Brian Acton เปิดใจกับ Forbes หลัง 1 ปีเต็มที่ลาออกจาก WhatsApp

Brian Acton หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งแอพฯ WhatsApp ได้ยื่นลาออกจากตั้งแต่ กันยายน 2017 แล้ว (นี่ก็ครบ 1 ปีที่เค้าลาออกมา)

ซึ่งช่วงเวลาที่ Acton ลาออกไปนั้น เกิดก่อนกรณีอื้อฉาวเกี่ยวกับข้อมูลหลุดระหว่างบริษัทแม่อย่าง Facebook กับ Cambridge Analytica

ซึ่งพอเกิดประเด็นข้อมูลหลุดเกิดขึ้น Acton เองที่เป็นคนจุดกระแส hashtag #deletefacebook โดยเชิญชวนให้คนลบ account ของ Facebook บน Twitter ทิ้งซะ

การลาออกของ Acton นั้น ทำให้ตัวเค้าต้องทิ้งหุ้น Facebook มูลค่ามหาศาลถึง 850 ล้านดอลล่าร์ ซึ่งหลังจากลาออกไป ตัว Acton เองก็ได้ปิดปากเงียบมาตลอด

จนล่าสุด นิตยาสาร Forbes ได้ติดต่อไป ซึ่งเค้าเองได้ตัดสินใจเปิดในให้สัมภาษณ์เป็นครั้งแรกเกี่ยวกับหลายๆประเด็น ไม่ว่าจะเป็น สาเหตุที่แท้จริงของการลาออก รวมไปถึงมุมมองของเค้าที่มีต่อ Facebook

อย่างที่รู้ๆกัน ว่า Facebook ซื้อกิจการ WhatsApp ด้วยดีลมหาศาลตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งถือเป็นดีลยักษ์ใหญ่ในวงการเทคโนโลยีดีลหนึ่งเลยก็ว่าได้

ซึ่งจุดยืนที่แน่นอนของทาง WhatsApp คือ บริษัทฯเน้นและให้ความสำคัญเกี่ยวกับ privacy หรือ ข้อมูล/ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน มาก

ดังนั้น ข้อความที่พิมพ์คุยกัน จึงมีการเข้ารหัสระหว่างกันด้วย เพื่อความปลอดภัย

ตรงกันข้าม บริษัทแม่อย่าง Facebook กลับมีแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่ต่างกัน นั่นคือ การเน้นทำเงินจากโฆษณา

ดังนั้น มันจึงไม่แปลกหากจะมีคนคิดว่า การที่ Facebook เข้าซื้อ WhatsApp นั้น ก็คงหาวิธีใช้ WhatsApp ทำเงินไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง

ซึ่งทาง Acton เองก็ได้เสนอให้ Facebook เรียกเก็บเงินตามปริมาณการใช้งาน ซึ่งแน่นอนว่า ผู้คนจะส่งข้อความหากันต่อวันเป็นจำนวนมาก แต่ มันก็ควรมีกำหนดว่า ส่งได้กี่ข้อความ ถ้าเกิดที่กำหนดไว้ก็จะเริ่มคิดเงิน

โดยทาง Acton มองว่า มันเป็นวิธีหาเงินที่ตรงไปตรงมา และ คิดว่าขายได้ทุกประเทศ อีกทั้ง ไม่ต้องใช้ตัวแทนจำหน่ายมาก ไม่ต้องเปลืองต้นทุนมาก แต่แนวคิดนี้กลับถูกทาง Facebook ปัดตกไป โดยให้เหตุผลว่า มันทำให้ธุรกิจโตและขยายตัวได้ยาก

(ทาง WhatsApp ก็เคยมีประวัติเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้งาน เป็นค่าบริการรายปี คนละ 1 ดอลล่าร์ แต่ก็ได้ยกเลิกการเก็บเงินนี้ไปในปี 2016)

มาถึงปี 2016 ทาง WhatsApp มีการปรับนโยบายความเป็นส่วนตัวใหม่ ให้ผู้ใช้งานนำเบอร์โทรศัพท์ไปผูกกับบัญชี Facebook

ซึ่งการมีเบอร์โทรศัพท์เข้ามาเกี่ยวทำให้ Facebook นั้นสามารถทำโฆษณายิงตรงแบบ Targeting หรือ เจาะจงได้ ซึ่งนี่เป็นจุดที่ขัดกับเจตนารมณ์ของ Acton ที่โฟกัสตรงนี้เป็นหลักไว้กับ WhatsApp

คำสัมภาษณ์ของเค้า พูดถึง Facebook ว่า เป็นนักธุรกิจที่เก่ง แต่แนวทางการดำเนินธุรกิจ แนวคิด จริยธรรม อาจมีบางข้อที่เค้าไม่เห็นด้วย

แน่นอนว่า ช่วงที่ Facebook มาเจรจาเพื่อขอซื้อกิจการนั้น พวกเค้า (Facebook) มาพร้อมกับเงินก้อนโต และข้อเสนอที่ไม่อาจปฏิเสธได้

ไม่ว่าจะเป็นการให้หุ้น Facebook ให้ตำแหน่งบอร์ดบริหาร นอกจากนั้น ยังมีสัญญาว่า จะไม่กดดันให้ทาง WhatsApp สร้างรายได้อย่างน้อย 5 ปี

ทางผู้ก่อตั้ง WhatsApp ทั้ง 2 ท่านต้องเข้าไปชี้แจงต่อ European Competition Commission เพื่อป้องกันการผูกขาดทางการค้า ซึ่ง Acton ชี้ชัดว่า ข้อมูลของ 2 องค์กรนั้นแตกต่างกัน และยากมากที่จะนำมาใช้งานร่วมกันได้ นั่นเป็นเหตุที่ทาง WhatsApp ไม่ต้องการเชื่อมข้อมูลของพวกเค้ากับทาง Facebook

แต่ดูท่าทาง Acton จะคิดผิดถนัด เพราะ Facebook นั้นเตรียมการเชื่อมต่อไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยมีการแก้ไขข้อตกลง หลังจากที่ 2 บริษัทรวมกิจการกันได้ 18 เดือน และจุดนี้เอง ที่ทำให้ Facebook ผิดข้อตกลงที่เคยชี้แจงไว้กับ European Competition Commission เป็นผลให้โดนปรับเงิน 122 ล้านดอลล่าร์

source