หน้ากากอนามัย

นักวิจัยเร่งพัฒนา หน้ากากเรืองแสงได้ เมื่อพบไวรัสโคโรนาในน้ำลายผู้สวมใส่

นักวิจัยกันร่วมพัฒนา หน้ากากอนามัย ที่แสงเรืองแสงได้ เมื่อตรวจพบไวรัสโคโรนาในน้ำลายขณะกำลังสวมใส่ ช่วยระบุผู้ติดเชื้อได้แม่นยำขึ้นกว่าการตรวจอุณหภูมิร่างกาย

ก่อนหน้านี้ในปี 2014 Jim Collins พัฒนาเซนเซอร์ที่ใช้ตรวจไวรัสอีโบล่าในห้องแล็ปวิศวกรรมชีวภาพของเขาที่ MIT จากนั้นในปี 2016 นักวิทยาศาสตร์จาก MIT และ Harvard ก็เริ่มปรับเทคโนโลยีเซนเซอร์ดังกล่าวเพื่อรับมือกับไวรัสซิกา ตอนนี้ถึงเวลาที่พวกเขาต้องปรับและพัฒนาอุปกรณ์อีกครั้ง เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 ในปัจจุบัน

ทีมนักวิจัยจะออกแบบหน้ากากให้แสดงสัญญาณเรืองแสงออกมา เมื่อผู้ใส่หน้ากากหายใจ ไอ จาม แล้วตรวจพบว่ามีไวรัส COVID-19 ถ้าหากเทคโนโลยีเซนเซอร์นี้สำเร็จ จะช่วยในการคัดกรองผู้ติดเชื้อได้ดีมากและแม่นยำกว่าการคัดกรองโดยการวัดอุณหภูมิร่างกาย มันยังสามารถช่วยให้ทีมแพทย์สามารถวินิจฉัยคนไข้ได้ตรงนั้นเลย โดยไม่ต้องเสียเวลาส่งตัวอย่างไปตรวจในห้องแล็ป เพราะความล่าช้าของการทดสอบผลตรวจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่กระทบต่อควบคุมการระบาดของ COVID-19 ของประเทศต่างๆ การระบุผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องแม่นยำและรวดเร็วจึงจำเป็นมาก

อย่างไรก็ตาม โปรเจคนี้ยังเป็นอยู่ใน Early Stage เท่านั้น แต่ผลลัพท์ที่ได้ก็ทำให้มีความหวังที่ดี เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้า ทีมงานของ Collins ทดสอบเซนเซอร์ที่สามารถตรวจจับไวรัสโคโรน่าในตัวอย่างหยดน้ำลาย

ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยยังอยู่ในขั้นทดสอบ และตัดสินใจระหว่างจะฝังเซนเซอร์ไว้ในหน้ากาก หรือจะติดมันไว้ภายนอกของหน้ากากดี

ระบบเซนเซอร์ของ Jim Collins ประกอบด้วยวัตถุทางพันธุกรรมอย่าง DNA และ RNA ซึ่งไว้ตรวจจับไวรัส โดยเจ้าวัตถุดังกล่าวจะผ่านการทำการแช่เยือกแข็ง หรือ freeze-dried บนผ้าโดยเครื่องจักรที่เรียกว่า lyophilizer ซึ่งเป็นกระบวนการดูดเอาความชื้นออกโดยไม่เป็นอันตรายต่อวัตถุทางพันธุกรรม มันจึงสามารถอยู่ได้ในอุณหภูมิห้องหลายเดือน ทำให้หน้ากากนั้นมี shelf life ที่นาน

เซนเซอร์จำเป็นต้องใช้ 2 สิ่งถึงจะใช้งานได้ นั่นคือ ความชื้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายมนุษย์ปล่อยออกมาทางการหายใจอยู่แล้ว เช่น น้ำมูกหรือน้ำลาย และการตรวจหาลำดับพันธุกรรมของไวรัส

ห้องแล็ปในกรุงเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน มีการลำดับพันธุกรรมของไวรัสโคโรน่าตั้งแต่เดือนมกราคม Collins กล่าวว่าเซนเซอร์ของเขาต้องจำเป็นต้องระบุชิ้นส่วนเล็กๆ ของลำดับพันธุกรรมนั้นเพื่อตรวจหาไวรัส โดยมีการออกแบบให้หน้ากากแสดงสัญญาณแสงเมื่อตรวจพบไวรัสนาน 1 ถึง 3 ชั่วโมง แต่สัญญาณแสงสว่างนั้นจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มันต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า flourimeter เพื่อวัดค่าของแสงที่สว่างขึ้นมา โดยอุปกรณ์ flourimeters สามารถใช้นอกห้องแล็ปเพื่อตรวจสอบหน้ากากได้และมีราคาเพียง 1 ดอลล่าร์เท่านั้น (ประมาณอันละ 32 บาท)

ก่อนหน้าจะพัฒนาเซนเซอร์ที่แสดงแสงสว่างขึ้นเมื่อตรวจพบไวรัส ทีมงานของเขาได้พัฒนาเซนเซอร์ที่เปลี่ยนสีเหลืองให้เป็นสีม่วงมีตรวจพบไวรัส ดังนั้น นอกจากเซนเซอร์แสงแล้ว เซนเซอร์ที่มีการเปลี่ยนสีก็เป็นไปได้เช่นกันที่จะถูกนำมาใช้

หน้ากากอนามัย

ถ้าเซนเซอร์ยิ่งตรวจจับไวรัสได้ไว มีความถูกต้องแม่นยำและทำออกมาให้อยู่ในราคาที่ถูก มันจะยิ่งมีประโยชน์มากกับทุกฝ่าย ในปี 2016 เซนเซอร์ที่ใช้ตรวจจับไวรัสซิกาสามารถวินิจฉัยคนไข้ได้ภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง ซึ่ง ณ ตอนนั้นเซนเซอร์มีราคาอยู่ที่ประมาณ 20 ดอลล่าร์ต่อชิ้น (ประมาณ 640 บาท) ในขณะที่ตัวทดสอบเซนเซอร์มีราคาเพียง 1 ดอลล่าร์หรือถูกกว่านั้น

สำหรับการทดสอบโคโรน่าไวรัสนั้น ใช้เวลาทดสอบประมาณ 24 ชั่วโมง และต้องรอผลทดสอบหลายวัน ซึ่งราคาการทดสอบนั้นอยู่ที่ 36 ถึง 51 ดอลล่าร์ ซึ่งเป็นราคาที่ค่อนข้างสูง

ปัจจุบันการตรวจและคัดกรองผู้ป่วยในสถานที่ต่างๆ เช่น สนามบิน อาคารสำนักงาน จะใช้การใช้เครื่องตรวจอุณหภูมิยิงไปที่หน้าผากเพื่อตรวจอุณหภูมิ แต่การตรวจเฉพาะแต่อุณหภูมิร่างกายก็อาจทำให้พลาดผู้ติดเชื้อจำนวนมาก รวมไปถึงผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการอื่นที่ไม่ได้เป็นไข้ Collins กล่าวว่าเซนเซอร์ของเขาจะช่วยระบุผู้ป่วยที่ติดเชื้อได้มากขึ้น เพราะ เซนเซอร์ตรวจจับที่ไวรัสเลย ไม่ใช่ดูจากอาการของบุคคลนั้นๆ

ทีมนักวิจัยมีเป้าหมายจะผลิต หน้ากากอนามัย ดังกล่าวให้ได้ภายในช่วงสิ้นเดือนสิงหาคม 2020 นี้

ที่มา : Business Insider
ภาพประกอบจาก : Freepik