือเป็นส่วนสำคัญมากในขั้นตอนของการพัฒนานโยบายเพื่อสร้างความมั่นใจว่านโยบายดังกล่าวนั้นได้สะท้อนถึงการให้บริการระดับโลกและผู้คนที่ใช้งาน

ฟีดแบ็กของทุกคนช่วยกำหนดนโยบายของทวิตเตอร์ได้อย่างไร

ส่วนหนึ่งของการที่ทวิตเตอร์ได้อัปเดตในนโยบายการยืนยันตัวตนใหม่ จากฟีดแบ็กที่ได้รับจากทุกคนมีดังนี้

  • เราได้รับฟีดแบ็กในส่วนของเกณฑ์การพิจารณาตรงโปรไฟล์ว่าจะต้องมีข้อมูล “ครบสมบูรณ์” ซึ่งทำให้ทุกคนรู้สึกว่าเป็นการจำกัดมากเกินไป จึงได้อัปเดตคำจำกัดความใหม่โดยไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลของโปรไฟล์หรือภาพเฮดเดอร์
  • เราได้อัปเดตข้อมูลอ้างอิงบน Wikipedia เพื่อให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเผยแพร่บทความของสารานุกรมเพื่อให้มีคุณภาพและโดดเด่นมากขึ้น
  • เพื่อความชัดเจนและมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่เป็นหมวดหมู่ของ “ข่าว” เราได้เพิ่มเป็นหมวดหมู่ของ “ข่าวและนักข่าว” และในส่วนของหมวดหมู่ “กีฬา” มีการเพิ่มเป็น “กีฬาและอีสปอร์ตส” นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มส่วนของดิจิทัลคอนเท้นท์ครีเอเตอร์ เข้าไปในหมวดหมู่ “ความบันเทิง” ด้วยเพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • เราได้รับฟีดแบ็กในเรื่องของข้อกำหนดของจำนวนผู้ติดตามขั้นต่ำที่นับตามฐานของแต่ละประเทศ ซึ่งอาจจะไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องในการพิจารณาเสมอไป ทั้งนี้ จึงได้อัปเดตการพิจารณาจำนวนผู้ติดตามที่อ้างอิงตามฐานของแต่ละภูมิภาค เพื่อให้ข้อกำหนดในการนับจำนวนผู้ติดตามมีความเสี่ยงต่อการถูกสแปมน้อยลงและมีความเท่าเทียมต่อประชากรในทุกพื้นที่มากขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีหลายคนที่แนะนำให้เพิ่มหมวดหมู่ในการยืนยันตัวตนของนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และผู้นำ
ทางศาสนาเข้าไปด้วย ซึ่งทวิตเตอร์มีแผนที่จะเพิ่มหมวดหมู่ต่างๆ เหล่านี้ในนโยบายใหม่ภายในปีหน้า โดยในระหว่างนี้บุคคลเหล่านี้อาจถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ของ “นักกิจกรรม ผู้จัดงาน และอินฟลูเอ็นเซอร์” ไปก่อน

ยกตัวอย่างเช่น ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020  ที่ผ่านมา ทวิตเตอร์ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขระดับโลกในการระบุตัวตนของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ที่ทวีตเกี่ยวกับโควิด-19 และได้ทำการยืนยันตัวตนให้กับหลายร้อยบัญชี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือดังกล่าว  ทั้งนี้ การยืนยันตัวตนของบุคลากรเหล่านี้จะไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายใหม่ที่กำลังดำเนินการอยู่เนื่องจากเป็นความมุ่งมั่นของเราในการยกระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับวิกฤตทางด้านสาธารณสุขในปัจจุบัน

คุณสามารถคลิกเข้าไปอ่านนโยบายการยืนยันตัวตนใหม่ของทวิตเตอร์ได้ที่นี่ หรือ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยการกดตรงเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าได้ทั้งในแอปหรือบนเว็บไซต์

ทวิตเตอร์จะเริ่มใช้นโยบายนี้ใหม่ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2020 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำการดำเนินการลบเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าออกจากบัญชีที่ไม่ได้มีการใช้งานและบัญชีที่ไม่สมบูรณ์โดยอัตโนมัติ โดยนโนบายใหม่จะมีการกำหนดว่า บัญชีที่มีความสมบูรณ์จะต้องมีหนึ่งในข้อกำหนดดังต่อไปนี้

  • จะต้องมีการยืนยันอีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • มีรูปภาพโปรไฟล์
  • แสดงชื่อผู้ใช้งาน

หากบัญชีของคุณมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเครื่องหมายยืนยันตัวตน คุณจะได้รับแจ้งทางอีเมลอัตโนมัติและมีการแจ้งเตือนจากในแอปการใช้งานของทวิตเตอร์ว่า หากคุณไม่ต้องการให้ถูกลบเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าออกจากบัญชี จะต้องเข้าไปเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง หากคุณเข้าไปปฏิบัติตามคำแนะนำต่างๆ ก่อนวันที่ 20 มกราคม 2020 บัญชีของคุณจะไม่โดนลบเครื่องหมายยืนยันตัวตน ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ไม่ได้มีเจตนาที่จะลบเครื่องหมายยืนยันตัวตนออกจากบัญชีที่ไม่มีการใช้งานเนื่องจากการเสียชีวิต และกำลังดำเนินการหาวิธีที่จะระลึกถึงบัญชีเหล่านั้นในปี 2021 ภายใต้นโยบายใหม่นี้ ทวิตเตอร์จะทำการลบเครื่องหมายยืนยันตัวตนจากบัญชีที่พบกว่ามีการละเมิดกฎของทวิตเตอร์อย่างรุนแรงหรือมีการละเมิดกฎซ้ำๆ โดยจะมีการพิจารณาบัญชีเหล่านั้นตามแต่ละกรณี และจะมีการปรับปรุงการใช้งานระหว่างการบังคับใช้นโยบายการยืนยันตัวตนในปีหน้า แน่นอนว่าทุกคนที่ใช้งานทวิตเตอร์จะต้องอยู่ภายใต้กฎของทวิตเตอร์ ซึ่งทุกคนสามารถเข้าไปอ่านเกี่ยวกับกฎของทวิตเตอร์ว่ามีขอบเขตในการดำเนินการอย่างไรบ้างได้จากที่นี่

ฟีดแบ็กที่ได้รับได้ช่วยในกระบวนการพัฒนานโยบายใหม่ ซึ่งจะนำเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงว่า ระบบการยืนยันตัวตนคืออะไร ใครควรได้รับการยืนยันตัวตน และทำไมบางบัญชีทวิตเตอร์ถึงถูกลบการยืนยันตัวตน ทั้งนี้ เพื่อให้นโยบายดังกล่าวมีความเท่าเทียมกัน

ฟีดแบ็กของทุกคนช่วยกำหนดนโยบายของทวิตเตอร์ได้อย่างไร

ส่วนหนึ่งของการที่ทวิตเตอร์ได้อัปเดตในนโยบายการยืนยันตัวตนใหม่ จากฟีดแบ็กที่ได้รับจากทุกคนมีดังนี้

  • เราได้รับฟีดแบ็กในส่วนของเกณฑ์การพิจารณาตรงโปรไฟล์ว่าจะต้องมีข้อมูล “ครบสมบูรณ์” ซึ่งทำให้ทุกคนรู้สึกว่าเป็นการจำกัดมากเกินไป จึงได้อัปเดตคำจำกัดความใหม่โดยไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลของโปรไฟล์หรือภาพเฮดเดอร์
  • เราได้อัปเดตข้อมูลอ้างอิงบน Wikipedia เพื่อให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเผยแพร่บทความของสารานุกรมเพื่อให้มีคุณภาพและโดดเด่นมากขึ้น
  • เพื่อความชัดเจนและมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่เป็นหมวดหมู่ของ “ข่าว” เราได้เพิ่มเป็นหมวดหมู่ของ “ข่าวและนักข่าว” และในส่วนของหมวดหมู่ “กีฬา” มีการเพิ่มเป็น “กีฬาและอีสปอร์ตส” นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มส่วนของดิจิทัลคอนเท้นท์ครีเอเตอร์ เข้าไปในหมวดหมู่ “ความบันเทิง” ด้วยเพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • เราได้รับฟีดแบ็กในเรื่องของข้อกำหนดของจำนวนผู้ติดตามขั้นต่ำที่นับตามฐานของแต่ละประเทศ ซึ่งอาจจะไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องในการพิจารณาเสมอไป ทั้งนี้ จึงได้อัปเดตการพิจารณาจำนวนผู้ติดตามที่อ้างอิงตามฐานของแต่ละภูมิภาค เพื่อให้ข้อกำหนดในการนับจำนวนผู้ติดตามมีความเสี่ยงต่อการถูกสแปมน้อยลงและมีความเท่าเทียมต่อประชากรในทุกพื้นที่มากขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีหลายคนที่แนะนำให้เพิ่มหมวดหมู่ในการยืนยันตัวตนของนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และผู้นำ
ทางศาสนาเข้าไปด้วย ซึ่งทวิตเตอร์มีแผนที่จะเพิ่มหมวดหมู่ต่างๆ เหล่านี้ในนโยบายใหม่ภายในปีหน้า โดยในระหว่างนี้บุคคลเหล่านี้อาจถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ของ “นักกิจกรรม ผู้จัดงาน และอินฟลูเอ็นเซอร์” ไปก่อน

ยกตัวอย่างเช่น ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020  ที่ผ่านมา ทวิตเตอร์ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขระดับโลกในการระบุตัวตนของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ที่ทวีตเกี่ยวกับโควิด-19 และได้ทำการยืนยันตัวตนให้กับหลาย
ร้อยบัญชีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือดังกล่าว  ทั้งนี้ การยืนยันตัวตนของบุคลากรเหล่านี้จะไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายใหม่ที่กำลังดำเนินการอยู่เนื่องจากเป็นความมุ่งมั่นของเราในการยกระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับวิกฤตทางด้านสาธารณสุขในปัจจุบัน

คุณสามารถคลิกเข้าไปอ่านนโยบายการยืนยันตัวตนใหม่ของทวิตเตอร์ได้ที่นี่ หรือ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยการกดตรงเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าได้ทั้งในแอปหรือบนเว็บไซต์

ทวิตเตอร์จะเริ่มใช้นโยบายนี้ใหม่ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2020 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำการดำเนินการลบเครื่องหมาย
ติ๊กถูกสีฟ้าออกจากบัญชีที่ไม่ได้มีการใช้งานและบัญชีที่ไม่สมบูรณ์โดยอัตโนมัติ โดยนโนบายใหม่จะมีการกำหนดว่า บัญชีที่มีความสมบูรณ์จะต้องมีหนึ่งในข้อกำหนดดังต่อไปนี้

  • จะต้องมีการยืนยันอีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • มีรูปภาพโปรไฟล์
  • แสดงชื่อผู้ใช้งาน

หากบัญชีของคุณมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเครื่องหมายยืนยันตัวตน คุณจะได้รับแจ้งทางอีเมลอัตโนมัติและมีการ
แจ้งเตือนจากในแอปการใช้งานของทวิตเตอร์ว่า หากคุณไม่ต้องการให้ถูกลบเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าออกจากบัญชี จะต้องเข้าไปเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง หากคุณเข้าไปปฏิบัติตามคำแนะนำต่างๆ ก่อนวันที่ 20 มกราคม 2020 บัญชีของคุณจะไม่โดนลบเครื่องหมายยืนยันตัวตน ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ไม่ได้มีเจตนาที่จะลบเครื่องหมายยืนยันตัวตนออกจากบัญชีที่ไม่มีการใช้งานเนื่องจากการเสียชีวิต และกำลังดำเนินการหาวิธีที่จะระลึกถึงบัญชีเหล่านั้นในปี 2021 ภายใต้นโยบายใหม่นี้ ทวิตเตอร์จะทำการลบเครื่องหมายยืนยันตัวตนจากบัญชีที่พบกว่ามีการละเมิดกฎของทวิตเตอร์อย่างรุนแรงหรือมีการละเมิดกฎซ้ำๆ โดยจะมีการพิจารณาบัญชีเหล่านั้นตามแต่ละกรณี และจะมีการปรับปรุงการใช้งานระหว่างการบังคับใช้นโยบายการยืนยันตัวตนในปีหน้า แน่นอนว่าทุกคนที่ใช้งานทวิตเตอร์จะต้องอยู่ภายใต้กฎของทวิตเตอร์ ซึ่งทุกคนสามารถเข้าไปอ่านเกี่ยวกับกฎของทวิตเตอร์ว่ามีขอบเขตในการดำเนินการอย่างไรบ้างได้จากที่นี่

สิ่งที่จะเกิดขึ้นในลำดับต่อไป

การยืนยันตัวตนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานที่ทวิตเตอร์ทำเพื่อให้ผู้ใช้งานบนทวิตเตอร์สามารถทราบว่าพวกเขากำลังสื่อสารอยู่กับใคร ทวิตเตอร์ทราบดีว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะประเมินความถูกต้องของบัญชีผู้ใช้งานทางอินเตอร์เน็ตและการเข้าใจว่าคุณกำลังสื่อสารและโต้ตอบอยู่กับใครคือหัวใจสำคัญของการสนทนาสาธารณะ

ในการช่วยให้ผู้คนสามารถเกิดความไว้วางใจว่าพวกเขากำลังพูดคุยโต้ตอบอยู่กับใครบนทวิตเตอร์ ทั้งข้อมูลของประวัติ เนื้อหาของทวีต การกดติดตามกันและข้อมูลในหน้าโปรไฟล์เป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมาก ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม
ทวิตเตอร์จึงเริ่มให้มีการติดป้ายรับรองบัญชีให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง หน่วยงานรัฐบาล และสื่อที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล นอกจากนี้เรากำลังดำเนินการออกแบบวิธีในการแบ่งประเภทของบัญชีใหม่ๆ เพิ่มเติมอีกด้วย

  • บัญชีที่เป็นอัตโนมัติ บัญชีที่มีการโพสต์ข้อความอัตโนมัติ หรือที่เรียกกันว่า “บอท” สามารถช่วยในเรื่องการให้บริการได้เป็นอย่างมาก เมื่อต้องแชร์ข้อความจำพวกการเตือนภัยแผ่นดินไหว หรือการแจ้งเตือนถึงวิธีในการดูแลตัวเอง ซึ่งบางครั้งอาจสร้างความสับสนให้กับหลายๆ คนได้หากว่าไม่มีการระบุให้ชัดเจนว่าบัญชีนั้นเป็นบอท ดังนั้นในปี 2020 เราจึงวางแผนที่จะแบ่งประเภทบัญชีที่เป็นบอทออกจากบัญชีที่มีผู้ใช้งานเป็นมนุษย์จริงๆ ให้ชัดเจนเพื่อทุกคนจะได้ทราบว่าบัญชีไหนเป็นบอทบ้าง
  • บัญชีเพื่อการระลึกถึง เราทราบว่าบัญชีผู้ใช้งานของผู้ที่จากไปมีความสำคัญกับผู้ที่ยังอยู่อย่างไร เราจึงกำลังปรึกษากันว่าควรรักษาบัญชีประเภทนี้ไว้อย่างไร ในปี 2020เ ราวางแผนที่จะสร้างประเภทของบัญชีใหม่ๆ สำหรับบัญชีเพื่อการระลึกถึง ซึ่งในนโยบายใหม่จะมีการอัปเดตถึงรายละเอียดของบัญชีประเภทนี้และขั้นตอนการสมัครเพื่อขอให้บัญชีนั้นเป็นบัญชีเพื่อการระลึกถึงได้อย่างไร

งานที่ทวิตเตอร์กำลังทำอยู่นั้นอาจจะห่างไกลจากคำว่าสำเร็จเสร็จสิ้น อย่างไรก็ตาม อยากให้ทุกคนมองไปข้างหน้า ถึงสิ่งที่เรากำลังทำ เพื่อที่ทุกคนจะได้เข้าใจในแนวทางของของทวิตเตอร์มากขึ้น เรามีความยินดีเป็นอย่างมากที่กำลังจะเริ่มเปิดใช้งานระบบยืนยันตัวตนอีกครั้งและจะเริ่มเปิดตัวบัญชีประเภทใหม่ๆ ซึ่งเราจะมาอัปเดตข้อมูลเพิ่มเติมในเร็ววันนี้ ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ข้อเสนอแนะในช่วงที่เปิดให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นสาธารณะเพื่อช่วยให้เราสามารถกำหนดนโยบายใหม่ได้อย่างชัดเจน


Tags: SecurityTwitter

Related Posts

Social News

Donald Trump ถูก Twitter แบนแบบถาวร แต่ยังพยายามใช้บัญชีอื่นแทน

9 January 2021
Tech News

Twitter, Facebook และ Instagram แบนบัญชีของ Trump หลังเกิดสถานการณ์รุนแรงในสหรัฐฯ

7 January 2021
Tech News

Twitter เร่งพัฒนา Spaces ฟีเจอร์ใหม่ สื่อสารผ่านห้องแชทด้วยเสียง

6 January 2021
Social News

Twitter ปรับปรุงนโยบายใหม่ เพื่อห้ามไม่ให้เกิดการ เหยียดเชื้อชาติ ภายในแอพ

5 December 2020
PR News

72% สาวๆ ใช้ Twitter ค้นหาข้อมูล ผลิตภัณฑ์ความงาม ใหม่ๆ

5 December 2020
Twitter Fleets
Android App

Twitter เปิดตัว “Fleets” ทวีตข้อความแล้วจะหายไปใน 24 ชม.

19 November 2020
ล้ำหน้าโชว์

บริษัท ล้ำหน้าโชว์ จำกัด

18/18 ประเสริฐมนูกิจ 25 แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพ 10230

Follow Us

OPPO Band สายรัดข้อมือ Fitness Tracker รุ่นแรกของออปโป้ ใกล้วางขายแล้ว

20 January 2021
OPPO Reno5

รู้จักกับ FDF Portrait Video System ระบบถ่ายวิดีโอขั้นสูง ใน OPPO Reno5 Series 5G

20 January 2021
realme

realme เดินหน้าก้าวกระโดด ด้วยแรงผลักดันจากยอดขายที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง

20 January 2021
JBL

JBL PartyBox On-The-Go ลำโพงพกพาสำหรับสายปาร์ตี้ สนุกได้ทุกเวลา

20 January 2021

TAG

3BB 5g AI AIS Android Apple asus Covid-19 dtac Facebook Google HUAWEI instagram Intel iOS ipad iPhone Lazada Lenovo LG LINE Microsoft Netflix New Normal Nintendo Nintendo Switch Nokia OnePlus OPPO PlayStation 4 Promotion Qualcomm realme Samsung Shopee smartphone smartwatch sony TikTok Truemove H Twitter vivo Windows 10 Xiaomi YouTube
  • SharkShows.tv
  • Freeware.in.th
  • Gogoli.co
  • Digitalmore.co

© 2019 TechOffside.com

No Result
View All Result
  • Home
  • Tech News
    • Smartphone
    • Games
    • Gadget
  • Review
  • รายการย้อนหลัง
  • ติดต่อรายการ

© 2019 TechOffside.com