L'Oreal

L’Oreal เผยผิวหนังจำลองแบบใหม่ที่มีโครงสร้างของระบบหลอดเลือด

ทีมวิจัยและนวัตกรรม ของลอรีอัล ได้เผยความก้าวหน้าล่าสุดในงานวิจัยด้านผิวหนังและเส้นผม ในการประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติประจำปี 2563 ครั้งที่ 31 แล้ว ภายใต้แนวคิด “ความงามและความสุข – การผลักดันขีดจำกัด” ซึ่งลอรีอัลได้รับรางวัลในสาขางานวิจัยประยุกต์ จากผลงานผิวหนังจำลองที่มีโครงสร้างของระบบหลอดเลือด (Vascularized Reconstructed Skin Model)

ผิวหนังจำลองที่มีโครงสร้างของระบบหลอดเลือด: ความก้าวหน้าครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์วิศวกรรมผิวหนัง

ลอรีอัลเป็นผู้บุกเบิกการคิดค้นวิธีทางเลือกสำหรับการทดสอบผลิตภัณฑ์มานานกว่า 30 ปี โดยย้อนกลับไปตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2522 ซึ่งลอรีอัลได้สร้างผิวหนังมนุษย์ขึ้นในห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบความปลอดภัยภายใต้สภาวะจำลอง (in vitro) เพื่อเป็นทางเลือกทดแทนการทดลองผลิตภัณฑ์ในสัตว์ทดลอง และบริษัทฯ ได้เดินหน้าพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมผิวหนังอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในปีนี้ IFSCC ได้มอบรางวัลสาขางานวิจัยประยุกต์ให้แก่ ดร.ซาชา ซาลาเมฮ์ นักชีววิทยาในสาขาความเชี่ยวชาญด้านชีววิทยาของเซลล์และวิศวกรรมผิวหนัง จากทีม R&I ของลอรีอัล ในผลงาน ผิวหนังจำลองที่มีโครงสร้างของระบบหลอดเลือด โดยหลังจากที่ทำวิจัยเรื่องวิศวกรรมผิวหนังมา 40 ปี

ทีม R&I ลอรีอัล ได้บรรลุความก้าวหน้าครั้งใหม่ในการพัฒนาและสร้างแบบจำลองผิวหนังแบบใหม่ที่เสมือนผิวหนังจริงของมนุษย์มากขึ้น ด้วยการเพิ่มโครงสร้างหลอดเลือดเข้ามาในแบบจำลองเพื่อสร้างระบบหลอดเลือดที่มีความซับซ้อน ใกล้เคียงผิวหนังจริงของมนุษย์ แบบจำลองนี้มีความสมจริงมากขึ้นจากมุมมองด้านสรีรวิทยา อีกทั้งยังช่วยประเมินการณ์และเพิ่มความน่าเชื่อถือสำหรับการทดสอบผลิตภัณฑ์กับผิวหนัง และการศึกษาปฏิกิริยาระหว่างร่างกายของเรากับผิวหนัง ซึ่งผลงานวิจัยใหม่นี้จะช่วยให้นักวิจัยเข้าใจผิวหนังได้ดีขึ้น ตอกย้ำความเป็นผู้นำของลอรีอัลในการพัฒนาวิธีทางเลือกสำหรับการทดสอบผลิตภัณฑ์

นอกจากรางวัลดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการ IFSCC ยังได้คัดเลือกโปสเตอร์ที่นำเสนอผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมที่สุด 10 อันดับ โดยจากโปสเตอร์จำนวน 372 เรื่อง ทีม R&I ของลอรีอัลติดท็อป 10 จำนวนสองเรื่อง ได้แก่

ผลงานวิจัยด้าน “เมตาโบโลมิกส์ (Metabolomics) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างไมโครไบโอมกับหน้าที่ของผิว เพื่อศึกษาผลกระทบจากมลภาวะที่มีต่อผิว

ไมโครไบโอม หัวใจของการต่อสู้กับการเสื่อมสภาพของผิว

ลอรีอัลกำลังทำวิจัยเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับไมโครโอมบนผิวหนัง ซึ่งเป็นระบบนิเวศของจุลินทรีย์บนผิวกว่า 100,000 พันล้านเซลล์ โดยจุลินทรีย์เหล่านี้มีบทบาทสำคัญต่อร่างกายเรา ช่วยปกป้องผิวจากอันตรายภายนอก แต่จุลินทรีย์ที่ช่วยปกป้องผิวนี้มีความเปราะบาง ส่งผลให้ความสมดุลของผิวเปลี่ยนแปลงไปได้ง่าย หากบนผิวมีแบคทีเรียดีหรือแบคทีเรียที่ไม่พึงประสงค์จำนวนมากเกินไป จะทำให้ผิวสูญเสียความสมดุลและอาจปรากฏความเสียหายของผิวหนังให้เห็น เช่น การอักเสบชนิดไม่รุนแรง ผิวหนังอักเสบ หรือสิว

ในการประชุมครั้งนี้ ลอรีอัลได้นำเสนอผลวิจัยล่าสุด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ว่า การเริ่มต้นการผลิตน้ำมันของผิวนั้นต้องการสารอาหารที่จำเพาะ น้ำมันบนผิวมีบทบาทสำคัญต่อการปรับสมดุลของผิวด้วยการสร้างฟิล์มเคลือบบนผิว และยังมีส่วนช่วยรักษาความชุ่มชื้นของผิว ดังนั้น การผลิตน้ำมันของผิวขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เช่นในผู้หญิงช่วงวัยหมดประจำเดือน จึงอาจจะเป็นหนทางสำคัญในการต่อสู้กับผิวเสื่อมสภาพของผู้หญิงหลังวัย 50 ปี

ไมโครไบโอม ศาสตร์แห่งการช่วยปกป้องผิวจากมลภาวะ

งานวิจัยอีกฉบับในหัวข้อนี้ยังเน้นย้ำความเชื่อมโยงระหว่างมลภาวะทางอากาศและการเปลี่ยนแปลงของไมโครไบโอม โดยในงานวิจัยก่อนหน้านี้ นักวิจัยของลอรีอัลแสดงให้เห็นว่า ฝุ่นละอองจากมลพิษและรังสีจากดวงอาทิตย์ เช่น แสงยูวีเอ ส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อคุณภาพของผิว โดยเฉพาะในเมืองที่มีมลพิษสูง เราสังเกตเห็นการเกิดริ้วรอยก่อนวัยของผิวหนัง โดยจะมีจุดเม็ดสีขนาดใหญ่และริ้วรอยร่องลึกปรากฏชัด

สำหรับในการประชุมครั้งนี้ เราแสดงให้เห็นว่า ฝุ่นละอองจากมลพิษมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของไมโครไบโอมบนผิวของเรา ดังนั้นการพุ่งเป้าไปที่ไมโครไบโอมจึงอาจเป็นวิธีใหม่ในการต่อสู้เพื่อลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่ต่อการเสื่อมสภาพของผิวหนัง

ผลงานวิจัย “ระบบวิดีโอวิเคราะห์ผิวหน้าจริงบันทึกและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสีและเงาที่ซับซ้อน

ปกป้องจากการรุกรานภายนอก

ในที่สุดทีมลอรีอัลสามารถหาวิธีเพื่อต่อสู้กับการรุกรานผิวจากภายนอก เช่น แสงยูวี และมลภาวะ โดยได้นำเสนอฟิล์มเคลือบผิวที่ซ่อมแซมตัวเองและฟื้นบำรุงผิวสูตรแรก ซึ่งจะเป็นปราการปกป้องผิวจากมลภาวะภายนอก การคิดค้นใหม่นี้อยู่ในรูปแบบของครีมที่สามารถสร้างฟิล์มเคลือบบนผิวหนังชั้นนอก จะช่วยป้องกันการยึดเกาะของฝุ่นละอองจากมลพิษ และทำให้เกิดการกระจายแบบสม่ำเสมอของสารป้องกันแสงแดดบนผิวหนัง ฟิล์มนี้เป็นฟิล์มตัวแรกที่ได้รับการออกแบบอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และนอกจากยังทนน้ำและน้ำมันส่วนเกินบนผิวแล้ว เหนือสิ่งอื่นใดคือ ฟิล์มสามารถผสานตัวเองได้หากเกิดการขูดขีด หรือเสียดทาน