Pentagon ใช้เลเซอร์ตรวจจับการเต้นของชีพจร เพื่อระบุตัวตนบุคคล แม่นยำถึง 95%

Pentagon มากับเทคโนโลยีใหม่ที่ชื่อว่า Jetson ใช้เลเซอร์ในการตรวจจับการเต้นของชีพจร เพื่อใช้ระบุตัวบุคคลได้อย่างแม่นยำถึง 95%

การระบุตัวตนทางชีวภาพ หรือ Biometric identification นั้นเป็นสิ่งที่ต้องพบเจอในชีวิตประจำวัน เช่น การสแกนลายนิ้วมือเพื่อเช็คเวลาเข้า-ออกงาน ระบบจดจำใบหน้าที่สนามบิน หรือระบบปลดล็อครถเพียงแค่มองไปที่กล้อง แต่ดูเหมือนว่า จะมีเทคโนโลยีอะไรที่มันล้ำหน้าไปกว่าสิ่งที่กล่าวมาอีก นั่นคือ การระบุตัวตนของบุคคลด้วย “ชีพจร” ของคนนั้นๆ

ทาง MIT Technology Review รายงานว่า เพนตากอน (กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา) พัฒนาเลเซอร์ที่สามารถใช้ระบุตัวบุคคลได้ในระยะทางไกลจากชีพจรของพวกเค้า เทคโนโลยีดังกล่าวรู้จักกันในชื่อของ “Jetson” โดยใช้ตัวจับแรงสั่นสะเทือนของเลเซอร์เพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหวของพื้นผิวของผิวหนังที่เกิดมาจากการเต้นของชีพจร สามารถตรวจจับในระยะไกลได้ถึง 200 เมตรเลยทีเดียว

การเต้นของหัวใจนั้นเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลนั้นมีเอกลักษณ์ และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (ไม่เหมือนกับใบหน้า หรือลายนิ้วมือ)

การใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า และการตรวจสอบทางชีวภาพอื่นๆ จะขึ้นอยู่กับสภาพ และเงื่อนไขที่ตรง และเหมาะสมที่สุด แต่ของ Jetson นั้นจะมีความยากในตัวของมันอยู่ ถ้าอธิบายให้เห็นภาพชัด Jetson จะใช้ตรวจสอบได้กับคนที่ใส่เสื้อผ้าปกติธรรมดา แต่ถ้าเป็นเสื้อผ้าหนาๆ เช่น ชุดกันหนาวหนาๆ เสื้อโค้ท มันจะใช้เวลาถึง 30 วินาที เพื่อเก็บข้อมูลที่จำเป็น

อีกอย่าง ณ ตอนนี้ เจ้าเทคโนโลยี Jetson สามารถตรวจจับได้ เมื่อเป้าหมายยืนเฉยๆ หรือ นั่งเฉยๆ เท่านั้น ดังนั้นความแม่นยำ และความมีประสิทธิภาพของการตรวจจับจะขึ้นอยู่กับข้อมูลการเต้นของหัวใจที่บันทึกเก็บไว้ในฐานข้อมูล

รายงานระบุว่า เทคโนโลยีตัวนี้สามารถตรวจสอบได้ถูกต้องแม่นยำถึง 95% เลยทีเดียว

SOURCE