masterCard

เทคโนโลยีบล็อกเชน จะสร้างความเชื่อมั่นในระบบซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างไร?

งานวิจัยเนลสันปี 2561 ชื่อ “The Evolution of the Sustainability Mindset” เปิดเผยว่าเราอยู่ในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยความเชื่อของผู้บริโภค ยุคที่ผู้บริโภคทั่วโลกตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโดยพิจารณาจากเหตุผลด้านสุขภาพและผลกระทบที่ส่งผลต่อโลก ผู้บริโภคยังหาข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจที่ถูกต้องและยั่งยืนอีกด้วย

ความเชื่อเหล่านั้นก็ถูกทดสอบทุกวัน – จากรายงานหรือการพาดหัวข่าวที่สร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุมาจากอาหาร ซึ่งยังไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างแน่ชัด เช่น แครอทพวกนี้ปลูกโดยวิธีธรรมชาติหรือไม่ ผักสลัดเหล่านี้มาจากไหน แล้วปลาหมึกทอดพวกนี้ล่ะ…เชื่อเถอะ คุณไม่อยากจะกูเกิ้ลหาข้อมูลเหล่านี้เองหรอก

การให้ข้อมูลที่ไม่ชัดเจนและไม่ครบถ้วน ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางของระบบซัพพลายเชน เปิดช่องโหว่ให้เกิดการปลอมแปลงข้อมูลที่ไม่มีประสิทธิภาพขึ้น การชะงักงันของซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมอาหารในช่วงวิกฤติการแพร่กระจายของไวรัสโควิด 19 แสดงให้เห็นว่าข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นข้อมูลล่าสุดมีความสำคัญมากเพียงไรเพื่อให้ร้านค้าและผู้บริโภคได้รับข้อมูลเพียงพอ

การเรียกร้องความโปร่งใส

ผู้บริโภคในวันนี้คาดหวังให้บริษัททั้งหลายมีความโปร่งใส และดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนและที่สำคัญยึดมั่นคำสัญญา จากรายงานผลสำรวจเนลสันพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 8 ใน 10 คนทั่วโลกคิดว่าบริษัทควรมีส่วนช่วยเหลือในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม และเกือบครึ่งหนึ่งยินยอมที่จะจ่ายมากกว่าเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีและมีมาตราฐานความปลอดภัย ซึ่งล้วนเป็นผลพวงมาจากแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืน

การแสดงออกถึงความมุ่งมั่นดังกล่าว เช่นการลงมือทำมากกว่าการพูด ไม่ใช่เป็นเพียงกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเท่านั้น แต่ยังจำเป็นต่อการอยู่รอด ความสำคัญในห่วงโซ่อุปทาน สุขอนามัยและการส่งสินค้าในช่วงเวลาวิกฤตที่เกิดขึ้น แต่ด้วยความซับซ้อนของซัพพลายเชน จึงเป็นการยากที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งจะดำเนินการได้ด้วยตนเอง

นี่คือสาเหตุที่ในปัจจุบันภาคเอกชน และหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐหันมาให้ความสนใจใน เทคโนโลยีบล็อคเชน หรือเทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกธุรกรรมต่างๆ ที่จะช่วยให้เกิดความโปร่งใส และในขณะเดียวกันก็ยังรับประกันความเป็นส่วนตัวของทุกฝ่ายด้วย สิ่งนี้ทำให้เกิดความไว้วางใจและความปลอดภัยในระบบซัพพลายเชนและความสบายใจของผู้บริโภค

เทคโนโลยีบล็อกเชน ทำให้ข้อมูลเกิดความต่อเนื่อง มีความโปร่งใสและช่วยรวบรวมให้ทุกอย่างสามารถตรวจสอบได้ ตัวอย่างเช่น ผู้จำหน่ายสินค้าสามารถใช้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อติดตามอุณหภูมิในตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างการขนส่งสินค้าเพื่อประเมินได้ว่าอาหารที่จัดส่งภายในตู้คอนเทนเนอร์นั้นมีการปนเปื้อนหรือไม่ หรือแม้กระทั่งไวน์ชั้นดีที่กำลังขนส่งอยู่ถูกเขย่ามากเกินไปหรือไม่ ในระหว่างการจัดส่ง ซึ่งอาจส่งผลต่อรูปลักษณ์ของไวน์ รสชาติและราคา

การนำ เทคโนโลยีบล็อกเชน มาใช้ในซัพพลายเชน

มาสเตอร์การ์ดร่วมมือกับอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อใช้เทคโนโลยีบล็อคเชน ในการระบุเส้นทางการจัดส่งสินค้า ด้วยโซลูชั่น Mastercard Provenance Solution ทำให้สามารถระบุเอกลักษณ์ทางดิจิทัลของทุกสิ่งได้ ความร่วมมือครั้งใหม่ระหว่างมาสเตอร์การ์ดและบริษัทเฟรช ซัพพลาย จากประเทศออสเตรเลียช่วยให้พวกเขาสามารถบันทึกการส่งออกอโวคาโดจากออสเตรเลียสู่มาเลเซีย, สิงคโปร์และไทย รวมทั้งมีแผนจะขยายไปยังผลิตภัณฑ์อื่นด้วย เช่น เนื้อวัว น้ำผึ้ง และหอยเป๋าฮื้อ ระบบนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคว่า ผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาซื้อเป็นของแท้และปลอดภัย

ความร่วมมือของบริษัทเฟรช ซัพพลายและมาสเตอร์การ์ดช่วยให้ข้อมูลเชิงลึกที่ก่อนหน้านี้ผู้บริโภคไม่สามารถเข้าถึงได้มาอยู่บนระบบดิจิตอลของร้านค้าปลีก เพียงใช้โทรศัพท์มือถือสแกนคิวอาร์ โค้ด ผู้ซื้อจะทราบว่า อโวคาโดนี้มาจากที่ไหน ใครเป็นคนปลูก เริ่มขนส่งเมื่อใดหรือแม้กระทั่งเคล็ดลับการนำไปประกอบอาหาร 

ระบบ Provenance คือจุดเริ่มต้นของหลายๆ อย่าง และเป็นกลไกที่แปลงระบบซัพพลายเชนให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งใช้ได้กับทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าหรูหรา ระบบขนส่ง อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและยา ข้อมูลทางดิจิทัลเหล่านี้ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องและยั่งยืน ทำให้การผลิตและเครือข่ายการจัดจำหน่ายสินค้าสามารถตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อการออกมาตรการเพื่อความยั่งยืนและสภาพแวดล้อมของโลก

เมื่อระบบซัพพลายเชนทั่วโลกซับซ้อนและกระจัดกระจายมากขึ้น การช่วยให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลมากพอที่จะตัดสินใจซื้ออย่างชาญฉลาดด้วยการมองเห็นข้อมูลที่ระบุความเป็นมาของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ช่วยขับเคลื่อนความคิดที่ว่า “ลงมือทำในท้องถิ่นเพื่อความคิดที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก” ความโปร่งใสของข้อมูลจะช่วยเน้นย้ำแก่ทุกฝ่ายให้ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและมีจริยธรรม นี่คือก้าวแรกในการสร้างความมั่นใจว่าสิ่งที่เราบริโภค คือสิ่งที่ถูกต้อง