AIS ROBOTIC LAB 5G

AIS ROBOTIC LAB เดินหน้าสร้าง หุ่นยนต์ 5G ช่วยหมอดูแลผู้ป่วยโควิด-19

ทีม AIS ROBOTIC LAB ลุยสร้างหุ่นยนต์ 5G ช่วยหมอดูแลผู้ป่วยโควิด-19 แก้ Pain Point ลดเสี่ยง ลดสัมผัส เซฟทีมแพทย์ ส่งมอบถึงมือ รพ. แล้ว

AIS เดินหน้าภารกิจ “AIS 5G สู้ภัย โควิด-19” เต็มสูบ นำพลานุภาพ 5G ร่วมแก้วิกฤต ช่วยเหลือคนไทยทุกภาคส่วน เปิดเส้นทางทีม AIS ROBOTIC LAB แล็บพัฒนาหุ่นยนต์ 5G รายแรกรายเดียวในไทย ผู้อยู่เบื้องหลังผลงาน หุ่นยนต์ 5G ผู้ช่วยคุณหมอ ตัวแรกของประเทศ ที่เชื่อมต่อระบบปฏิบัติการบนเครือข่าย 5G ได้สำเร็จ อันเกิดจากขีดความสามารถของทีมงานหัวกะทิด้านดิจิทัล จาก AIS NEXT หน่วยงาน Innovation ที่ทุ่มเทออกแบบระบบ 5G Robot Platform ขึ้นเอง ผสมผสานระหว่าง เทคโนโลยี เครือข่าย การแพทย์ ออกมาเป็น หุ่นยนต์ทางการแพทย์ 5G ROBOT FOR CARE ที่สามารถ Customized ให้ตอบโจทย์การใช้งานของแต่ละโรงพยาบาลได้อีกด้วย

AIS ROBOTIC LAB 5G

ตอนนี้ได้มีการส่งมอบหุ่นยนต์ให้กับโรงพยาบาลต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, โรงพยาบาลราชวิถี, โรงพยาบาลศิริราช, โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์, สถาบันบำราศนราดูร และกรมแพทย์ทหารเรือ โดยหุ่นยนต์ได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ ณ คลินิกและหอผู้ป่วยโควิด-19 ทำหน้าที่เข้าไปดูแลและตรวจอาการผู้ป่วยภายในห้องพักผู้ป่วย แทนหมอและพยาบาล ลดสัมผัส เซฟแพทย์และพยาบาล โดยขณะนี้ ทีม AIS ROBOTIC LAB เร่งเครื่องพัฒนาหุ่นยนต์5G อย่างเต็มกำลัง และมีแผนส่งมอบทั้งหมด จำนวน 23 ตัว ให้กับโรงพยาบาล 22 แห่ง ภายในต้นเดือนพฤษภาคม 2563

 ชู “5G ที่จับต้องได้ เพื่อทุกชีวิต” ร่วมพลิกโฉม สร้าง New Normal ให้วงการแพทย์

ด้วยศักยภาพของ 5G มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง ที่จะนำมาประยุกต์ใช้เป็นโครงข่ายดิจิทัลพื้นฐานสำคัญต่อการปฏิบัติงานทางการแพทย์ ถือเป็นการสร้างประสบการณ์การใช้งาน 5G ให้เห็นประโยชน์อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมที่สุด นั่นคือ การนำ 5G เข้ามาช่วยดูแลรักษาชีวิตคนไทยให้ดีขึ้น และผ่านพ้นวิกฤตไปด้วยกัน

AIS ROBOTIC LAB จึงได้นำเทคโนโลยีขั้นสูงที่หลากหลาย เข้ามาผสมผสานกับเครือข่าย 5G ภายใต้ระบบประมวลผล AIS Robot Platform ซึ่งเอไอเอสพัฒนาขึ้นเอง ออกแบบเป็นหุ่นยนต์ผู้ช่วยคุณหมอ 5G “ROBOT FOR CARE” ซึ่งมีฟีเจอร์อัจฉริยะ อาทิ

ais-robotic-lab-5G
  • เทคโนโลยีอินฟราเรด ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายได้อย่างแม่นยำ โดยส่งผลข้อมูลผ่านเครือข่าย 5G ไปให้แพทย์ที่ให้การรักษาได้อย่างทันที
  • เทคโนโลยี 3D Mapping กำหนดแผนที่เส้นทางเดินของหุ่นยนต์ ให้เคลื่อนที่เข้าหาผู้ป่วยได้โดยอัตโนมัติ อย่างรวดเร็วและแม่นยำ และยังสามารถบังคับหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้ตามต้องการผ่านเครือข่าย 5G
  • Telemedicine ระบบปรึกษาทางไกลระหว่างแพทย์และผู้ป่วยผ่านวิดีโอคอล เพื่อให้แพทย์ที่อยู่ด้านนอกห้อง ใช้สมาร์ทดีไวซ์ เชื่อมต่อมาที่ตัวหุ่นยนต์ เพื่อพูดคุยและดูอาการคนไข้ภายในห้องพักได้ ช่วยหลีกเลี่ยงการเข้ามาสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยตรงได้
  • เทคโนโลยี Cloud computing ในการประมวลผลจัดเก็บข้อมูลการรักษาพยาบาลผู้ป่วย
  • นอกจากนี้ ยังสามารถเสริมฟีเจอร์ต่างๆ ในตัวหุ่นยนต์ได้ตามที่แต่ละ รพ. ต้องการ อาทิ ตรวจวัดค่าออกซิเจนในเลือด, ส่งยาให้ผู้ป่วยถึงเตียง, บริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือเคลื่อนที่ เป็นต้น

โดยหัวใจสำคัญของหุ่นยนต์ คือ การปฏิบัติงานบนเครือข่าย 5G เพื่อใช้ในการประมวล อาทิ ค่าอุณหภูมิและ face signature ของผู้ถูกตรวจจะถูกถ่ายและส่งผ่าน 5G ไปเก็บที่ AIS DATA CENTER, สามารถ video call จากศูนย์ควบคุมมาที่หุ่นยนต์เพื่อให้ความช่วยเหลือต่างๆ แก่ผู้ปฏิบัติการ, สามารถอัพเดทความสามารถใหม่ๆ ให้กับหุ่นยนต์จากศูนย์ควบคุมได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเมื่อขับเคลื่อนการทำงานบนเครือข่าย AIS 5G ที่มีความเร็วสูง (High Speed) สั่งงานที่รวดเร็ว มีความหน่วงต่ำ (Low Latency) รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ที่หลากหลาย (IoT Connectivity) ทำให้หุ่นยนต์พร้อมปฏิบัติงานเข้าดูแลผู้ป่วยทันที

ในอนาคต ทีม AIS ROBOTIC LAB เตรียมพัฒนาขยายขีดความสามารถของหุ่นยนต์ให้สามารถรองรับบริการทางการแพทย์ที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ สั่งหุ่นยนต์ให้ทำงานผ่านทางเสียง, การทำความสะอาดด้วยตัวเอง ผ่าน Ozone และ UV, ด้วยความสามารถจดจำเส้นทาง และจดจำใบหน้าได้ หุ่นยนต์จะสามารถทำภารกิจอื่นๆ ได้ เช่น การตรวจเยี่ยม, นำทางผู้ป่วยไปรักษาในแผนกต่างๆ อีกทั้ง โลกของ IoT และ 5Gที่จะมีการติดต่อกันเองของอุปกรณ์ต่างๆ ข้อมูลจากหุ่นยนต์ และเครื่องมือตรวจวัดที่โรงพยาบาลหรือ Wearable จะนำมาประมวลผลร่วมกัน เช่น เมื่อเกิดความผิดปกติใดๆ ที่ตรวจจับได้จากเครื่องมือวัด หุ่นยนต์ก็สามารถจะมาเยี่ยมถึงเตียงได้โดยทันที เป็นต้น