พี่มาร์คเชื่อมั่น private messaging จะเป็นอนาคตของ Facebook !

Mark Zuckerberg (CEO ของ Facebook) พูดถึง Private Messaging (แอพฯที่ให้ส่งข้อความหาผู้ใช้ส่วนตัว) ว่า มันไม่ใช่แค่มีความสำคัญต่อ Facebook แต่ Private Messaging แล้ว . . . . . ” มันคือ อนาคต ของ Facebook เลยก็ว่าได้

จากโพสต์ของ Zuckerberg ที่มีหัวข้อว่า A privacy-focused vision for social networking ซึ่งพี่มาร์คสรุปเอาไว้ว่า private messaging นี่แหละ ที่จะเป็น product ของ Facebook ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในไม่ช้า

พี่มาร์คเองก็คาดหวังเอาไว้ว่า เวอร์ชั่นต่อไปของ Messenger และ WhatsApp จะเป็นช่องทางหลักที่คนใช้ติดต่อสื่อสารกันบนเครือข่ายของ Facebook

แต่ถ้ามองดูแล้ว ตัว private messaging เอง ไม่ใช่หัวใจหลักของ Facebook (รวมไปถึง Instagram ด้วย) ซึ่ง 2 product ที่ว่านั้น เป็นเพียงแค่เครื่องมือที่บ่งบอกความเป็นคุณ การใช้ชีวิตของคุณให้กับเพื่อน ครอบครัว และมันสามารถเชื่อมต่อกับคนแปลกหน้า คนที่เราไม่รู้จักมาก่อน จนไปถึงแบรนด์สินค้าได้

ส่วนงานธุรกิจของ Facebook นั้น เริ่มต้นจาก User Profile ซึ่งมีข้อมูลต่างๆที่ Facebook สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการตั้งกลุ่มเป้าหมาย และ การยิงโฆษณาได้ ไม่ว่าจะเป็น

  • ความสนใจของผู้ใช้งานว่าชอบอะไร
  • ถิ่นที่อยู่
  • เป็นเพื่อนกับใครบ้าง
  • ระดับการศึกษา
  • หน้าที่การงาน ฯลฯ

Zuckerberg ยังบอกอีกว่า อนาคตของการสื่อสารนั้น น่าจะโฟกัสไปที่ “ความเป็นส่วนตัว” และ อาจมีพวกบริการการเข้ารหัส (encrypted service) เข้ามาเสริม ทำให้ผู้คนมั่นใจว่าสิ่งที่พวกเค้าสื่อสารระหว่ากันนั้น จะปลอดภัยมากขึ้น

แต่ก็นั่นแหละครับ เพราะอย่าลืมว่า เมื่อ Facebook พูดถึงเรื่อง ความเป็นส่วนตัว และ ความปลอดภัย ของข้อมูล หรือ บทสนทนา หรือ อะไรก็แล้วแต่ ทาง Facebook ก็มีแผลที่เป็นประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง ซึ่งตัว Zuckerberg  เองก็ยอมรับว่า หากพูดเรื่องนี้ขึ้นมาก็ไม่วายที่จะมีเย้ยหยัน

Facebook เอง เป็นเจ้าของแอพฯ Messaging 2 ตัวที่มีผู้ใช้งานทั่วโลกเป็นจำนวนเยอะมาก

  • WhatsApp มีผู้ใช้งานรายเดือนอยู่ที่ 1.5 พันล้าน user
  • Messenger มีผู้ใช้งานรายเดือนอยู่ที่ 1.3 พันล้าน user

ทาง Zuckerberg เองก็วางแผนเอาไว้เหมือนกันว่า จะเชื่อมต่อบริการ messaging ของ Facebook ทุกตัวเข้าด้วยกัน ซึ่งจะยิ่งทำให้ผู้คนสามารถสื่อสารผ่านทางเครือข่ายของ Facebook ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น

พอมีการพูดถึง encryption หรือ การเข้ารหัส ซึ่งมันก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทายให้กับ Zuckerberg เช่น การส่งข้อความแบบ End-to-end-encrypted messages หรือ การเข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางยันปลายทาง ซึ่งแน่นอนว่า มันไม่สามารถเข้าไปอ่านหรือเห็นได้แบบปกติ ถ้าฟังดูเผินๆ มันก็น่าจะตอบโจทย์เรื่องของความเป็นส่วนตัวของบทสนทนาได้แน่ๆ แต่ มันก็น่าจะนำมาซึ่งความกังวลเรื่องความปลอดภัยด้านอื่นๆ รวมไปถึงความสะดวกในการใช้งานด้วย

ตัวอย่างประเด็นปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วของเรื่องการเข้ารหัส คือ การที่ FBI ต้องถอดรหัสใน iPhone ของมือปืนที่ก่อการร้ายใน San Bernardino (ตั้งแต่ปี 2016) ซึ่งมันก็เป็นไปได้อีก ที่คนจะใช้การเข้ารหัสเพื่อก่อการร้ายได้

If we do this well, we can create platforms for private sharing that could be even more important to people than the platforms we’ve already built to help people share and connect more openly.

Zuckerberg ทิ้งท้ายว่า ถ้าสิ่งที่พูดๆมา ทำได้จริงแล้วล่ะก็ บริษัทฯจะสร้างแพลตฟอร์มสำหรับแชร์ความเป็นส่วนตัวที่ดีกว่าสิ่งที่เป็นอยู่เพื่อช่วยให้ผู้คนสามารถแชร์ และ เชื่อมต่อถึงกันได้กว้างขึ้น

SOURCE