กิน “แมงกระพรุน” กันดีกว่า โปรตีนเยอะ แคลอรี่ต่ำ แถมช่วยลดการสูญพันธุ์ของปลา

นักชีววิทยาแนะนำให้ผู้คนบริโภค “แมงกระพรุน” กันมากขึ้น เพราะอุดมไปด้วยโปรตีน และที่สำคัญ เพื่อลดการบริโภคปลาที่ตอนนี้มีหลายชนิดใกล้สูญพันธุ์แล้ว

Dr. Lisa-ann Gershwin  Eating Jellyfish

Dr. Lisa-ann Gershwin นักชีววิทยาชาวออสเตรเลียนแนะนำให้ผู้คนหันมาบริโภคแมงกระพรุนมากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การจับปลาที่ยั่งยืนขึ้น โดยมุมมองของนักชีววิทยาทางทะเลมองว่า เมื่อคุณจับปลาในทะเลขึ้นมาบริโภคเรื่อยๆ มันจะค่อยๆ หมดไป เนื่องจากปริมาณที่จับมีมากขึ้นเรื่อยๆ และท้องทะเลน่าจะผลิตปริมาณปลาได้ไม่เท่ากับที่จับไป แต่ในทางกลับกัน แมงกระพรุน เมื่อเราจับมันขึ้นจากทะเลแต่พันธุกรรมของมันยังคงอยู่ในทะเล

Eating Jellyfish

นักชีววิทยาอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ว่ามันคล้ายกับการที่เราเด็ดผลแอปเปิ้ลออกจากต้น ต้นแอปเปิ้ลยังสามารถผลิตผลแอปเปิ้ลเพิ่มขึ้นได้อีก ซึ่งคอนเซ็ปต์ของแมงกระพรุนก็เหมือนกันต้นแอปเปิ้ล ดังนั้นหากมองด้วยมุมมองของชาวประมงแล้ว แมงกระพรุนถือเป็น renewable resource ที่ดีมากๆ ที่จับมันมาบริโภคแล้ว มันก็ยังสามารถเกิดใหม่เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

แล้วแมงกระพรุนสายพันธุ์ไหนที่เราควรกิน?

Eating Jellyfish แมงกระพรุน

ที่ประเทศออสเตรเลียมีแมงกระพรุนหลายสายพันธุ์ที่สามารถกินได้ หนึ่งสายพันธุ์ที่บริโภคกันคือ blue blubber หรือ brown blubber ซึ่งเป็นสายพันธุ์เดียวกัน เป็นแมงกระพรุนที่มีขนาดใหญ่ ส่องสว่าง และมีจำนวนนับไม่ถ้วน

Eating Jellyfish แมงกระพรุน

เรื่องคุณค่าทางอาหาร แมงกระพรุน ถือเป็นอาหารที่ยอดเยี่ยม เพราะ มันให้พลังงานเพียง 36 แคลอรี่เท่านั้นจากปริมาณการเสิร์ฟ 3 ออนซ์ แมงกระพรุนไม่มีรสชาติ ดังนั้นความอร่อยของมันจึงขึ้นอยู่กับซอสและวิธีการปรุง อย่างไรก็ตาม จุดเด่นของแมงกระพรุนไม่ใช่รสชาติแต่เป็นเรื่องของรสสัมผัส มันให้รสสัมผัสที่ดีเคี้ยวสนุก ที่เวลาเคี้ยวจะรู้สึกเหมือนกับเคี้ยวกระดูกอ่อน หรือเคี้ยวกระปลีที่กรอบๆ แมงกระพรุนเป็นเมนูเด็ดในร้านอาหารจำนวนมาก ที่พวกเราเคยชินคงเป็นเมนูตามร้านอาหารจีน

เริ่มมีการผลักดันให้บริโภคแมงกระพรุนมากขึ้น หลังจากมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องปลาแล้วพบว่ามีปลากว่า 90 สายพันธุ์ที่กำลังจะสูญพันธุ์โดยเกิดจากการจับปลาของอุตสาหกรรมประมงที่ถูกกฎหมายทั่วโลก โดยมองว่าการบริโภคแมงกระพรุนมากขึ้นจะช่วยลดการล่าและการบริโภคเนื้อปลา ที่จะช่วยให้เกิดการประมงและการจับปลาที่ยั่งยืนขึ้น

ที่มา : BBC