พบซอร์ดโค้ดของ Windows XP และ Windows Server 2003 หลุดทางออนไลน์

พบ source code ของระบบปฏิบัติการ Windows XP และ Windows Server 2003 หลุด เผยแพร่ทางออนไลน์ โดยมีไฟล์ torrent ของ source code ของระบบปฏิบัติการทั้ง 2 เวอร์ชั่นหลุดไปยังแชร์ไซต์ต่างๆ ในสัปดาห์นี้ ถือเป็นครั้งแรกที่ source code ของ Windows XP หลุดออกมา แม้จะมีการเคลมว่า code ดังกล่าวนั้นหลุดโดยการแชร์ส่วนตัวมาเป็นปีแล้ว

The Verge ได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่า code ที่หลุดดังกล่าวนั้นเป็นของจริง และโฆษกของ ​Microsoft กล่าวถึงประเด็นนี้ว่ากำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบ

อย่างไรก็ตาม การรั่วไหลของ source code ของ Windows XP ในครั้งนี้อาจไม่ก่อความเสียหายหรือเกิดภัยคุกคามครั้งสำคัญกับบริษัทที่ยังคงใช้งานคอมพิวเตอร์ที่รันด้วย Windows XP อยู่ เพราะ Microsoft ได้ยุติการสนับสนุน Windows XP ตั้งแต่ปี 2014 และถึงแม้จะมีการโจมตีระบบด้วยมัลแวร์ WannaCry ด้วย patch ของ Windows XP ที่ผิดปกติในปี 2017 ก็ตาม

แม้ source code ของ Windows XP จะ หลุด รั่วออกไป ทาง Microsoft ก็มีการเรียกใช้โปรแกรมความปลอดภัยของรัฐบาลแบบพิเศษอย่าง GSP หรือ Government Security Program ที่เปิดทางให้รัฐบาลและองค์กรต่างๆ เข้ามาควบคุมการเข้าถึง source code รวมถึงเนื้อหาเชิงเทคนิคอื่นๆ

Windows XP และ Windows Server 2003

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ source code ของระบบปฏิบัติการของ Microsoft หลุดมาทางออนไลน์ เพราะประมาณปี 2017 ก็มีไฟล์ขนาดประมาณ 1GB ที่เป็น source code ที่เกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการ Windows 10 นอกจากนี้ Microsoft ยังเผชิญกับซีรี่ส์ souce code ที่เกี่ยวกับ Xbox หลุดในปีนี้เช่นกัน โดยที่ตัว Original source code ของ Xbox และ Windows NT 3.5 นั้นหลุดทางออนไลน์เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเกิดขึ้น 1 สัปดาห์หลังจากที่ source code ของกราฟิก Xbox Series X ถูกขโมยและหลุดมาทางออนไลน์

ณ ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่า source code ของ Windows XP นั้นหลุดทางออนไลน์มากน้อยแค่ไหน แต่ผู้เชี่ยวชาญภายในของ Microsoft คนหนึ่งตรวจพบ root signing key ของใบรับรองผู้ใช้ NetMeeting ของ Microsoft แล้ว

บางส่วนของ source code ที่หลุดทางออนไลน์ยังอ้างอิงถึงระบบปฏิบัติการ Microsoft CE , MS-DOS และข้อมูลอื่นๆ ของ Micorsoft แต่ที่น่าแปลกคือไฟล์หลุดเหล่านี้ยังมีการอ้างอิงถึงทฤษฎีสมคบคิดของ Bill Gates ด้วยความพยายามที่ชัดเจนที่จะเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดออกไป

ที่มา : The Verge