dtac ทดสอบ 5G

dtac ร่วมกับ ทีโอที CAT เดินหน้า ทดสอบ 5G แนะรัฐวางแผนจัดสรรคลื่นชัดเจนก่อนประมูล

ดีแทคเปิดสนาม ทดสอบ 5G แล้วในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและพื้นที่EEC ที่ ม.เกษตรศาสตร์ ศรีราชา เพื่อทดสอบการใช้งานจริง ร่วมมือกับทาง ทีโอที และ CAT

สำหรับการทดสอบ 5G ทางดีแทคได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์จาก Ericsson, Huawei และ Nokia พร้อมแนะทางภาครัฐ ควรจัดทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ทั้งย่านสูง-กลาง-ต่ำ และระบุช่วงเวลาจัดสรรให้ชัดเจน และแผนปรับปรุงคลื่นความถี่เพื่อพัฒนาสู่ง 5Gอย่างยั่งยืน และหาความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ

ความร่วมมือในการทดสอบ 5G ของทั้ง3 องค์กรครั้งนี้ ได้ทำในรูปแบบใช้งาน (Use case) ที่เหมาะสมกับประเทศไทย นางอเล็กซานดรา ไรซ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค มองว่า ปัจจัยที่จะให้การนำเอา 5G มาใช้ปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศไทย ต้องเริ่มต้นที่การสร้างความร่วมมือกันระหว่าภาครัฐบาล กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มผู้ใช้งาน และการทดสอบโครงการธุรกิจตามการใช้งานจริงร่วมกัน เพื่อนำสู่การวิเคราะห์ภาพรวมทั้งเทคโนโลยี และข้อกฎหมายสู่บริการเพื่อผู้ใช้งาน และหาจุดสมดุลย์ของความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อน 5G ทั้งระบบนิเวศ ในการทดสอบนี้จึงร่วมกับ CAT และ ทีโอที เป็นพันธมิตรในการทดสอบ 5G ร่วมกัน

ทีโอที ได้นำโครงการเสาอัจฉริยะ หรือ Smart Pole เป็นเสาโครงสร้างที่ออกแบบให้ใช้งานโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน (Infrastructure sharing) ซึ่งเสานี้จะถูกนำไปทดสอบ5G testbedในพื้นที่ๆ ได้รับอนุญาตจาก กสทช.

ส่วนทางด้าน กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ได้นำเสนอการทดสอบโครงการ PM 2.5 Sensorfor Allสำหรับวัดค่าคุณภาพอากาศ โดยข้อมูลที่ได้จะจัดเก็บไว้แบบเรียลไทม์บนระบบคลาวด์ ผ่านเซนเซอร์ในพื้นที่แต่ละแห่ง ในอนาคตเมื่อใช้งานบนเครือข่าย 5G จะสามารถยกระดับจากIoT สู่ Massive IoT เพิ่มจำนวนเซนเซอร์ให้เก็บข้อมูลได้แม่นยำยิ่งขึ้น

dtac ทดสอบ 5G

จุดเริ่มต้น ทดสอบ 5G ในความร่วมมือของ dtac , TOT และ CAT

  • การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resource sharing) ทั้งอุปกรณ์โครงข่ายและคลื่นความถี่ต่างๆ
  • การนำความรู้มาร่วมกัน (Knowledge sharing) นำเอาความรู้ความเชี่ยวชาญโทรคมนาคมของแต่ละฝ่าย มาแบ่งปันและต่อยอดการทดสอบร่วมกัน
  • การแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน (Experience sharing) ช่วยให้แต่ละฝ่ายไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ สามารถนำเอาประสบการณ์ที่ได้มารวมกันเพื่อพัฒนาไปข้างหน้า รวมถึงศึกษาถึงข้อจำกัดและอุปสรรคทั้งในด้านเทคโนโลยีและระเบียบข้อกฏหมาต่างๆ

ปัจจุบันทาง ดีแทค ได้ยื่นดำเนินการขอนุญาตทดสอบ5G ต่อ กสทช. เป็นที่เรียบร้อยทั้งข้อเสนอในการใช้คลื่นความถี่ และการทดสอบแบบ Standaloneซึ่งเป็นการทดสอบโดยใช้เฉพาะคลื่น 5G และการทดสอบการทำงานของเทคโนโลยี5G ร่วมกับ 4G

ดีแทคจะทดสอบทั้งในห้องปฏิบัติการและการทดสอบในสภาพแวดล้อมจริง เช่นในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สยามสแควร์ รวมถึงการทดสอบทางไกล เชื่อมต่อสัญญาณฐาน 5G จากที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปยังโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หลักต่างพื้นที่ ที่ ม.เกษตรศาสตร์ ศรีราชา เพื่อใช้ทดสอบกรณีใช้คลื่น5G ต่างพื้นที่ร่วมกัน อาทิ การรักษาผ่านทางไกล หรือ Smart Healthcare

dtac ทดสอบ 5G

ดีแทค เรียกร้องให้ทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ ก่อนจัดสรรคลื่นครั้งต่อไป

นางอเล็กซนดรากล่าวเพิ่มเติมว่า “คลื่นความถี่คือสิ่งสำคัญยิ่ง ในการปูพื้นฐานสู่ 5G เพราะการใช้งานและการทดสอบบริการต่างๆ จะทำให้พิสูจน์ถึงความต้องการใช้คลื่นความถี่ที่กว้าง และ 5G ต้องการใช้ทั้งคลื่นย่านความถี่ สูง-กลาง-ต่ำ ดังนั้น จึงตอกย้ำว่า ประเทศไทยควรทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ ก่อนการจัดสรรคลื่นครั้งต่อไป รวมทั้งรูปแบบการจัดสรรคลื่นความถี่ในปัจจุบัน การออกแบบการประมูลที่ดีจะทำให้กำหนดราคาคลื่นความถี่ที่ยุติธรรมในการทำตลาด และป้องกันราคาประมูลที่สูงเกินจริง